“นวัตกรรม” คำนิยามของความสร้างสรรค์สู่การพัฒนา เพื่อสิ่งที่ดียิ่งกว่าของทุกชีวิต
ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ของโลก ยุคสมัยปัจจุบันนั้นเป็นยุคสมัยที่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเท่าตัว ความคิด ความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถพัฒนาขึ้นได้เพียงช่วงเวลาที่สั้นมาก เมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนหน้าที่สิ่งเหล่านั้นอาจจะต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะพัฒนาขึ้นมาได้เป็นชิ้นเป็นอัน
ด้วยโลกที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดนี้ มันจึงไม่แปลกที่คำว่า “นวัตกรรม” ถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ เพราะนวัตกรรมนั้นคือสิ่งที่ขับเคลื่อนการพัฒนาต่าง ๆ นั่นเอง แต่หลายครั้งที่เราอาจจะได้ยินคำ ๆ นี้ โดยเฉพาะในสื่อโฆษณาต่าง ๆ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็จะเห็นว่านวัตกรรมดังกล่าว กลับไม่ได้มีความโดดเด่น ไม่มีประโยชน์ หรือบางครั้งก็ไม่ใช่นวัตกรรมอะไรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ แต่อาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่เดิมแล้วด้วยซ้ำ
จึงควรมีการตั้งคำถามว่าอะไรคือ “นวัตกรรม” กันแน่?
ในบทความเรื่อง “นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ” ของรศ.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการสรุปไว้ว่าสิ่งที่จะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมนั้น อย่างแรกที่สุด แน่นอน จะต้องมีความใหม่ (Newness) ในขณะเดียวกันก็ต้องมีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) และจะต้องพัฒนามาจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea)
โดยนวัตกรรมนั้น ควรจะเข้ามาแก้ไขปัญหาที่มนุษย์เผชิญอยู่ในด้านใด ๆ ก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาหลาย ๆ ของมนุษย์นั้นก็มีความระดับสำคัญแตกต่างกันไป ซึ่งในมุมหนึ่งก็ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของเราแต่ละคนว่าให้ความสำคัญกับประเด็นไหนในชีวิต แต่ปัญหาของสังคมที่ต้องการการแก้ไขนั้นก็ถือว่าสำคัญ นวัตกรรมที่สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาสังคมรวมทั้งมีส่วนต่อการขับเคลื่อนประเทศได้นั้น จึงถือว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญและน่าศึกษาและจับตามองเช่นกัน
ตัวอย่างนวัตกรรมที่สำคัญต่อสังคมก็เช่น นวัตกรรมการเกษตร นวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์ นวัตกรรมพลังงาน นวัตกรรมการศึกษา หรือนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นต้น
ปัจจุบัน ด้วยความรวดเร็วของการพัฒนา นวัตกรรมที่ดี มีประโยชน์ โดยเฉพาะต่อสังคมและผู้คนส่วนรวมนั้นก็จะสามารถมีความแพร่หลายได้ภายในช่วงเวลาอันรวดเร็ว แต่นวัตกรรมบางชนิดก็อาจยังไม่ได้รับความสนใจมากพอ แม้จะมีประโยชน์ก็ตาม ผู้ที่สนใจและหาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดจึงมีความได้เปรียบเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเขาจะเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด ๆ ในปัจจุบัน
จับตานโยบายของพรรคการเมือง และแคมเปญของหลายพรรคที่น่าสนใจ ขณะที่ พปชร. และ รทสช.อาการยังน่าเป็นห่วง
ทำความเข้าใจกับการเห็นต่างเรื้อรัง กรุงเทพฯ ชีวิตดี ๆ ที่ ‘ต้องคุยเรื่องทางเท้ากับแผงลอยให้’ ลงตัว
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม