News“นวัตกรรมกับความมั่นคง การปลดล็อคศักยภาพด้านเทคโนโลยีของไทย” สรุปการบรรยายของ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จากหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 1 โดย ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNA by SPU และอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม

“นวัตกรรมกับความมั่นคง การปลดล็อคศักยภาพด้านเทคโนโลยีของไทย” สรุปการบรรยายของ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จากหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 1 โดย ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNA by SPU และอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม

“นวัตกรรมกับความมั่นคง การปลดล็อคศักยภาพด้านเทคโนโลยีของไทย” สรุปการบรรยายของ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จากหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 1

 

โดย ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNA by SPU และอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม

 

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ก่อให้เกิดปรากฏกาณ์ Digital Disruption สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อรูปแบบการให้บริการ และธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบและเปลี่ยนแปลงมูลค่าของบริการและสินค้าที่มีอยู่ของอุตสาหกรรมเดิม

 

ซึ่งสำหรับบนเวทีโลกแล้ว มันคือการแข่งขันกันสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่เมื่อการแข่งขันกลายเป็นความขัดแย้ง ก็จะกลายเป็น “สงครามเทคโนโลยี” (Technology War) ซึ่งสงครามดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา

 

นวัตรกรรม (Innovation) เปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้ในทางสร้างสรรค์ ก็จะเป็นคุณกับมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม แต่สามารถถูกนำใช้ในทางลบ ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชญากรรม การก่อการร้ายทางไซเบอร์ และแม้แต่เพื่อการฟอกเงิน

 

นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยังนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ เช่นในอดีต อุตสาหกรรมผู้นำด้านธุรกิจของโลก คือกลุ่มบริษัทพลังงาน แต่ในทุกวันนี้กลับกลายเป็นกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี

 

อีกทั้งเทคโนโลยีได้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของคนหลายคน จากเดิมที่ใช้เงินสด ก็เปลี่ยนมาใช้วิธีการโอนจ่าย หรือสแกนจ่าย หรือจากเดิมที่ต้องเดินทางไปซื้อหาอาหารมาทานเอง แต่ทุกวันนี้ สามารถสั่งผ่านมือถือ รออาหารมาส่งที่บ้านได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มีอิทธิพลต่อความคิด และชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้คนสามารถเป็นผู้เลือกได้เองมากขึ้น

 

ผู้คนใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น จากในอดีตที่แต่ละคนจะมีอุปกรณ์เทคโนโลยี (Device) เพียง 3 ชิ้น แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็น 5 ชิ้น และถ้าหากใครสักคนลืมมือถือกับกระเป๋าสตางค์ไว้ที่บ้าน คนจะเลือกไปเอามือถือก่อน

 

ทุกวันนี้ จีนและเกาหลีใต้ถือเป็นผู้นำทางด้านการจดสิทธิบัตร โดยจีนมีบริษัทหัวเว่ย (Hauwei) เป็นผู้นำ และเกาหลีใต้ มีซัมซุง (Samsung) เป็นผู้นำ และในทั้ง 2 ประเทศนี้ ภาคเอกชนมีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ในขณะที่สิงคโปร์ ถือเอาเรื่องนวัตรกรรมเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda)เพื่อการเสริมสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งของประเทศ

 

ในขณะที่ประเทศไทยนั้น สภาพแวดล้อมทางการเมือง และกฎหมายที่ไม่เอื้อในการทำธุรกิจ งบประมาณด้านการศึกษาในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัยของไทยกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

นี่ไม่ใช่เพราะว่าคนไทยไม่เก่ง คนไทยนั้นเก่งเรื่องการออกแบบ แต่การต่อยอดนวัตกรรมให้กลายเป็นธุรกิจ (Commercialize) เรายังไม่เก่งเท่าประเทศอื่น เรามีตัวอย่างเช่น อาร์ตทอย (Art Toy) ซึ่งในวันนี้ อาร์ตทอยที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือ ลาบูบู้ ของชาวฮ่องกง ในขณะที่คนไทยเองก็ผลิต อาร์ตทอย ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกได้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น Cry Baby ซึ่งเป็นผลงานของศิลปินไทย ที่โด่งดังไปทั่วโลก และขายดีจนหมดเกลี้ยงด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้นสิ่งสำคัญของประเทศไทย คือไม่ใช่แค่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องคำนึงการพัฒนาต่อยอดไปสู่ภาคธุรกิจ โดยคิดคำนึงถึงการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Connectivity) และการมีส่วนร่วมระหว่างกัน (Participation) ได้ด้วย

 

นอกจากนี้ การขายสินค้ากายภาพ (Physical Product) ด้วยการใช้เอกลักษณ์เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Identity) เช่นกางเกงช้าง กางเกงแมว ต้องสามารถสร้างการเชื่อมโยงไปเป็นสินค้าดิจิทัล (Digital Product) ขยายสเกลการขายจากวิธีการขายทางตรง (Direct Sales) ไปสู่วิธีการขายทางอ้อม (Indirect Sales) เช่นการทำให้กลายเป็น Item ในเกม Free Fire สร้างแรงจูงใจให้คนทั่วโลกสนใจที่จะมาสั่งซื้อสินค้าของไทย

 

การจะสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ทำให้เกิดการพัฒนานวัตรกรรมแบบเปิด (Open Innovation) อีกทั้งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทักษะ ของประชาชน และ SMEs ให้มีการ Upskill/ Reskill อย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ (National Competitiveness) ให้สูงขึ้น

 

เพื่อการต่อยอดศักยภาพเดิมที่ประเทศไทยของเรามี ทั้งในด้านวัฒนธรรม, เกษตรกรรม, อาหาร และการแพทย์ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของประเทศไทยเรา ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย และเป็นที่นิยมชมชอบของนานาชาติได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า