Newsรับรอง ‘วัดคาทอลิก’ 9 แห่ง หลัง ครม.มีมติรับรองในรอบเกือบ 100 ปี

รับรอง ‘วัดคาทอลิก’ 9 แห่ง หลัง ครม.มีมติรับรองในรอบเกือบ 100 ปี

ครม. มีมติรับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2565 จำนวน 9 วัดแรกตามที่ วธ. เสนอ ในรอบเกือบ 100 ปี

 

วันนี้ (วันที่ 23 สิงหาคม 2565) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ครม.มีมติรับรองวัดคาทอลิก จำนวน 9 วัดแรก ประกอบด้วย 

1.วัดศีลมหาสนิท (ตลิ่งชัน)

2.วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ (ลาดพร้าว)

3.วัดนักบุญโธมัสอัครสาวก (ซอยนาคสุวรรณ)

4.วัดพระเมตตา (เชียงแสน)

5.วัดพระแม่แห่งมวลชนนานาชาติ (เชียงของ)  

6.วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (เชียงคำ) 

7.วัดนักบุญมอนิกา (น่าน)  

8.วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร (แพร่)  

9.วัดพระแม่มหาการุณย์ (แคมป์สน)

 

ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การรับรองวัดคาทอลิก ตามข้อ 16 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564

 

“การรับรองวัดคาทอลิกครั้งนี้ ถือเป็นแนวทางส่งเสริมและอุปถัมภ์ศาสนาในประเทศไทยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม 

 

รวมถึงช่วยเสริมบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมในการสนับสนุนให้ศาสนิกชนมีศาสนสถานในการประกอบศาสนกิจ และได้รับการศึกษาและปลูกฝังคุณธรรมที่ถูกต้องตามหลักศาสนา”รมว.วธ. กล่าว

 

ทั้งนี้นับตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยาม ตามกฎหมาย ร.ศ. 128(พ.ศ. 2452) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ที่ได้ให้การรับรองวัดคาทอลิกในเขตการปกครองของมิซซังกรุงเทพ

 

ที่ตั้งขึ้นก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับรวมจำนวน 43 วัด และการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยาม ลงวันที่ 27 สิงหาคม พุทธศักราช 2452 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่ให้การรับรองวัดคาทอลิกในเขตการปกครองของมิซซังท่าแร่-หนองแสง จำนวน 14 วัด 

 

ทำให้มีวัดคาทอลิกที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายรวมทั้งสิ้น 57 วัด หลังจาก พ.ศ.2472 ไม่มีการประกาศจัดตั้งหรือรับรองวัดคาทอลิกเพิ่มเติม เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มิซซังยื่นคำร้องขอจัดตั้งวัดต่อรัฐบาลและให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงในท้องที่พิจารณาคำร้อง 

 

ภายหลังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหน่วยงานราชการขึ้นหลายครั้ง ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาจัดตั้งหรือรับรองวัดคาทอลิกเป็นของหน่วยงานใด ประกอบกับกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดขั้นตอนหรือแนวทางในการขอจัดตั้งหรือขอให้รับรองวัดคาทอลิกไว้ เป็นอุปสรรคต่อการขอจัดตั้งหรือรับรองวัดคาทอลิกของมิซซัง 

 

ในขณะที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีจำนวนคริสต์ศาสนิกชนเพิ่มขึ้นครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศไทย นำไปสู่การประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 เพื่อกำหนดแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งและรับรองวัดคาทอลิกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

โดยกำหนดให้กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก ทำหน้าที่รับ ตรวจสอบ และเสนอคำขอจัดตั้งและคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกให้ความเห็น ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบตามลำดับ 

 

#TheStructureNews

#วัดคาทอลิก #รับรองวัด

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า