“สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่กระทบความมั่นคงของไทย” สรุปการบรรยายของ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร จากหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) รุ่นที่ 1 โดย ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร DNA by SPU อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม
สงครามโลกเกิดแน่เกิดขึ้นเมื่อไรขึ้นอยู่กับเวลา และไทยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งนี้ไม่ได้ ต้องตัดสินใจให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงโศกนาฏกรรมที่ไม่จำเป็น
สถานการณ์ที่ซับซ้อนทำให้เกิดการแทรกแซงได้สูง ซึ่งโลกของเราในเวลานี้กำลังเผชิญหน้ากับความซับซ้อนสูง เพื่อช่วงชิงมูลค่าเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงของประเทศต่างๆ
สถานการณ์โลกในอดีตมีตัวแปรหลักเพียง 10 ประเทศ แต่ในปัจจุบันเพิ่มเป็นร้อยกว่าประเทศ ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างกัน ทำให้เกิดความซับซ้อนของระบบความสัมพันธ์จนยากที่จะเข้าใจในภาพรวม อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด เนื่องจากภาพที่เห็น ไม่เป็นอย่างที่ทำ
ทั้งนี้มหาอำนาจกำลังแข่งขันกันสะสมอาวุธ สร้างอำนาจการต่อรอง ทำให้ธุรกิจการค้าอาวุธเติบโตถึง 4% และความขัดแย้งมีความชัดเจนว่าจะเกิดสงครามโลกขึ้นแน่ ๆ ขึ้นอยู่กับเวลา และมุมมองว่าสงครามคือความป่าเถื่อน คือมุมมองของผู้แพ้ ในขณะที่ผู้ชนะเห็นว่าเป็นความกล้าหาญ
ทุกเรื่องราวขึ้นอยู่กับมุมมอง ว่าในเวลานั้นเราอยู่ตรงไหน ถ้าเราไม่ล่าเขา เขาก็ล่าคุณ ถ้าคุณเป็นผู้นำ เขาก็จะลากคุณลงมา คนได้เปรียบมักได้เปรียบไม่นาน หากคิดจะเจรจาที่จะทำให้เราได้เปรียบ โดยทำให้อีกฝั่งเสียเปรียบ ก็ต้องมีความพร้อมที่จะเข้าไปอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง
และความเป็นไปได้ของขั้วอำนาจโลกในอนาคตมี 3 รูปแบบคือ แบบ 2 ขั้ว, แบบขั้วอำนาจแตกเป็นเสี่ยง ๆ หรือทุกฝ่ายขีดเส้นแบ่งผลประโยชน์กันอย่างลงตัว
ทั้งนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน ทำให้จีนเพิ่มความเข้มแข็งทางทหาร และเมื่อจีนเชื่อมโยงเส้นทางสายไหม คมนาคม เศรษฐกิจได้หมด ก็จะเป็นการโดดเดี่ยวอเมริกา ทำให้อเมริกาเสื่อม ซึ่งจีนคิดเรื่องนี้มา 200 ปี เดินเกมทีละ 50 ปี และเมื่อถึงจุดหนึ่ง อเมริกาจำเป็นต้องถอย ทำอะไรไม่ได้ ความเชื่อมั่นลดต่ำลง
สำหรับความผลกระทบจากกระแสโลกวิวัฒน์ ถึงแม้ว่าจะเกิดเรื่องดี ๆ ที่ทำให้โลกทั้งใบเชื่อมโยงกันแต่คนที่ได้ประโยชน์มีอยู่น้อย ทำให้ผู้คนรู้สึกว่า ไม่มีความยุติธรรมบนโลกทุนนิยม กฎกติกาทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ทำให้คนหมดหวัง ลุกฮือประท้วง แต่เมื่อประท้วงสำเร็จก็ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนต่อ
สำหรับประเทศไทย เราต้องหาจุดสมดุลให้ดี ๆ เพราะอยู่ในจุดที่ใคร ๆ ก็อยากจะมายุ่งกับเรา และเราก็ปฏิเสธไม่ได้ จึงต้องตัดสินใจให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโศกนาฏกรรมที่ไม่จำเป็น
—–
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
—–
1. The Future of Power – Joseph S. Nye
2. Smart Power – Joseph S. Nye Jr., Adele Oliveri
3. Soft Power: The Means To Success In World Politics – Joseph S. Nye, Jr.
4. Politics Among Nations – Hans Morgenthau
5. The Tragedy of Great Power Politics – John Mearsheimer
6. The End of History and the Last Man – Francis Fukuyama
7. โครงสร้างขั้วอํานาจโลก ในอนาคต 20 ปี – ศูนย์อนาคตศึกษา
8. The Return of Holy Russia – Gary Lachman
9. Towards a New Cold War – Noam Chomsky
10. The Great U.S.-China Tech War – Gordon G. Chang
11. How Democracy Ends – David Runciman
12. China’s Economic Miracle: Does FDI Matter? – by E. Antony Selvanathan, Saroja Selvanathan, and Sumei Tang