Articlesบทความนักเขียนลอเรนซ์ หว่อง ‘ผู้นำใหม่ของสิงคโปร์’ คนที่ 2 ที่ไม่ได้มาจากตระกูลลี กับผลงานเพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลและการรับมือโควิด-19 และวิสัยทัศน์สังคมที่เป็นธรรมขึ้น ยั่งยืนขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น รชฏ ปราการพิลาศ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ลอเรนซ์ หว่อง ‘ผู้นำใหม่ของสิงคโปร์’ คนที่ 2 ที่ไม่ได้มาจากตระกูลลี กับผลงานเพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลและการรับมือโควิด-19 และวิสัยทัศน์สังคมที่เป็นธรรมขึ้น ยั่งยืนขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น รชฏ ปราการพิลาศ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

เป็นครั้งแรกในรอบยี่สิบปีที่ผู้นำรุ่นที่ 4 ของสิงคโปร์ประเทศขนาดเล็กที่สุดในอาเซียน ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง จะเป็นคนที่ไม่ใช่คนตระกูลลี ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ผู้นำรุ่นที่ 3 ทายาทของอดีตรัฐบุรุษอาวุโส ลี กวนยิว กำลังจะวางมือทางการเมือง 

 

และถ่ายโอนอำนาจให้แก่ลอว์เรนซ์ หว่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บุคคลนอกตระกูลลีคนที่สองต่อจากโก๊ะ จ๊ก ตง ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำพรรค People’s Action Party (PAP) จากการประกาศเมื่อเดือนเมษายน 2565 

 

ช่วงการแพร่ระบาดของโควิดในปี 2563 รองนายกรัฐมนตรี เฮง สวี คีต อดีตเลขานุการส่วนตัวของลี กวนยิว คือ ทายาทการเมืองรุ่นที่ 4 ขณะที่ลอว์เรนซ์ หว่อง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังควบคู่กับการเป็นประธานร่วมของคณะทำงานเฉพาะกิจของรัฐบาลในการบริหารจัดการกับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 

 

แต่ในช่วงปี 2564 สวี คีต ได้ถอนตัวออกจากการเป็นผู้สืบทอดทางการเมืองรุ่นที่ 4 และลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยให้เหตุผลในการขอถอนตัวว่า หลังจากที่สิงคโปร์ผ่านพ้นวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 สวี คีตมีอายุที่มากเกินไปสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 

 

ดังนั้น ผู้ที่เหมาะสมเป็นผู้นำสิงคโปร์คนต่อไปควรเป็นผู้นำรุ่นใหม่ เพราะหน้าที่ของผู้นำสิงคโปร์ในอนาคตจะไม่ใช่การฟื้นฟูสิงคโปร์ให้กลับมาแข็งแกร่งเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาสิงคโปร์ไปสู่อีกขั้นหนึ่งด้วย

 

การถอนตัวของสวี คีต ทำให้พรรค PAP ต้องสรรหาทายาททางการเมืองรุ่นที่ 4 คนใหม่ และ หว่อง เป็นผู้รับการคัดเลือก 

 

ผู้นำคนใหม่มีพื้นเพมาจากครอบครัวชาวจีนอพยพจากเกาะไหหลำ และร่ำเรียนจนจบการศึกษาจากวิทยาลัย Victoria Junior ซึ่งหว่องได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และมหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอนด์อาร์เบอร์ และจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการบริหารรัฐกิจจาก Harvard Kennedy School

 

หลังจากที่กลับมาบ้านเกิด ผู้นำคนใหม่ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการเงินด้านการดูแลสุขภาพที่กระทรวงสาธารณสุข และได้ปฏิรูป MediShield แผนประกันสุขภาพพื้นฐาน เพื่อให้ประชาชนสิงคโปร์ได้เข้าถึงสิทธิคุ้มครองการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นจากค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก 

 

และในปี 2548 นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ได้เลือกหว่องให้เป็นเลขานุการส่วนตัว (Principal Private Secretary :PPS) กระทั่งปี 2554 จึงได้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 และได้รับเลือกเป็น ส.ส. ของเขต West Coast GRC ปัจจุบันเป็น ส.ส.เขต Marsiling-Yew Tee GRC


ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ถือเป็นเวทีการฉายแววของผู้นำสิงคโปร์รุ่นที่ 4 นายกัน กิม หยง รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข มีแนวคิดที่จะรวบรวมทีมเพื่อบริหารจัดการกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในสิงคโปร์

หว่องได้รับเลือกให้เป็นประธานร่วม คณะทำงานเฉพาะกิจจากกระทรวงต่างๆ เกี่ยวกับโควิด-19 บทบาทในช่วงดังกล่าวได้ทำให้หว่องได้รับการกล่าวถึงต่อสาธารณชน จนในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้นำรุ่นที่ 4 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รับบทบาทให้เป็นผู้แถลงงบประมาณแผ่นดินของปี 2565

ที่มีกรอบวิสัยทัศน์ “สังคมที่เป็นธรรมขึ้น ยั่งยืนขึ้น และครอบคลุมมากขึ้น” ซึ่งมีสาระสำคัญที่มุ่งเน้นจัดการความไม่เท่าเทียมทางสังคมผ่านการดำเนินมาตรการภาษีอัตราก้าวหน้า บทบาทดังกล่าวได้ทำให้สาธารณชนเฝ้ามองหว่องมากขึ้น


นอกจากการเป็นนักการเมืองที่เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติ ผู้นำรุ่นที่ 4 ยังเป็นนักคิดทางการเมืองที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ของสังคม ความยั่งยืน และการมีคุณธรรม ในการประชุมของ Institute of Policy Studies (IPS) เมื่อเดือนมกราคม 2564

ต่อมาเดือนมิถุนายน หว่องได้บรรยายเกี่ยวกับเชื้อชาติและการเหยียดเชื้อชาติ และเดือนพฤศจิกายน ยังได้บรรยายเรื่องการเมืองเกี่ยวกับอัตลักษณ์และเผ่าพันธุ์ ผู้นำรุ่นที่ 4 กล่าวว่ารัฐบาลจะปรับปรุงนโยบายด้านเชื้อชาติและความสามัคคีทางเชื้อชาติ



การกล่าวสุนทรพจน์ของ ผู้นำรุ่นที่ 4 ทั้งสองวาระในเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายนได้ทำให้ผู้นำรุ่นที่ 4 ผู้นี้ได้รับการยกย่อง เพราะได้นำเสนอความคิดที่ก้าวหน้าในหัวข้อที่มีการถกแถลงอย่างบ่อยครั้งในสังคมสิงคโปร์ ภารกิจท้าทายเฉพาะหน้าของผู้นำการเมืองสิงคโปร์รุ่นที่ 4 คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดโควิด – 19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงครามในยูเครนและอิสราเอล – ปาเลสไตน์ 

 

ขณะเดียวกัน ต้องหาวิธีที่ทำให้สิงคโปร์กลับมาน่าสนใจในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกให้ได้อีกครั้ง แม้จะมีการปฏิรูประบบภาษีระหว่างประเทศเกิดขึ้น รวมถึงแรงกดดันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ย้อนกลับในปัจจุบัน

 

ขณะเดียวกัน ผู้นำคนใหม่ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ การปรับความสัมพันธ์กับจีนและสหรัฐอเมริกา การก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจไร้คาร์บอน การแก้ปัญหาสังคมสูงอายุ การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงความนิยมของพรรค PAP ที่มีแนวโน้มลดลง เพราะครองอำนาจมานาน แม้จะครองเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดมาโดยตลอดก็ตาม

 

อนาคตความเป็นไปของสิงคโปร์จะเป็นเช่นใด ขึ้นอยู่กับฝีมือไม้ลายมือของบุรุษผู้ชื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง บทพิสูจน์ว่าผู้นำรุ่นที่ 4 เป็นของจริงมั้ยกำลังจะตามมา





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า