หวั่นเชื้อหลุดรอด มหาวิทยาลัยบอสตันทดลองผสมสายพันธุ์ใหม่โควิด-19 เชื้อร้ายแรงกว่าโอมิครอน ทำหนูทดลองตายกว่า 80%
เกิดกระแสวิจารณ์อื้ออึง หลังทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ทดลองผสมสายพันธุ์โควิด-19 จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80% ในหนูทดลอง
.
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่แห่งชาติ (National Emerging Infection Disease Laboratories) ซึ่งเป็นสถาบันชีววิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบอสตัน โดยนำเอาโปรตีนหนามจากไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 มาผสมเข้ากับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น
.
ผลการศึกษาพบว่า ไวรัสโอมิครอนทำให้เกิดการติดเชื้อที่ “ไม่รุนแรง” ในหนูทดลอง ทว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งถูกตัดต่อโปรตีนหนามของโอมิครอนเข้าไป กลับทำให้อัตราตายของหนูทดลองสูงถึง 80% ในขณะที่หนูทดลองที่ได้รับเฉพาะเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมมีอัตราการเสียชีวิต 100%
.
ทีมนักวิจัยยังพบว่า ไวรัสสายพันธุ์ไฮบริดมีอนุภาคก่อโรค (infectious virus particles) มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนถึง 5 เท่าตัว และยังได้ข้อสันนิษฐานว่า โปรตีนหนามคือส่วนที่บ่งบอกถึงศักยภาพในการแพร่เชื้อ (infectivity) ของไวรัส ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอื่นๆ เป็นตัวกำหนดว่าไวรัสจะมีความรุนแรง (deadliness) มากน้อยเพียงใด
.
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตำหนิจากนักวิทยาศาสตร์บางคน ซึ่งเกรงว่าไวรัสที่มีความร้ายกาจนี้อาจหลุดรอดออกมาจนเกิดการแพร่ระบาดใหญ่อีกรอบ โดยศาสตราจารย์ชมูเอล ชาปิรา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของรัฐบาลอิสราเอล ชี้ว่า “งานวิจัยลักษณะนี้สมควรถูกห้าม มันคือการเล่นกับไฟชัดๆ”
.
การสร้าง “ซูเปอร์ไวรัส” ขึ้นมาเพื่อศึกษาวิจัยว่ามันจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง หรือที่เรียกว่า “gain of function research” นั้น ถูกเชื่อกันว่าเป็นต้นตอการระบาดของโควิด-19 และการศึกษาวิจัยในลักษณะนี้ได้ถูกจำกัดในสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2017
.
ดร.ริชาร์ด อีไบรท์ นักเคมีจากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส รัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าวกับสื่อเดลีเมลของอังกฤษว่า “งานวิจัยชิ้นนี้คือตัวอย่างของ gain of function research อย่างชัดเจน” พร้อมเตือนว่าหากมนุษยชาติต้องการหลีกเลี่ยงโรคระบาดใหญ่อันเกิดจากเชื้อโรคที่หลุดออกมาจากห้องแล็บ ก็จำเป็นจะต้องควบคุมดูแลไม่ให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างไวรัสร้ายแรงขึ้นมาอีก
.
ทางมหาวิทยาลัยบอสตันได้ออกมาโต้แย้งว่า งานวิจัยนี้ไม่จัดว่าเป็น gain of function research เนื่องจาก “ไม่ได้ทำให้ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่นมีความรุนแรงกว่าเดิม” แต่กลับช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การคิดค้นวิธีรักษาใหม่ๆ ได้
.
#TheStructureNews
#มหาวิทยาลัยบอสตัน #ทดลองผสมสายพันธุ์โควิด19 #GainOfFunctionResearch
อ้างอิง :
https://mgronline.com/around/detail/9650000099621
รัฐหนุน 12 อุตสาหกรรมสตาร์ทอัพ ยกเว้น Capital Gains Tax ให้เป็นเวลา 10 ปี คาดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 320,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 400,000 ตำแหน่ง
‘ในหลวง’ ทรงรับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จากเหตุกราดยิงไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์
สถานทูตจีนแถลง สหรัฐฯ กำลังใช้กรณีไต้หวันยั่วยุและชะลอการพัฒนาของจีน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม