Articlesในเมื่อโลกยังลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไม่ได้ แล้วปัญหาโลกร้อน จะถูกแก้ไขได้อย่างไร ?

ในเมื่อโลกยังลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไม่ได้ แล้วปัญหาโลกร้อน จะถูกแก้ไขได้อย่างไร ?

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา ปริมาณการบริโภคพลังงานของโลกสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จาก 28,564 เทราวัตต์-ฮาว์ (1 เทราวัตต์-ฮาว์ = 1,000 จิ๊กกะวัตต์-ฮาว์ = 1 ล้านกิโลวัตต์-ฮาว์) เป็น 176,413 เทราวัตต์-ฮาว์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งแนวโน้มการบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้นควบคู่กับอัตราการเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโลก (Global GDP)

ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และความพยายามของสหประชาชาติที่จะสื่อสารเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน แต่นี่ไม่ได้ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานของโลกลดลงเลย (เว้นแต่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ หรือวิกฤติโควิด 19)


สาเหตุนั้น เนื่องมาจากสืบเนื่องมาจากทุกกิจกรรมของมนุษย์ ล้วนแต่ใช้พลังงานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะกิจกรรมการผลิต กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือกิจวัตรประจำวันของบุคคล

 

แม้แต่กิจกรรมการรณรงค์ของบรรดานักกิจกรรมต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า ต่อต้านบริษัทน้ำมัน ก็ล้วนแต่บริโภคพลังงานทั้งสิ้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษยชาติจะปฏิเสธการใช้พลังงาน เพราะการใช้พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมความเจริญของมนุษย์

ถึงแม้ว่าภาวะโลกร้อน จะทำให้มนุษยชาติตื่นตัวและพยายามรณรงค์การใช้พลังงานอื่นที่นอกเหนือจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นตัวการใหญ่ของการก่อก๊าซเรือนกระจก แต่ถึงกระนั้น สัดส่วนการใช้พลังงานของโลกนี้ มากกว่า 70% ยังพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน-ก๊าซ-น้ำมัน) อยู่ดี

สาเหตุหลักที่สำคัญ คือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ของโลก ไม่ว่าจะพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำ ล้วนแต่ยังมีข้อจำกัดในตัวมันเอง ไม่มีความแน่นอน และไม่มากเพียงพอนั่นเอง อีกทั้งระดับเทคโนโลยีของโลกในปัจจุบันนี้ ยังไม่สูงมากเพียงพอที่จะทดแทนพลังงานจากการเผาไหม้ได้ทั้งหมด และยังไม่น่าจะทำได้ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า เราจึงยังจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาพลังงานจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไป

แต่ถึงแม้ว่าโลกของเราจะยังลดปริมาณการใช้พลังงานลงมาได้ แต่สิ่งที่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำได้คือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและใช้พลังงาน

ประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของผู้คนคือ ในเมื่อโลกยังลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไม่ได้ แล้วปัญหาโลกร้อน จะถูกแก้ไขได้อย่างไร ?

หากเราตั้งคำถามโดยอยู่บนพื้นฐานของเรื่องโลกร้อน เราก็ควรมองเห็นภาพร่วมกันก่อนว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกคน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเอง

อย่างภาครัฐนั้น ในปัจจุบัน แนวโน้มของกระแสโลกต่างให้ความสนใจกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มากขึ้น และประเทศไทยของเราเองก็ตอบรับต่อกระแสโลกนี้ ด้วยการนำเอาโมเดล Bio-Circular-Green (BCG Model) เข้ามาเป็นกรอบความคิดหลักของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ในส่วนของภาคธุรกิจเอกชนเองก็ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียนรวมถึงส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่มากขึ้น เช่นการตั้งจุดรับขยะขวดพลาสติกตามสถานีบริการน้ำมันของกลุ่มบริษัท ปตท หรือการพัฒนาธุรกิจ Upcycling นำขยะมาแปรรูปให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น มีสไตล์ โดยกลุ่มบริษัท SCG และ GC (Global Chemical) หรือการร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนแปรรูปขยะพลาสติก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วที่จังหวัดชลบุรี

 

สำหรับในภาคประชาชนอย่างพวกเรา การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรไปอย่างเปล่าประโยชน์ ลดการใช้ที่ไม่จำเป็นลง คือกุญแจสำคัญ ที่จะช่วยกันอนุรักษ์พลังงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมลงได้ 

 

การร่วมมือกัน ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากขึ้น จึงเป็นกุญแจสำคัญในการลดปัญหาโลกร้อน ที่ทุกคน ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ไขปัญหานี้ให้สำเร็จลุล่วงร่วมกัน

โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

 

อ้างอิง
[1] Our  World in Data, “Energy Production and Consumption”, https://ourworldindata.org/energy-production-consumption
[2] Our  World in Data, “Energy consumption by source, World”, https://ourworldindata.org/grapher/energy-consumption-by-source-and-region
[3] Our  World in Data, “GDP, 1920 to 2018”, https://ourworldindata.org/grapher/gdp-world-regions-stacked-area?country=Sub-Sahara+Africa~Latin+America~Middle+East~South+and+South-East+Asia~East+Asia~Western+Offshoots~Eastern+Europe~Western+Europe # TheStructureArticle

#ปัญหาโลกร้อน #ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล  #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า