Articlesเทียบราคาน้ำมันประเทศในอาเซียน ราคาน้ำมันของไทยแพงที่สุดจริงหรือเปล่า

เทียบราคาน้ำมันประเทศในอาเซียน ราคาน้ำมันของไทยแพงที่สุดจริงหรือเปล่า

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน ไม่ว่าจะลดหรือจะเพิ่ม ก็จะนำไปสู่การถกเถียงเป็นวงกว้างตลอด และไม่ว่าจะมีต้นเหตุหรือความเป็นมาอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็จะทำให้สาธารณชนพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกัน บางครั้งถึงกับนำไปสู่การโต้เถียงกันอย่างรุนแรง

 

อย่างไรก็ตาม การโต้เถียงรุนแรงซึ่งเราเห็นกันโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากความเข้าใจผิด หรือเกิดจากการถกเถียงกันโดยไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการเปรียบเทียบราคาน้ำมันระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ หลายครั้งมักจะมีการกล่าวในทำนองว่า “ราคาน้ำมันประเทศไทยนั้นแพงที่สุด” และมักจะอ้างอิงจากการเลือกหยิบยกเอาประเทศหนึ่งหรือเพียงไม่กี่ประเทศขึ้นมาเปรียบเทียบ หรือการเลือกที่จะไม่กล่าวถึงประเทศอื่น ๆ จึงสร้างความเข้าใจผิดที่มีผลกระทบเป็นวงกว้าง

 

แต่หากทุกฝ่ายในวงสนทนาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน การถกเถียงก็อาจจะก้าวข้ามความขัดแย้งและนำไปสู่ความพยายามในการทำความเข้าใจมุมมองของกันและกัน เพราะทุกฝ่ายนั้นก็จะมีข้อมูลร่วมกันเพียงชุดเดียว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถแย้งได้อีก

 

คำถามคือ แล้วเราจะเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันได้อย่างไร เพราะหากเพียงเสพข่าวสารต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ ข้อมูลที่เราได้อาจจะคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะหากข้อมูลนั้นไม่ได้มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือข้อมูลเหล่านั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบันแล้วก็ได้

 

ด้วยเหตุนี้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน จึงได้มีการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำ Data Visualization (การนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ) ที่แสดงราคาน้ำมันของไทยกับราคาน้ำมันของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยเราสามารถเข้าถึงได้ที่นี่ [1]

 

ซึ่งจากข้อมูล เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันของประเทศนั้นต่ำที่สุดเป็นอันดับสาม โดยอันดับที่สองคือมาเลเซีย และประเทศที่ราคาน้ำมันถูกที่สุดก็คือประเทศบรูไน ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ประเทศไทยมีน้ำมันแพงที่สุด” จึงเป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

 

หรือหากจะมีการวิเคราะห์ไปถึงสองประเทศที่ราคาน้ำมันถูกกว่าไทย ก็คงต้องพิจารณาไปถึงนโยบายและมาตรการภาษีที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ รวมทั้งระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน และรวมถึงจำนวนประชากรของแต่ละประเทศที่จะส่งผลถึงความต้องการน้ำมัน และความสามารถในการสำรองน้ำมันที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในแต่ละประเทศแตกต่างกัน

 

การพูดคุย แลกเปลี่ยน ถกเถียงในประเด็นด้านพลังงานและราคาน้ำมันนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้บทสนทนานั้น ๆ ไม่เป็นเพียงการโต้เถียงกันโดยสังคมนั้นไม่ได้อะไรนอกจากความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ และความเข้าใจผิด

 

———————

#TheStructureArticle

#ราคาน้ำมัน #อาเซียน #PTT

อ้างอิง 

[1] https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

[2] http://www.eppo.go.th/index.php/th/component/k2/item/18177-news-040765-01

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า