
ความรับผิดชอบต่อสังคมที่องค์กรใหญ่มอบให้คนไทยผ่านการทำ CSR
เมื่อพูดคำว่า “ทุน”, “ธุรกิจ”, “บริษัท” หรือ “เอกชน” ในการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมการเมือง เราจะเห็นนักวิชาการและนักวิเคราะห์ต่าง ๆ ฉายภาพไปในทางลบเป็นหลัก เพราะความที่ภาคธุรกิจนั้นเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทหลักต่อส่วนอื่น ๆ ของสังคม และการกระทำใด ๆ ของภาคธุรกิจและเอกชนนั้นจึงนำไปสู่ผลลัพธ์ต่อสังคมเป็นวงกว้าง
ซึ่งบางครั้งการวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบก็มาจากสิ่งที่มีที่มาที่ไป แต่ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ที่มาจากอคติและการไม่มองถึงข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ เพราะหลายครั้ง เราก็เห็นภาคธุรกิจและเอกชนทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นบวกต่อสังคมผ่านโครงการต่าง ๆ มากมาย
ความรับผิดชอบที่ภาคธุรกิจและเอกชนมีต่อสังคม เพื่อแก้ไขหรือหาทางออกต่อผลลัพธ์ที่อาจไม่เป็นคุณต่อภาคส่วนต่าง ๆ และเพื่อทำให้สังคมรับรู้ถึงผลงานที่ดีของบริษัท ที่เป็นประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติ การสร้างความรับผิดชอบนี่เองคือต้นกำเนิดของสิ่งที่เรียกกันว่า Corporate Social Responsibility หรือ CSR
CSR นั้นคือ การดำเนินกิจการของบริษัทเอกชนที่มีเป้าหมายในการจัดการผลกระทบอันเป็นลบและสร้างผลลัพธ์ที่เป็นบวกให้กับสังคม โดยหาสมดุลระหว่างประเด็นทางเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้มีการหากำไรเป็นที่ตั้ง (เรียกหลักการนี้ว่า Triple-Bottom-Line Approach)
ซึ่งเป้าหมายหลักของ CSR นั้นคือการทำให้ภาคอื่น ๆ เช่น ภาครัฐ หรือ ภาคประชาสังคม (civil society) มองเห็นถึงความรับผิดชอบที่ภาคธุรกิจมีต่อสังคม
นี่เองจึงเป็นสาเหตุที่ในยุคปัจจุบัน บริษัทต่าง ๆ นั้นเริ่มมีการดำเนินกิจการ จัดตั้งกิจกรรม หรือโครงการใด ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจหลักของพวกเขาแม้ไม่ได้มีกฎหมายใด ๆ บังคับใช้ให้ธุรกิจเหล่านั้นปรับใช้ CSR เลยก็ตาม
ตัวอย่างของการทำ CSR ก็มีหลากหลาย เช่น ปตท. ฟื้นฟูป่ากักเก็บคาร์บอนคืนสมดุลสู่ธรรมชาติผ่านโครงการปลูกป่าต่าง ๆ รวม 576 แปลง 1.1 ล้านไร่ ใน 56 จังหวัดทั่วประเทศ
PTTGC จัดโครงการ “YOUเทิร์น” จัดตั้งจุดรับพลาสติกสะอาดเพื่อนำมาคัดแยกและรีไซเคิลใหม่อีกครั้ง เทียบเท่าการลดการตัดต้นไม้ใหญ่ 114,927 ต้น
Starbucks เลือกซื้อวัตถุดิบเมล็ดกาแฟโดยตรงจากชาวไร่ไม่ผ่านคนกลาง เพื่อให้พวกเขาได้มีรายได้มากขึ้น เป็นต้น
กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า CSR คือ การลงทุนของภาคธุรกิจ ในประเด็นที่ไม่ได้ทำกำไรให้กับบริษัทโดยตรง แต่เป็นการลงทุนในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนและสังคมส่วนรวมนั้นได้ประโยชน์ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ในทางอ้อมต่อธุรกิจนั้น ๆ ด้วย
ผ่าประเด็นร้อน! อเมริกาจ่อเลิกสิทธิ ‘ทำแท้ง’ เมื่ออำนาจศาลถูกผูกกับฝ่ายการเมือง
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม