Articlesหัวใจของประชาธิปไตย ไม่ใช่สภาหรือการเลือกตั้ง แต่เป็นประชาชนที่เข้าใจและเคารพ ภราดรภาพ

หัวใจของประชาธิปไตย ไม่ใช่สภาหรือการเลือกตั้ง แต่เป็นประชาชนที่เข้าใจและเคารพ ภราดรภาพ

ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า “มนุษย์มีความอิสระและมีความเสมอภาค จึงยังไม่เพียงพอ คือจำต้องมีการช่วยเหลือกันฉันท์พี่น้องด้วย…” [1]

“เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” เป็นคำขวัญที่มีมาตั้งแต่เริ่มการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดประชาธิปไตยยุคใหม่ และผ่านการขบคิด กลั่นกรองมาอย่างยาวนาน แต่ทว่า ในปัจจุบัน คำ “ภราดรภาพ” นั้นกลับถูกลืมเลือนหายไป

ทุกครั้งที่มีการเรียกร้อง แทบจะไม่มีครั้งใดเลยที่ไม่มีการพูดถึง “เสรีภาพ” และ “เสมอภาค – เท่าเทียมกัน” แต่ไม่มีใครอ้างถึง “ภราดรภาพ” เลย

แล้ว “ภราดรภาพ” คืออะไร ?

มนุษย์ทุกคน เกิดมาพร้อมความแตกต่างกันโดยกำเนิด มีความแตกต่างกันโดยหน้าที่ และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิด แต่เมื่อเกิดความแตกต่างทางความคิด แล้วสังคมจะหาทางออกได้จากไหน ?

ชาร์ลส์ จี๊ด นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อความคิดของปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวว่า “มนุษยชาติต้องพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น จึงจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในความลำบากของผู้อื่นด้วย ซึ่งการนี้เป็นมูลฐานแห่งความยุติธรรมของสังคม” [2]

ดังนั้น หากผู้คนในสังคมต่างยอม “ลดทิฐิ” “ลดอัตตาตัวตน” ของตนเองลง แล้วหันมาเห็นใจ ใส่ใจผู้อื่นมากขึ้น อันจะเป็นการ ผสานความแตกต่างระหว่างบุคคล และกลุ่มคนลง ลดช่องว่างระหว่างกัน หันมาร่วมแรงร่วมใจกัน นำพาสังคมไปสู่อนาคตที่ดีกว่าร่วมกันนั่นเอง

ภราดรภาพ ความเป็นพี่น้อง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คือหลักปรัชญา ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความรักและความสามัคคีกันในสังคมนั่นเอง

เมื่อเรารักใครสักคนหนึ่ง เราจะเห็นใจเขา ใส่ใจเขา และลดตัวตนของตัวเองลง และหันไปมองมุมมองของผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งนั้นทำให้เกิด “ความเข้าใจระหว่างกัน” อันจะนำไปสู่การ “ประนีประนอมระหว่างกัน” อันจะนำไปสู่การ “อยู่ร่วมกันในสังคมโดยผาสุก” นั่นเอง

ในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีการเลือกตั้ง และสภา

ในการเลือกตั้ง ผู้สมัคร จะได้รับโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเต็มที่ ภายใต้กรอบ และกติกาที่กำหนด แต่สุดท้ายแล้ว การเลือกตั้ง คือการแข่งขันอันเนื่องมาจากการหาข้อยุติที่เป็นที่ยอมรับโดยเอกฉันท์ของสังคมไม่ได้

และในเมื่อเป็นการแข่งขัน ก็ย่อมมีผู้แพ้ และผู้ชนะเป็นธรรมดา

ในสภา ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ “ผู้แทน” ที่ได้รับเลือกให้เป็น “ผู้แทนประชาชน” ได้เข้าไปอภิปราย แสดงความคิดเห็นในสภา และลงมติด้วยระบบการ “ลงคะแนน” ซึ่งก็ย่อมมีผู้แพ้และชนะด้วยเช่นกัน

แต่จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้แพ้ไม่ยอมรับความแพ้พ่าย และเล่นเกมนอกกติกา หรือผู้ชนะ กดขี่ข่มเหงผู้แพ้ จนผู้แพ้ต้องยอมสู้ตาย

การประท้วงนอกสภา, การใช้ความรุนแรง, การก่อจลาจล และ การก่อการร้าย ล้วนแต่เป็นผลพวงมาจากการไร้ภราดรภาพทั้งสิ้น

นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม ภราดรภาพ จึงเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของระบอบประชาธิปไตย นับตั้งแต่วันแรกมาจวบจนปัจจุบันนั่นเอง

ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า