Articlesนโยบายวิภาค ผู้ว่า ฯ กรุงเทพมหานคร EP2: วิเคราะห์นโยบาย กรุงเทพฯ ดีกว่านี้ได้ ของ สกลธี ภัททิยกุล

นโยบายวิภาค ผู้ว่า ฯ กรุงเทพมหานคร EP2: วิเคราะห์นโยบาย กรุงเทพฯ ดีกว่านี้ได้ ของ สกลธี ภัททิยกุล

จากนโยบายการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในตอน 2 ได้เลือกคุณสกลธี ภัททิยกุล ในฐานะตัวแทนผู้สมัครแบบอิสระที่มีนโยบายการหาเสียงต่าง ๆ ในการนำเสนอออกมาสู่สังคม

 

โดยนโยบายที่เป็นนโยบายหลักที่ผู้สมัครได้นำเสนอออกมา คือ แนวคิด “กรุงเทพดีกว่านี้ได้” ซึ่งจะมีอยู่ 6 ประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น การแก้ไขปัญหาขนส่งสาธารณะ “ล้อ ราง เรือ” การพัฒนาด้านสาธารณสุข ระบบการศึกษา สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ระบบบริหารจัดการ เศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นนโยบายที่เตรียมผลักดันให้เกิดขึ้นจริงภายใน 4 ปี

 

และนโยบายที่มีความสนใจ คือ นโยบายการสร้างสวนสาธารณะขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและประชาชนสามารถเข้าถึงพื้นที่สาธารณะดังกล่าวได้ง่ายขึ้น

 

โดยนโยบายการสร้างสวนสาธารณะขนาดเล็กจะมุ่งเน้นไปที่การนำพื้นที่รกร้างต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครมาทำเป็นสวนสาธารณะโดยจะมีขนาดพื้นที่เล็กถึงปานกลาง เพื่อเสริมพื้นที่สีเขียวควบคู่กับการพัฒนาและปรับปรุงสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพื่อให้ประชาชนทุกเขตสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้

 

ทั้งนี้นโยบายการนำพื้นที่รกร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาทำเป็นสวนสาธารณะถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีเพราะในทางหนึ่งคือ การใช้พื้นที่ในกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในพื้นที่รกร้างที่ไม่มีการใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครให้มีจำนวนที่มากขึ้นทั้งในรูปแบบของขนาดพื้นที่และจำนวนที่ตั้งของสวนสาธารณะ

 

ซึ่งในตัวขนาดพื้นที่และจำนวนที่ตั้งของสวนสาธารณะ หากจะทำความเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การมีสวนสาธารณะกระจายไปในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครเพื่อยกระดับพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยในเขตต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มขนาดพื้นที่สวนสาธารณะโดยภาพรวมของกรุงเทพมหานครในรูปแบบของการนำพื้นที่รกร้างมาทำเป็นสวนสาธารณะอีกด้วย

 

แต่ในอีกทางหนึ่ง โครงการการนำพื้นที่รกร้างในกรุงเทพมหานครมาทำเป็นสวนสาธารณะทั้งขนาดย่อมและปานกลางในกรุงเทพมหานครนั้นก็มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงทุนกับโครงการเหล่านี้เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นและหากการสร้างสวนสาธารณะเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่มีราคาที่ดินสูงก็จะยิ่งทำให้รายจ่ายการทำสวนสาธารณะก็จะสูงขึ้นไปด้วย และบางพื้นที่อาจไม่ยินยอมให้ทำเป็นสวนสาธารณะ ซึ่งการประชาสัมพันธ์ในส่วนนี้ก็ถือว่ามีความสำคัญหลังจากนี้ หากจะดำเนินโครงการนี้จริง เพื่อให้วัตถุประสงค์พื้นที่สีเขียวเกิดขึ้นจริง

โดย ชย

 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า