Articlesพฤติกรรมไม่รับฟังความเห็นต่างของผู้มีส่วนร่วมในระบบการศึกษา คือ ความดำมืดของระบบการศึกษา

พฤติกรรมไม่รับฟังความเห็นต่างของผู้มีส่วนร่วมในระบบการศึกษา คือ ความดำมืดของระบบการศึกษา

ความดำมืดของระบบการศึกษาเป็นอะไรที่ย่อมไม่น่าชื่นใจมากนักโดยเฉพาะเมื่อคนในสังคมมักมองตัวระบบการศึกษาที่เต็มไปด้วยความดำมืดสารพัดอย่างทั้งจากตัวผู้เรียน ผู้สอน และการกำกับดูแลจากสถานศึกษา ที่มีช่องโหว่ต่าง ๆ ให้เกิดความดำมืดดังกล่าว แม้จะพยายามแก้ไขให้ดีขึ้นแล้วบ้างก็ตาม

 

ทว่าในบรรดาความดำมืดทั้งหมด ความดำมืดในทางการศึกษาที่น่ากลัวที่สุดคือ การไม่สื่อสารและเข้าใจกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอนซึ่งในประเด็นการไม่รับฟังความเห็นต่างของครูและอาจารย์คือความดำมืดของระบบการศึกษาที่น่ากลัวที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นของความดำมืดอื่น ๆ ที่ตามมา

 

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แทนที่จะเป็นความดำมืดอื่น ๆ ที่ควรดูจะน่ากลัวกว่า เพราะที่จริงแล้วการไม่รับฟังความเห็นต่างที่ว่า ไม่ได้หมายถึงการรับฟังผู้เรียนผู้สอนโดยตรงเพียงอย่างเดียว เพราะการรับฟังอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้พิจารณาหรือปรับแก้ตามความเหมาะสมก็ไม่ต่างจากการไม่รับฟังมากเท่าไหร่นัก

 

แต่ก็คือการรักษาสมดุลของระบบการเรียนการสอนที่ควรจะเป็น คือ มีกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลกันและกันเพื่อให้สมดุลของระบบการเรียนการสอนเดินหน้าไปได้ทุกฝ่าย แต่สมดุลดังกล่าวนั้นกลับสั่นคลอนจากพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อันเกิดจากความไม่รับฟังความเห็นต่างและนำไปสู่การมองว่า ตนเองมีความสำคัญและสามารถควบคุมความเป็นไปของผู้อื่นได้ด้วยน้ำมือของตนเอง

ซึ่งเมื่อไม่รับฟังความเห็นต่างแล้ว และเริ่มสำคัญตนเองแล้วว่าสามารถทำอะไรตามใจตนเอง ทุกอย่างก็จะเลวร้ายลงโดยเฉพาะการใช้สถานภาพที่ได้รับการนับถือจากบุคคลภายนอกในการแสวงโอกาสเข้าตนเอง

 

ไม่ว่าจะเป็นคะแนนพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถจริงเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนที่มองว่าเป็น “ลูกรัก” และสามารถตอบสนองผลประโยชน์ของตนได้ในระยะยาว ซึ่งจะยิ่งแนบเนียนมากขึ้น หากไม่มีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ทำให้การประเมินผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น

หรือการใช้อคติทางการเมืองในการเรียนการสอนหรือแม้แต่ในการสอบที่การตอบไม่ตรงใจครูอาจารย์ย่อมหมายถึงคะแนนที่จะถูกหักไปเพราะไม่ตรงกับตัวชี้วัดที่ครูอาจารย์ได้ตั้งไว้ โดยเฉพาะในการวัดผลที่ใช้วิธีการเขียนตอบประโยคยาวที่เป็นการแสดงประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่ในบางกรณีมีการใช้มุมมองของผู้ตรวจในการตัดสินให้คะแนนจนเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบตามมุมมองการตรวจของผู้ตรวจ

 

ยังไม่รวมถึงพฤติกรรมความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นได้ยากในตัวมนุษย์ คือ การอ้างว่าตนเป็นคนศรัทธาในแนวคิดประชาธิปไตย บางคนถึงขั้นสมาทานแนวคิดแบบสุดโต่งและไม่ยอมรับความเห็นต่างอื่น ๆ โดยอ้างว่าเป็นแนวคิดแบบอำนาจนิยมบ้าง เป็นแนวคิดที่ไม่ทันสมัยบ้าง เป็นแนวคิดที่ดูด้อยกว่าตนบ้าง

 

แต่ในอีกทางหนึ่ง กลับใช้สถานะในความเป็นผู้สอนในการกดขี่ผู้เรียนเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ นานา ทั้งที่ตนเองเป็นผู้ที่ยอมรับในคุณค่าประชาธิปไตย และหนักกว่านั้นคือ การใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตยในรูปแบบที่ตนคิดในการกดหัวเด็กที่คิดไม่เหมือนกับตนเอง ซึ่งก็เป็นอำนาจนิยมในอีกรูปแบบหนึ่งอยู่ดี

 

เพราะเมื่อเชื่อมั่นในความคิดของตนว่า ดีบ้าง เป็นประชาธิปไตยบ้าง หรือทันสมัยบ้าง ผสมกับพฤติกรรมไม่รับฟังความเห็นต่างและการคิดว่าตนเป็นคนสำคัญที่จะควบคุมบังคับใครก็ได้ และสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอนได้พร้อมกัน โดยเฉพาะผู้เรียนที่สามารถใช้สิทธิในฐานะนักเรียนและนักศึกษาในเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นการเบียดบังสิทธิชอบธรรมของผู้สอนได้ในเวลาเดียวกัน

 

ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นอำนาจนิยมที่เคลือบนอกด้วยความสูงส่งของอุดมการณ์ แต่แท้จริงแล้วยังแฝงไปด้วยพิษของการกดขี่บุคคลที่มีสถานภาพสูงหรือด้อยกว่าตนในนามของความสูงส่งและอุดมการณ์ของตน และจะนำสังคมการศึกษาและสังคมภาพรวมไปสู่ความเลวร้ายและยากที่จะแก้ไขให้สังคมกลับมาปกติอีกครั้ง

 

ดังนั้น บางทีการทำให้ระบบการศึกษาเดินหน้าไปได้อย่างเข้มแข็ง การรับฟังความเห็นต่างและเรียนรู้ร่วมกันก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำในระบบการศึกษา ไม่เพียงเฉพาะในระบบการศึกษาแต่หมายถึงองค์ประกอบทางสังคมภาพรวมที่ควรจะเป็นเช่นนั้นด้วยในฐานะรากฐานสำคัญของแนวคิดประชาธิปไตย

 

เพราะสิ่งที่ทำให้สังคมการศึกษาเจริญขึ้นมาได้ ไม่ใช่เพียงประชาธิปไตย หรือความรู้ที่มี หรือความทันสมัย ความเท่ หรือการสร้างความนิยมให้คนชมชอบ หรือการบังคับผู้คนกันและกันในสังคมการศึกษา

 

 “แต่ก็คือการรับรู้และเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคม”

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า