Newsแก้ไขกฎหมายล้มละลาย ‘วรภพ’ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายต่อสภา ฯ เพิ่มสิทธิยื่นขอฟื้นฟูหนี้สินบุคคล โดยไม่ต้องรอถูกฟ้องล้มละลาย

แก้ไขกฎหมายล้มละลาย ‘วรภพ’ ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายต่อสภา ฯ เพิ่มสิทธิยื่นขอฟื้นฟูหนี้สินบุคคล โดยไม่ต้องรอถูกฟ้องล้มละลาย

วันที่ 6 ก.ย. 66 วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล และคณะ แถลงข่าวยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย เพิ่มสิทธิลูกหนี้บุคคลธรรมดา ยื่นขอฟื้นฟูหนี้สิน เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ โดยไม่ต้องรอถูกฟ้องล้มละลายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

 

นายวรภพ โพสต์ชี้แจงถึงร่างแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวผ่านเฟสบุ๊คระบุว่า ร่างดังกล่าวเป็นร่าง ฯ ที่ค้างมาจากสมัยที่แล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้บุคคลธรรมดา สามารถยื่นขอฟื้นฟูฐานะ/ฟื้นฟูหนี้สินได้เหมือนลูกหนี้ธุรกิจด้วย อีกทั้งยังมีความเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้อีกด้วย โดยมีข้อความว่า…

 

ในยุคที่หนี้ครัวเรือนพุ่งเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี และการแก้หนี้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของเศรษฐกิจไทย ผมและพรรคก้าวไกลจึงขอเสนอและผลักดัน ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ล้มละลาย ต่อสภาผู้แทนราษฎร ช่วยแก้ปัญหาลูกหนี้ทั้ง SMEs และ บุคคลธรรมดา ให้สามารถหาทางออกสำหรับปัญหานี้สินได้

 

โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ สาระสำคัญคือ การให้ลูกหนี้ผู้ประกอบการรายย่อย/ SMEs สามารถ ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ได้สะดวกขึ้น และ เพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ยื่นขอฟื้นฟูฐานะ/ฟื้นฟูหนี้สินได้เหมือนลูกหนี้ธุรกิจด้วย 

 

เพื่อให้ลูกหนี้สามารถขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถูกฟ้องล้มละลายก่อนได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิของลูกหนี้ในหลากหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว 

 

เพราะสิทธิในการขอฟื้นฟูกิจการและฟื้นฟูฐานะ จะทำให้ลูกหนี้สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้สินล้นพ้นตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลล้มละลาย และเพื่อหาข้อสรุปและทางออกที่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกัน 

 

จากเดิมที่จะต้องให้ลูกหนี้เจรจากับเจ้าหนี้ทีละรายซึ่งทำให้ปัญหาหนี้สินไม่สามารถหาทางออกได้ จะทำให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเศรษฐกิจไทยที่พึ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดและกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น

 

ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย ฉบับนี้ เป็นร่างกฎหมายที่พิจารณาค้างในสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่แล้ว และกรรมาธิการจากทุกพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ได้เห็นชอบร่วมกันมาแล้ว พวกเราจึงมีความจำเป็นจะต้องยื่นร่างกฎหมายฉบับนี้อีกครั้ง

 

พวกเราหวังว่า สภาผู้แทนราษฎร และ คณะรัฐมนตรี.ชุดใหม่ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จะสนับสนุนและร่วมกันผลักดันร่างแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้กับเศรษฐกิจไทยได้โดยเร็ว

 



สำหรับ พ.ร.บ. ล้มละลายฉบับล่าสุด เป็นฉบับ พ.ศ. 2561 เป็นการปรับปรุงครั้งที่ 10 เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 61 มีเหตุผลในการประกาศใช้ว่า …

 

โดยที่กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามหมวด ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ มีบทบัญญัติบางประการที่ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถขอฟื้นฟูกิจการได้ทันต่อสถานะทางด้านการเงินของลูกหนี้

 

เนื่องจากลูกหนี้ต้องเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้นจึงจะขอฟื้นฟูกิจการได้ รวมทั้งการติดตาม การจัดการ และการรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

 

เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้นและจัดให้มีกลไกในการติดตามจัดการ และรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการคุ้มครองเจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอ 

 

ซึ่งจะเป็นมาตรการหนึ่งที่เป็นการส่งเสริมและรองรับความสะดวกในการประกอบธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า