
ทำความรู้จักกับ Climate Tech 10 เทคโนโลยีลดโลกร้อนฉบับอัปเดต
“วิกฤตโลกร้อน” หรือถ้าจะแปลให้ดีนั่นก็คือ “วิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ” ซึ่งมาจากคำว่า Climate Change ถือเป็นสิ่งที่เราได้ยินมาแล้วเป็นระยะเวลาหลายสิบปี และในปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสิ่งไกลตัว เพราะไม่ใช่แค่สภาพอากาศที่มีผลกระทบ แต่ก็มีภาพความเปลี่ยนแปลงอื่นที่เสื่อมลงและจะยิ่งเป็นภัยต่อความปลอดภัย สุขภาพ และชีวิตของผู้คนทั้งโลก
.
แม้ปัญหาเหล่านี้จะใกล้ตัวเข้ามาทุกที แต่การแก้ไขปัญหานั้นก็ดูจะยังไกลตัวอยู่เสมอ เพราะการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤต Climate Change นั้น ดูยากและห่างไกลกว่าที่ประชาชนคนทั่วไปอย่างเราจะเข้าถึงหรือมีส่วนร่วมได้
.
อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้มีความนิ่งเฉย เพราะได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ ขึ้นเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งบางอย่างคนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้แล้ว และบางอย่างก็ยังรอให้นักวิจัย นักคิดและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ๆ เข้ามาช่วยกันพัฒนาต่อยอดต่ออีกด้วย
.
ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและวิกฤตสภาพอากาศมากมาย ซึ่งแบ่งได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ (geothermal) ซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานที่คาร์บอนต่ำหรือลดน้อยลงไปในที่สุด
.
รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าอัจฉริยะแบบตาราง (smart grid) หรือการพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น เหล่านี้ก็จะช่วยลดการบริโภคพลังงานไฟฟ้าและลดการปล่อยคาร์บอน
.
และยังคงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) เช่น การบริหารจัดการขยะและของเสีย รวมถึงระบบการรีไซเคิลต่าง ๆ
.
ในภาคการเกษตรก็มีการใช้เทคโนโลยี เช่น การเกษตรแม่นยำ (precision farming), การตรวจจับทางไกล (remote sensing), ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographic Information System) เพื่อช่วยให้เกิดความยั่งยืนและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการและตรวจสอบสังเกตการณ์พื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ ที่สำคัญกับสิ่งแวดล้อม
.
ท้ายสุด ในภาคประชาชน เทคโนโลยียังสามารถเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมด้านอื่น ๆ ของผู้คนและให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้คนเริ่มมีความตระหนักรู้หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้