Articlesย้อนดูที่มาของกฎมัสแฮฟ เจตนาดีที่ส่งผลร้ายต่อ กสทช

ย้อนดูที่มาของกฎมัสแฮฟ เจตนาดีที่ส่งผลร้ายต่อ กสทช

หลังจากที่มีข่าววุ่น ๆ เกี่ยวกับกฎมัสแฮฟ และลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกกันมาจนเรื่องน่าจะจบที่ กสทช ใช้เงินจากกองทุน กทปส หรือกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ จำนวน 600 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนการซื้อลิขสิทธิ์ และมีแนวคิดที่จะแก้ไขปรับปรุงกฎเจ้าปัญหานี้ใหม่

สำหรับกฎมัสแฮฟนี้นั้น เกิดขึ้นจากประกาศของ กสทช เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปมองหลักการและเหตุผลของกฎข้อนี้แล้ว จะเห็นว่า เป็นกฎที่มีเจตนาดี ต้องการให้คนไทยทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงการรับชมมหกรรมกีฬาสำคัญได้อย่างเท่าเทียม โดยในประกาศนั้นระบุว่า

“เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรม และเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการ ของกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป”

กฎข้อนี้ ถูกประกาศโดยคณะกรรมการ กสทช ซึ่งถูกแต่งตั้งในช่วงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่เป็นรัฐบาลถัดมา

แต่จะอย่างไรก็ตาม กฎมัสแฮฟนี้ กลับสร้างปัญหาให้แก่ กสทช ตลอดมา

ครั้งแรก ฟุตบอลโลก 2014 หรือ พ.ศ. 2557 บริษัท อาร์เอส ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เนื่องด้วยบริษัท ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดมาก่อนที่ กสทช จะออกกฎดังกล่าว สุดท้ายศาลปกครองสูงสุด ตัดสินให้บริษัท ไม่ต้องถ่ายทอดสดฟุตบอลให้ครบทุกนัดก็ได้ ส่งผลให้ทาง กสทช. ต้องออกมาตรการชดเชยหรือบรรเทาความเสียหายนี้ ตามแนวทางของศาลปกครองแนะนำ โดยจ่ายเงินชดเชยให้กับ บริษัท อาร์เอส จำนวน 427 ล้านบาท

ครั้งที่สอง ฟุตบอลโลก 2018 หรือ พ.ศ. 2561 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้ปัญหาด้วยการ ติดต่อให้ภาคเอกชน 9 ราย ร่วมลงขันซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด มูลค่าสูงถึง 1,600 ล้านบาท และมีทรูวิชั่นส์ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์หลักในประเทศไทย และออกสิทธิผู้ถือลิขสิทธิ์ย่อยให้กับช่องทีวีดิจิทัลที่ถ่ายทอดสดต่อ



สำหรับในครั้งนี้นั้น ทั้ง ๆ ที่ค่าลิขสิทธิ์จะยังเท่าเดิม แต่ว่าภาคเอกชนเห็นว่า ไม่น่าลงทุน จึงไม่มีรายใดเข้าร่วมเหมือนที่ผ่านมา และจากผลการสำรวจ Nielsen Fan Insights ของบริษัทวิจัยต่างชาติ นีลเส็น ที่เผยแพร่เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2564 พบว่าคนไทยยังดูกีฬาจำนวน 43 ล้านคน แต่ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า คนไทยบางส่วนรับชมฟุตบอลจากช่องทางอื่นที่มิใช่ฟรีทีวี และ คนไทย 37% ยอมเสียเงินดูกีฬาอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ในมหกรรมกีฬาอื่นที่ผ่านมาอีก 5 ครั้งได้แต่ โอลิมปิกฤดูร้อน 2020, โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2020, โอลิมปิกฤดูหนาว 2022, โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2022 และ เอเชียนเกมส์ 2022 เคยเป็นเหตุให้ กสทช ต้องใช้เงินจากกองทุน กทปส มาแล้วรวม 240 ล้านบาท ซึ่งในการแข่งขันกีฬาเหล่านี้ ใช้เหตุผลและหลักการสนับสนุนว่าเป็นรายการที่มีความหลากหลายของชนิดกีฬา และมีหลายชนิดกีฬาที่คนไทยเข้าร่วมแข่งขัน เข้าข่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน กทปส. บัญชีที่ 1 และ 2 ได้

 

แต่มหกรรมฟุตบอลโลก ไม่ได้มีคนไทยเข้าร่วมในการแข่งขัน จึงเป็นเหตุให้นักวิชาการด้านสื่อส่วนหนึ่งคัดค้าน เนื่องจากเงิน 600 ล้านที่จะถูกใช้เพื่อการซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกในครั้งนี้ เป็นการเบียดบังเงินทุนที่จะถูกใช้ในการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคมของประเทศนั่นเอง



จากบทเรียนในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า เจตนาของกฎนั้น เป็นเจตนาที่ดี มองได้ว่าเป็น “สวัสดิการแห่งรัฐ” ในรูปแบบหนึ่ง ที่คำนึงถึงสิทธิในการรับชมมหกรรมกีฬาได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

แต่กฎข้อนี้ ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันของผู้ดำเนินธุรกิจฟรีทีวี จึงทำให้ไม่มีเอกชนรายใดอยากลงทุน

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าผลสำรวจของ Nielsen Fan Insights จะระบุว่า มีคนไทยดูกีฬาถึง 43 ล้านคน (84%) แต่อีกหลายล้านคนนั้น ไม่อยากดู และมีคนถึง 37% ยอมเสียเงินดูกีฬาอีกด้วย

สุดท้ายแล้ว หากยังคงกฎมัสแฮฟเจ้าปัญหานี้ต่อไป ในอนาคต กสทช อาจจะต้องใช้เงินจากกองทุน กทปส ซึ่งเป็นกองทุนเพื่องการวิจัยและพัฒนาต่อไป ส่งผลให้ความเจริญก้าวหน้าในกิจการโทรคมนาคมของไทยต่ำลง

ดังนั้น การพิจารณาทบทวนกฎมัสแฮฟข้อนี้ใหม่ภายหลังการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งนี้นั้น จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลแล้ว

#TheStructureArticle

#กสทช #ฟุตบอลโลก2022




อ้างอิง
 [1] สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, “ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555”, https://www.nbtc.go.th/News/Information/ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง-กิจการโทรทัศ-(9).aspx?lang=th-th

[2] ไทยโพสต์, “Must Have และ Must Carry กฎแสลงของคนทำทีวี-เจ้าของลิขสิทธิ์”, https://www.prachachat.net/general/news-1107650

[3] เดลีนิวส์, ““มัสต์ แฮฟ-มัสต์ แครี่” ทำถ่ายบอลโลกป่วน! “กฎสุดโต่ง” เจตนาดีแต่ไม่ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล”, https://www.dailynews.co.th/news/1674393/
[4] สำนักข่าวไทย, “กสทช.เตรียมแก้ไขกฎ Must Have และ Must Carry”, https://tna.mcot.net/sport-1056155

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า