Articlesหลายครั้งที่คำว่า “ปากท้อง” ถูกใช้เพื่อการเข้าสู่ “อำนาจของนักการเมือง

หลายครั้งที่คำว่า “ปากท้อง” ถูกใช้เพื่อการเข้าสู่ “อำนาจของนักการเมือง

“ราษฎรถืออาหารเป็นสำคัญ” คือหนึ่งในปรัชญาของคนจีนโบราณ ถึงหัวข้อสำคัญที่ผู้ปกครองจะต้องให้ความใส่ใจ และความมั่นคงทางอาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความมั่นคงของรัฐ ที่อาจทำให้ชาติรัฐที่เคยมั่นคง ล่มสลายหายจากไป

ช่วงยุคน้ำแข็งน้อย ระหว่าง ค.ศ. 1300 – 1850 คือปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของซีกโลกเหนือต่ำลง 0.6 °C ซึ่งส่งผลให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงฤดูหนาวยาวนานขึ้น และหนาวขึ้น อันเป็นผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง [1]

ในยุโรปและจีน คือภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนัก เกิดวิกฤติอาหารไปทั่ว และสองประเทศที่ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจผิดพลาดคือ ฝรั่งเศส และ จีน (ราชวงศ์หมิง)

ฝรั่งเศส เกิดภาวะขาดแคลนขนมปังอย่างรุนแรง จนภาวะความเชื่อมั่นในราชวงศ์บูรบงตกต่ำลง จนกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส

ในจีน รัฐบาลราชวงศ์หมิงยุคปลาย ไม่สามารถบริหารได้ดีเพียงพอ จนประชาชนไม่พอใจ เกิดกบฏชาวนาทั่วประเทศ จนสุดท้าย ก๊กไท่ผิงเทียนกั๋ว ของ หลี่จื้อเฉิง บุกเข้ายึดพระราชวังต้องห้ามได้สำเร็จ จักรพรรดิหมิงฉงเจิน จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิง ผูกพระศอกับต้นไม้ เสด็จสวรรคต ปิดฉากราชวงศ์หมิงที่ยาวนานกว่า 300 ปี ลง [2]

จากตัวอย่างในหน้าประวัติศาสตร์เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวิกฤติ เรื่องปากท้อง ที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐ ได้อย่างชัดเจน

และนี่คือเหตุผลว่าทำไม เรื่องปากท้อง เรื่องเศรษฐกิจ ถึงเป็นหนึ่งในหัวข้อที่นักการเมืองหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดมา ไม่ว่าจะด้วยการโจมตีรัฐบาล หรือเพื่อการวาดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนสนับสนุนพวกเขา

เป็นเรื่องที่น่าเศร้า ที่หลายคนถูกชักจูงได้ง่าย ผ่านนโยบายที่เพ้อฝัน หรือนโยบายที่ส่งผลดีในระยะสั้น แต่ทำลายตัวเองในระยะยาว ซึ่งนโยบายเหล่านี้ ถูกเรียกว่า “นโยบายประชานิยม” ที่มุ่งเน้นการสร้างโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนนิยม มากกว่าการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้ประเทศชาตินั่นเอง

เวเนซูเอล่า คือตัวอย่างที่ชัดเจนถึงการเลือกนโยบาย “น้ำตาลเคลือบยาพิษ” จนประเทศล่มสลาย

พ.ศ. 2541 อูโก้ ชาเวซ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเวเนซูเอล่า จากการประกาศนโยบาย “ประชานิยมสุดหรู” ด้วยการยึดกิจการน้ำมันมาเป็นของรัฐ แล้วนำรายได้จากกิจการของรัฐ มาเป็นสวัสดิการสุดหรูให้ประชาชน

จากนโยบายประชานิยมสุดหรู ทำให้เขาครองอำนาจยาวนานจนวันตายใน พ.ศ. 2556 ส่งไม้ต่อให้นายนิโกลัส มาดูโรสืบทอดอำนาจต่อ แต่ทว่าให้ห้วงเวลาหลายสิบปีที่เขาครองอำนาจผ่านนโยบายประชานิยมสุดหรูที่เข้าเรียกมันว่า “สังคมนิยมแห่งศตวรรษที่ 21” [4] มีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างใหญ่โต โดยประชาชนผู้เสวยสุขกับประชานิยมนั้น ไม่สนใจ [3]

สุดท้าย แท่นขุดเจาะน้ำมันที่ถูกใช้งานมานาน และขาดการซ่อมบำรุงที่เพียงพอจากการทุจริตก็พังลง เวเนซูเอล่าสูญเสียเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวเดียวที่มี และล่มสลายลงใน พ.ศ. 2557 [3]

น่าสมเพชชาวเวเนซูเอล่า เหตุการณ์ล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศครั้งก่อนหน้า คือวิกฤตพลังงานปี 1970 ซึ่งห่างกันไม่ถึงชั่วอายุคน และสาเหตุของการล่มสลาย มีพื้นฐานมาจากการพึ่งพาการส่งออกน้ำมันเพียงอย่างเดียวเหมือนกัน [3]

แต่ชาวเวเนซูเอล่าไม่เคยจำ และยังคงเลือกนโยบาย “เพื่อปากท้อง” ระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุไม่คาดฝันในระยะยาว

นี่คือความสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจเพื่อปากท้อง และตัวอย่างการใช้ “นโยบายประชานิยม” ที่แอบอ้าง “ปากท้อง” มาบังหน้า จนนำพาประเทศไปสู่การล่มสลายในที่สุด

ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า