ArticlesSmart City เมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต ยุคไทยแลนด์ 4.0

Smart City เมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต ยุคไทยแลนด์ 4.0

ถ้าเราจินตนาการถึงเมืองในอนาคต ภาพที่เห็นอาจจะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความล้ำหน้าและสะดวกสบาย รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามและยั่งยืน ซึ่งสำหรับเรา ภาพที่เห็นนี้คงจะเป็นภาพของห้วงเวลาในอนาคตที่อาจจะยังไม่ถึงเอื้อม แต่ในความเป็นจริงแล้วในโลกปัจจุบัน เขตเมืองที่มีความเจริญถึงขั้นสูง (highly-developed urban area) นั้นก็มีประสิทธิภาพและศักยภาพพอที่จะสามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้และพัฒนาพื้นที่เมืองนั้นให้ก้าวเข้าสู่ “เมืองอัจฉริยะ” ได้แล้ว 

 

“เมืองอัจฉริยะ” (Smart City) หรือ บางครั้งเรียกว่า “เมืองดิจิทัล” (Digital City) นั้นเป็นเป้าหมายและกรอบการพัฒนาที่เป็นที่พูดถึงมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จากการที่รัฐบาลหลายประเทศมองเห็นถึงการนำเทคโนโลยีด้านข้อมูล (data) และการสื่อสาร ที่ปัจจุบันมีความล้ำหน้ามากขึ้นทุกวัน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาเมืองให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น 

 

โดยนิยามและการทำความเข้าใจกรอบการพัฒนา Smart City นั้นก็มีหลากหลาย แตกต่างออกไปตามแต่ละประเทศและแต่ละเมือง อย่างไรก็ตาม นิยามที่เป็นเกณฑ์ (criteria) การวัดระดับการพัฒนาของ Smart City ที่ครอบคลุมที่สุดอย่างหนึ่งอาจจะมาจากมหานครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดและพัฒนาที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศอเมริกาหรือของโลกเลยก็ว่าได้

 

โดยนิยาม 10 อย่างนั่นก็คือ 

  1. ใช้ข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อบริการต่าง ๆ ของเมืองสามารถทำประโยชน์ได้มากที่สุด 
  2. สร้าง Digital Platforms และใช้ Internet of Things เพื่อสร้าง รักษา และดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของเมือง
  3. ช่วยให้ข้าราชการหรือพนักงานรัฐทำงานได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพขึ้น
  4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในเมืองนั้น ๆ
  5. ใช้เครื่องมือ digital เพื่อดำเนินงานแก้ไขประเด็นด้านความเท่าเทียมในเมือง
  6. ช่วยในประเด็นด้านความยั่งยืนและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของเมือง
  7. ปกป้องความเป็นส่วนตัว, ความมั่นคง, และความโปร่งใสของพลเมือง
  8. ทำงานของเมืองอย่างทันท่วงที (real time)
  9. Focus ไปที่พลเมืองผู้อยู่อาศัย                                                              
  10. ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและองค์กรใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง

 

สำหรับประเทศไทยเองก็มีนิยามของตัวเองเช่นกันคือ “เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน” อีกทั้งยังมีการกำหนดองค์ประกอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน คือ 1. เศรษฐกิจ (Smart Economy) 2. ระบบขนส่งและการสื่อสาร (Smart Mobility) 3. พลังงาน (Smart Energy) 4. สิ่งแวดล้อม (Smart Environment) 5. ระบบบริหารภาครัฐ (Smart Governance) 6. พลเมือง (Smart People) และ 7. การดำรงชีวิต (Smart Living)

 

โดยรัฐบาลไทยชุดก่อนและชุดปัจจุบันก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างและพัฒนา Smart City จึงมีการก่อตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa (Digital Economy Promotion Agency) ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นมาเพื่อดูแลจัดการการพัฒนาทางดิจิทัลเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทุกด้าน รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และสำนักงานเมืองอัจฉริยะขึ้นดูแลด้านการส่งเสริมและพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะ

 

ตัวอย่างหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ก็คือโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์  ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยล่าสุด โครงการวังจันทร์วัลเลย์ก็เป็น 1 ใน 15 โครงการที่ผ่านการรับรองการเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไปที่เรียบร้อย

 

โครงการเมืองอัจฉริยะกำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยมากขึ้น ๆ ตามลำดับ การทำความเข้าใจถึงนิยาม เป้าหมาย และขอบเขตของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงอาจทำให้เรารับรู้และติดตามการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า