Newsรัสเซียรุกคุย ก.อุตสาหกรรม หารือการปรับปรุงกฎระเบียบนำเข้าสินค้าควบคุม 144 รายการ โดยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบในเขตพื้นที่ EEC

รัสเซียรุกคุย ก.อุตสาหกรรม หารือการปรับปรุงกฎระเบียบนำเข้าสินค้าควบคุม 144 รายการ โดยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบในเขตพื้นที่ EEC

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้พบหารือกับนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ประเทศจีน เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา 

 

รัสเซียได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยในฐานะมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ยาวนาน โดยรัสเซียต้องการขยายความร่วมมือกับประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ทั้งพลังงาน การเงิน เทคโนโลยีดิจิทัล เคมีภัณฑ์ และการเกษตร 

 

สำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซีย เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างกันในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 

 

สร้างความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะผู้ประกอบการ Start Up และ SMEs อำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ของไทย กับเขตประกอบการ Far East ของรัสเซีย 

 

ส่งเสริมให้เกิดการประชุม สัมมนา ระหว่างภาคธุรกิจไทยกับรัสเซีย แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ และร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับสูงตามความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน (Working Group) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ MoU ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ล่าสุดคณะผู้แทนการค้าแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำราชอาณาจักรไทย (The Trade Representation of the Russian Federation in the Kingdom of Thailand) ได้เข้าหารือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อรับทราบข้อมูล มาตรฐาน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าที่ สมอ. ควบคุมเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย 

 

ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 144 รายการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชน โดยรัสเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 37 ของไทย และอันดับที่ 1 ในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน) มีการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มากเป็นอันดับ 1 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 30 – 40 

 

รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าเกษตรและอาหาร แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า รวมทั้งสินค้าสุขอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อ เช่น ถุงมือยางและถุงยางอนามัย เป็นต้น ในปี 2566 ประเทศไทยกับรัสเซียมีมูลค่าการค้ารวม 53,441.29 ล้านบาท  

 

โดยไทยส่งออกสินค้าไปรัสเซียมีมูลค่า 29,227.50 ล้านบาท และนำเข้าสินค้าจากรัสเซียมีมูลค่า 24,213.79 ล้านบาท มีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลอยู่ที่ 5,013.72 ล้านบาท

 

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะผู้แทนการค้าแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลทางเศรษฐกิจไทย-รัสเซีย และกิจกรรมความร่วมมือด้านมาตรฐานระหว่างประเทศ 

 

รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของรัสเซีย ส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างไทย – รัสเซีย ได้เข้าหารือกับ สมอ. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับมาตรฐาน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

 

โดยเฉพาะสินค้าที่ สมอ. ควบคุม อาทิ สินค้ากลุ่มเหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง เครื่องดับเพลิง ของเล่น และหมวกกันน็อก เป็นต้น โดยรัสเซียให้ความสนใจในการนำผลิตภัณฑ์เหล็กเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น  อุปกรณ์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ เป็นต้น 

 

การประชุมหารือในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง สมอ. กับคณะผู้แทนการค้าแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำราชอาณาจักรไทย ในการเผยแพร่ข้อมูลมาตรฐานของ สมอ. รวมถึงการส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับรัสเซีย เพื่อขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี 

 

โดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการนำเข้าให้แก่ประเทศไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า