วิทยุทรานซิสเตอร์สำคัญอย่างไรกับการรับมือภัยพิบัติ
รู้หรือไม่? วิทยุทรานซิสเตอร์สำคัญอย่างไรกับการรับมือภัยพิบัติ และทำไมจึงยังเป็นอุปกรณ์ที่ทั่วโลกยังใช้อยู่ทุกวันนี้
การสื่อสารเพื่อการเตือนภัยแก่ประชาชนในช่วงภัยพิบัติเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เลวร้ายถึงขีดสุดที่ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ประสบภัยล้มเหลวทั้งระบบ
“การสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุ (Radio Wave)” จึงเป็นทางเลือกที่ทุกประเทศเลือกใช้ เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปได้ไกลที่สุด โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างสายเคเบิล (Cable) หรือสายใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติก; Fiber Optic)
และมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นตั้งแต่เครื่องรับวิทยุแบบพกพา หรือเครื่องรับวิทยุในรถยนต์ ที่ทำให้ประชาชนสามารถรับฟังรายการโปรดของตนเองได้ทั้งในระบบคลื่นวิทยุแบบ F.M. (Frequency Modulation) และ A.M. (Amplitude Modulation)
แม้ในเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ พ.ศ. 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นก็เลือกใช้ระบบคลื่นวิทยุในการสื่อสารกับประชาชนของเขาเช่นกัน
สำหรับ “เครื่องรับวิทยุ” (Radio Receiver) นั้น หลายคนยังติดปากคำ “วิทยุทรานซิสเตอร์” เนื่องจากเครื่องรับวิทยุในยุคเริ่มแรกนั้น ใช้ “ทรานซิสเตอร์” เป็นองค์ประกอบสำคัญในวงจรแปลงสัญญาณวิทยุให้เป็นเสียง
แต่ด้วยการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตหันไปผลิตวิทยุที่ใช้ “วงจรรวม (Integrated Circuit; IC)” ที่มีราคาถูกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่ากันหมดแล้ว แต่คนไทยหลายคนยังคงติดปากเรียกว่า วิทยุทรานซิสเตอร์ อยู่นั่นเอง
การสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุ ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดูเก่า แต่ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ สำหรับในประเทศไทย ผู้ขับขี่ยานพาหนะก็ยังคงใช้กันเป็นปกติ หรือในเขตชนบทชาวบ้านก็ยังใช้ทั้งเวลาอยู่บ้าน หรือออกไปทำงานตามพื้นที่ห่างไกล
และสำหรับในงานบรรเทาสาธารณภัย การสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุยังคงเป็นกระดูกสันหลังในการสื่อสารระหว่างทีมปฏิบัติงานอยู่เสมอ
#TheStructureNews
#ภัยพิบัติ #RadioWave
#TGAT พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ของไทย ปมดราม่า ข้อสอบ TGAT เจ้าปัญหา “เมนูใดสร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด”
นายก ฯ ชื่นชม ธอส. ปรับปรุงเงื่อนไขการให้บริการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
เรือผู้อพยพลิเบียล่มดับสลดร่วม 100 รายกลางเมดิเตอร์เรเนียน สะท้อนปัญหารัฐบาลล้มเหลวหลังการแทรกแซงจากสหรัฐ
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม