Newsสนค. โชว์ 5 กลุ่มสินค้าชาวมุสลิมนิยมซื้อ ชี้ช่องทำการตลาด หลังพบมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

สนค. โชว์ 5 กลุ่มสินค้าชาวมุสลิมนิยมซื้อ ชี้ช่องทำการตลาด หลังพบมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ได้ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าอาหารฮาลาล พบว่า ปัจจุบันตลาดอาหารฮาลาล กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากประชากรในกลุ่มประเทศมุสลิมมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันไทยมีการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อจำหน่ายแก่มุสลิมในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ โดยไทยมีจุดแข็งด้านคุณภาพวัตถุดิบ อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารของไทยยังมีความเข้มแข็ง มีชื่อเสียงที่ดีในตลาดโลก ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ และรสชาติอาหารไทย

 

ข้อมูลสถิติประชากรโลกของ Pew Research Center พบว่า ปี 2565 มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 1.9 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 23.54 % ของประชากรโลก ประเทศที่มีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุดคือ อินโดนีเซีย 229 ล้านคน รองลงมา ได้แก่ ปากีสถาน 200 ล้านคน อินเดีย 195 ล้านคน บังกลาเทศ 154 ล้านคน และไนจีเรีย 99 ล้านคน สำหรับไทย ปี 2561 ข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีจำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลาม 3,639,232 คน คิดเป็น 5.4% ของประชากรทั้งประเทศ เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 รองจากศาสนาพุทธ แสดงให้เห็นว่าตลาดผู้บริโภคชาวมุสลิมถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ

 

อีกทั้งผู้บริโภคชาวมุสลิมมีแนวโน้มการใช้จ่ายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม่ได้มีการระบุพิกัดศุลกากรของสินค้าอาหารฮาลาลโดยเฉพาะ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้ สนค.ใช้ข้อมูลการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารที่ส่งออกไปยังกลุ่มประเทศองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) จำนวน 57 ประเทศ พบว่า ปี 2564 ไทยมีมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาล รวม 4,188.37 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน 12.13% ของมูลค่าการส่งออกอาหารทั้งหมดของไทย ขยายตัวจากปีที่ผ่านมา 4.12% ส่วนปี 2565 ช่วง 9 เดือนแรก มีมูลค่าการส่งออก 4,681.23 ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 64.65% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

 

สำหรับประเภทสินค้าอาหารฮาลาลที่ไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ OIC ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของปี 2564 ได้แก่ 1.ธัญพืช มูลค่าการส่งออก 1,063.40 ล้านเหรียญสหรัฐ 2.ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำฯ 619.36 ล้านเหรียญสหรัฐ 3.น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล 522.53 ล้านเหรียญสหรัฐ 4.ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช หรือนม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกพาย 330.17 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 5.ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ 260.05 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

ส่วนตลาดส่งออกอาหารฮาลาลของไทย (เฉพาะกลุ่มประเทศ OIC) ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของปี 2564 ได้แก่ 1.มาเลเซีย มูลค่าส่งออก 1,193.57 ล้านเหรียญสหรัฐ 2.อินโดนีเซีย 885.77 ล้านเหรียญสหรัฐ 3.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 228.64 ล้านเหรียญสหรัฐ 4.อียิปต์ 225.18 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 5.เยเมน 165.00 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

นอกจากการส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยังตลาดต่างประเทศแล้ว ตลาดอาหารฮาลาลในประเทศก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศชาวมุสลิม ดัชนีการท่องเที่ยวมุสลิมทั่วโลก (Global Muslim Travel Index : GMTI) ปี 2022 จัดทำโดย Mastercard-Crescent Rating รายงานว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับชาวมุสลิม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม (Non-OIC) รองจากสิงคโปร์ และไต้หวัน ซึ่งอันดับสูงขึ้นจากปี 2021 ที่อยู่ในอันดับที่ 4

 

นอกจากนี้ สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติชาวมุสลิมจากกลุ่มประเทศ OIC ที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากที่สุดคือ ชาวมาเลเซีย ปี 2562 (ก่อนการแพร่ของโควิด-19) มีถึง 4,272,584 คน คิดเป็น 10.7% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด และปี 2565 ช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) มีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 1,291,381 คน สัดส่วน 18% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย ตามลำดับ

 

แม้ว่าในปัจจุบันระบบฮาลาลของไทยจะเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศของกลุ่มประเทศมุสลิม แต่ไทยยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องศึกษาข้อมูลและกฎระเบียบต่างๆ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ศึกษาความแตกต่างด้านมาตรฐานฮาลาลของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เครื่องหมายฮาลาลของไทยได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น ทั้งผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศชาวมุสลิม 

 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาสินค้าอาหารฮาลาล รวมทั้งสินค้าและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมไปพร้อมๆ กัน อาทิ ร้านอาหาร โรงแรม และสปา หากไทยสามารถผลักดันการส่งออกอาหารฮาลาลได้เพิ่มขึ้น ขยายตลาดส่งออกเดิมและเพิ่มโอกาสในตลาดใหม่ๆ ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมอาหารของไทย รวมทั้งกระจายรายได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตรซึ่งเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารอีกด้วย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า