Articles“ปลดล็อคผลิตสุรา” เปรียบเทียบกฎกระทรวงเดิม กับ ร่างแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา ต่างกันอย่างไร

“ปลดล็อคผลิตสุรา” เปรียบเทียบกฎกระทรวงเดิม กับ ร่างแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา ต่างกันอย่างไร

ปลดล็อกผลิตสุรา : เปรียบเทียบกฎกระทรวงเดิม กับ ร่างแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา ที่ได้รับการอนุมัติตามมติของครม.

 

นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต ชี้แจงรายละเอียดสรุปการแก้ไขกฎกระทรวงฉบับใหม่ว่า ใบอนุญาตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ใบอนุญาตการผลิตสุราแช่และสุรากลั่นชุมชน

 

กรณีการค้า ในส่วน ‘สุราแช่’ เดิมคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตเบียร์ ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือกำลังการผลิต 100,000-1,000,000 ลิตรต่อปี ซึ่งในกฎกระทรวงใหม่ยกเลิกทั้งหมด หมายความว่า ‘เบียร์โรงเล็ก’ ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท  และไม่จำเป็นต้องมี ‘กำลังการผลิตขั้นต่ำ’ ขณะเดียวกัน ทั้งตัวสินค้าและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และระเบียบของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

“อันนี้จะเป็นการปลดล็อกให้กรณีที่เป็นการค้า คือ ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และโรงใหญ่ก็จะได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกัน  คือปลดล็อกทุนจดทะเบียนและกำลังการผลิต” โฆษกกรมสรรพสามิต กล่าว

 

กรณีที่ไม่ใช่การค้า นายณัฐกร กล่าวว่า วันนี้เราอนุญาตให้กรณีที่ไม่ใช่การค้าสามารถผลิตได้ ทำเอง ทานเอง บริโภคเองภายในครัวเรือนอันนี้สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

 

  1. ต้องขออนุญาตกับกรมสรรพสามิต

 

  1. กำลังการผลิตในครัวเรือนจะต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี

 

  1. ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะไม่น้อยกว่าอายุ 20 ปีบริบูรณ์

 

  1. สุรา เบียร์ สุราแช่อื่นๆ เมื่อผลิตแล้วจะต้องนำมาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

 

ส่วน ‘สุรากลั่นชุมชน’ โรงเล็ก เดิมต้องมีกำลังการผลิตไม่เกิน 5 แรงม้า กำลังคนไม่เกิน 7 คน วันนี้ขยายให้ ‘โรงขนาดกลาง’ มีกำลังการผลิตไม่เกิน 50 แรงม้า กำลังคนไม่เกิน 50 คน ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวช่วยให้การผลิตสุราชุมชน สามารถขยายตัวได้ เนื่องจากกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการผลิตก็จะถูกลง พอมี Economies of Scale ถูกลงแล้ว และในที่สุดจะส่งผลให้คุณภาพสุราดีขึ้น เราก็จะสามารถเปิดเป็น S, M, L จากเดิมที่มีแค่ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไปเลย ตอนนี้ขนาดกลางจะสามารถทำได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจหลักในการปรับแก้กฎกระทรวงนี้

 

ขณะที่ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ทำหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า เดิมมีกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 แต่มีประชาชนบางส่วนเห็นว่า กฎหมายที่มีอยู่มีความตึงเกินไป อยากให้มีความผ่อนคลายมากขึ้น เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับใหม่นี้  จะทำให้หลายส่วนมีความสบายใจ ไม่ถึงกับ ‘สุดโต่ง’ จนเกินไป และจะมีการดูแลที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1. ดูแลสุขภาพ  2. ดูแลปัญหาป้องกันอุบัติเหตุ 3. การป้องกันสิ่งแวดล้อม และย้ำ ไม่ได้เอื้อต่อนายทุนอย่างแน่นอน เพราะการปรับร่างกฎกระทรวงในครั้งนี้มีในหลายๆ ส่วนที่ได้พิจารณาถึงความรอบคอบ ผลิตสุราได้ง่ายขึ้นแต่ก็ยังมีมาตรฐานความปลอดภัยด้วย

 

#TheStructureNews

#สุราพื้นบ้าน #สุราก้าวหน้า

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า