“ในชีวิตนี้จะมีแต่คำว่าสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวไม่ได้ กรุณาหากรอบความคิดที่ครบถ้วนกระบวนความ เเละรอบด้านกว่านี้ ที่เหมาะสมเสียกว่า เเล้วร่วมกันถ่ายทอดสิ่งนั้นถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน การรู้ดีเเละเฮ้าเลี่ยนด้าน “เสรีภาพ” เพียงอย่างเดียว มันไปไม่รอด ทั้งในตัวบุคคลเเละสังคม “ – ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือปลื้ม พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ โพสต์เฟสบุ๊ค, 20 มิ.ย. 66
20 มิ.ย. 66 ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือปลื้ม พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ โพสต์เฟสบุ๊ค เกี่ยวกับความสำคัญ และหลักการของการสอนวิชาจริยธรรม ซึ่งมิได้ส่งข้อความไปถึงเพียงเยาวชนคนรุ่นใหม่ แต่รวมถึงผู้ใหญ่บางคนที่ฉวยโอกาสเเสวงหาอำนาจเเละความนิยมให้กับตนเองอีกด้วย โดยโพสต์ว่า
“ไม่ต้องการเรียนวิชาศีลธรรมหรือจริยธรรมเพราะผู้ใหญ่เรียนกันมาก็ยังทุจริตคอร์รัปชั่น? เป็นบทสรุปที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ การศึกษาทุกยุคทุกสมัย ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างให้ความสำคัญในการสอนวิชาในกลุ่ม “จริยศาสตร์” (Ethics) กันทั้งนั้น
เด็กซึ่่งเรียนในระบบการศึกษาไทยนั้นโชคดีที่ได้มีหลักสูตรด้านนี้ตั้งเเต่ช่วงมัธยมทั้งที่ในหลายประเทศกว่าจะได้มีโอกาสเลือกวิชาประเภทนี้คือช่วงเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเเล้วบังเอิญอาจได้เลือกเรียนวิชาทางด้านปรัชญาหรือศาสนา เอาจริงๆเเล้วมันคือหนึ่งในเเขนงวิชาที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กที่ต้องเติบโตขึ้นมาใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมมีเเต่ผู้ใหญ่ที่พร้อมใช้โอกาสเเสวงหาอำนาจเเละความนิยมให้กับตนเอง
จริยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด สิ่งที่ควรเว้นสิ่งที่ควรทำ
เอาง่ายๆมันคือวิทยาศาสตร์เเห่งความผิดชอบชั่วดี ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ขาดอย่างมากในหมู่นักเคลื่อนไหวซึ่งไม่เคารพกติกาเเละไร้มรรยาทอยู่ ณ เวลานี้ มันคือศาสตร์ที่ว่าด้วยศีลธรรมหลักศีลธรรมเเละกฎที่ว่าด้วยความประพฤติและพฤติกรรม
นอกเหนือไปจากนั้น ถึงเเม้ว่าผู้ใหญ่ทางการเมืองเเละเอ็นจีโอหลายท่านไม่ได้มีโอกาสสอนเด็กๆเรื่องนี้ เยาวชนควรมองให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมในการจะช่วยจรรโลงโลก จรรโลงศีลธรรม จริยธรรม ด้วยหัวใจสำคัญที่เราเรียกกันว่า “รสนิยม” รสนิยมสะสมคือผลพวงจากการปลูกฝังทางด้าน ศิลปวัฒนธรรม (ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายในทุกแขนง) รสนิยมสะสมนี้จะช่วยชี้ทางผิดชอบชั่วดี
และที่สำคัญที่สุดก็คือ รสนิยมสะสมนี้ จะช่วยบอกเราเรื่อง “กาลเทศะ” และ “อะไรควร อะไรไม่ควร” และ “ความพอเหมาะพอดี” สิ่งเหล่านี้เป็น อัตวิสัย (Subjectivity) ที่จะใช้กำกับกรอบแห่งความพอเหมาะพอดี ที่เราจะต้องมีสำนึกขึ้นมาเพื่อควบคุมตนเองให้อยู่ในความพอเหมาะได้
ในชีวิตนี้จะมีแต่คำว่าสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวไม่ได้ กรุณาหากรอบความคิดที่ครบถ้วนกระบวนความเเละรอบด้านกว่านี้ ที่เหมาะสมเสียกว่า เเล้วร่วมกันถ่ายทอดสิ่งนั้นถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน การรู้ดีเเละเฮ้าเลี่ยนด้าน “เสรีภาพ” เพียงอย่างเดียวมันไปไม่รอด ทั้งในตัวบุคคลเเละสังคม
นี่ผมไม่ได้เทศนาเด็กวัย 15 ปีอยู่เเต่กำลังสื่อสารถึงบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อนเเต่ในวันนี้กลับคิดไม่เป็นเพราะไม่กล้าเสียสิ่งที่เรียกว่า ‘Personal Popularity’ เเละ ‘Political Convenience’”