ก๊าซ Hydrogen พลังงานแห่งอนาคตของคนไทย
น้ำมันคือพลังงานเชื้อเพลิงหลักของโลกในยุคปัจจุบัน แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการ รวมทั้งผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประเด็นด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมก็คงรู้กันดีว่า น้ำมันคือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และท้ายที่สุดในอนาคต ไม่ว่าใกล้หรือไกล น้ำมันก็จะหมดสิ้นไปจากโลกอย่างแน่นอน
การค้นหา “พลังงานทดแทน” จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มที่จะให้ความสนใจอย่างจริงจังมากขึ้น แต่แม้จะมีพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานน้ำ, พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยความที่น้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกและมีความต้องการบริโภคอย่างมาก การหาพลังงานที่สามารถทดแทนได้ในระดับเดียวกันกับน้ำมันจึงเป็นเรื่องยาก
อย่างไรก็ตาม พลังงานทางเลือกหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงกันมากขึ้น ๆ ในปัจจุบัน นั่นก็คือพลังงานจาก “ไฮโดรเจน” (Hydrogen) นั่นเอง
สาเหตุหนึ่งที่ไฮโดรเจนนั้นเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ ก็เพราะไฮโดรเจนนั้นสามารถผลิตออกมาจากวัตถุตั้งต้นและแหล่งที่มาที่หลากหลาย ไม่ใช่เท่านั้น เมื่อไฮโดรเจนเผาไหม้ก็ไม่ก่อให้เกิดก๊าซที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง แต่การเผาไหม้ไฮโดรเจนจะเกิดเพียงน้ำและออกซิเจนเป็นผลผลิตออกมาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไฮโดรเจนจะสามารถผลิตจากวัตถุตั้งต้นแหล่งที่หลากหลาย บางครั้งการผลิตไฮโดรเจนก็อาจมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย ตรงนี้เองจึงมีความจำเป็นในการจำแนกประเภทของไฮโดรเจนลงไปต่อไป เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานทดแทนที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
โดยไฮโดรเจนนั้นถูกจำแนกประเภทออกเป็น “สี” ต่าง ๆ ตามแหล่งที่มาการผลิต ตั้งแต่ “ไฮโดรเจนสีเทา” (Grey Hydrogen) ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ไปจนถึง “ไฮโดรเจนสีฟ้า” (Blue Hydrogen) ที่มาจากการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (carbon capture and storage) และ “ไฮโดรเจนสีเขียว” (Green Hydrogen) ที่มาจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นตัวเลือกที่สะอาดที่สุด
ประเทศไทยก็ได้เริ่มการขับเคลื่อนการพัฒนาและลงทุนโครงการไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านความร่วมมือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.), และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับบริษัท แอควา พาวเวอร์ จำกัด (ACWA Power) สัญชาติซาอุฯ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะเห็นประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่การใช้พลังงานสะอาด ทดแทนและลดการพึ่งพาน้ำมันในอนาคต
อุปสรรคจากการย้ายประเทศ และโอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับ จากการที่คนรุ่นใหม่ สนใจออกไปหาประสบการณ์ในต่างแดน ศิราวุธ ภุมมะกสิกร คอลัมนิสต์ The Structure
Here We Go (93) ดึงสถาบันลงมาสู่การเมือง รู้เท่าทันทั้งกลุ่ม ‘ใส่ร้าย’ และ ‘แอบอ้าง’ ความจงรักภักดี ที่กำลังดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาสนองประโยชน์ฝ่ายตน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม