Newsหนึ่งในวิธีการกำกับดูแลและบริหารจัดการน้ำมันของไทยก็คือการตั้ง “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง”

หนึ่งในวิธีการกำกับดูแลและบริหารจัดการน้ำมันของไทยก็คือการตั้ง “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง”

 

แม้ในปัจจุบันจะมีความพยายามในการหันออกจากการพึ่งพาน้ำมัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าน้ำมันคือฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตลอดสมัยปัจจุบันที่ผ่านมา ด้วยสถานะนี้ น้ำมันจึงเป็นทรัพยากรและเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต้องถูกภาครัฐเข้ามาควบคุมกำกับดูแล โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤตการณ์หรือสถานการณ์ใด ๆ ที่ทำให้ราคาน้ำมันผันผวนในตลาดโลก

.

ซึ่งหนึ่งในวิธีการกำกับดูแลและบริหารจัดการน้ำมันของไทยก็คือการตั้ง “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ขึ้นมา ซึ่งถูกตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) กระทรวงพลังงาน

.

หลักการการดำเนินการของกองทุนน้ำมันฯ นั้น อาจกล่าวได้ว่า เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนและปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกในสถานีเติมน้ำมันจะเพิ่มขึ้นไปด้วยหากไม่มีการควบคุมดูแล รัฐบาลจึงจะสั่งการให้นำเงินของกองทุนน้ำมันมาชดเชยและอุดหนุนราคาน้ำมันบางส่วน เพื่อตรึงราคาไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นมากจนอาจจะกระทบกับค่าครองชีพของประชาชน

.

โดยรายรับหลักของกองทุนน้ำมันฯ จะมาจาก 3 แหล่งที่มีคือ

1.) ภาษีสรรพสามิต จากผู้ผลิตน้ำมัน

2.) ภาษีศุลกากร จากผู้นำเข้าน้ำมัน

3.) จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งนำมาจากผู้ค้าน้ำมันและผู้รับสัมปทานที่ทำธุรกิจก๊าซ

.

ซึ่งบางครั้งเงินอุดหนุนราคาน้ำมันของกองทุนน้ำมันฯ ก็อาจจะร่อยหรอลงไปจนถึงขั้นติดลบ ในกรณีเช่นนี้รัฐบาลก็จะต้องหาเม็ดเงินเข้ามาอัดฉีดไปยังกองทุนน้ำมันฯ รวมทั้งหาวิธีการอื่น ๆ พร้อมกันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตัดภาษีอื่น ๆ ในโครงสร้างราคาน้ำมัน หรือกระทั่งการกู้เงินเพิ่มให้กับกองทุนฯ 

.

ซึ่งจากข้อมูลในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กองทุนน้ำมันฯ นั้นก็มีสถานะที่ติดลบอยู่ตลอด

– 26 ธ.ค. 64 ติดลบ 4,480 ล้านบาท

– 30 ม.ค. 65 ติดลบ 14,080 ล้านบาท

– 27 ก.พ. 65 ติดลบ 21,838 ล้านบาท

– 20 มีนาค. 65 ติดลบ 32,831 ล้านบาท

.

สภาพการณ์เช่นนี้อาจทำให้มีความกังวลว่ากองทุนน้ำมันฯ จะต้องรักษาสภาพคล่องและสถานะการเงินของกองทุนฯ ไว้ด้วยการกู้เงินเพิ่มไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะเป็นภาระให้กับภาครัฐ แต่ขณะเดียวกัน ผลกระทบทางลบต่อสังคมและประชาชน หากไม่มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ก็อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้กองทุนฯ มีความจำเป็นอยู่

.

เพราะหากไม่มีกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งไม่เพียงแต่จะอุดหนุนน้ำมัน แต่ยังคงอุดหนุนแก๊ส เช่น LPG ก็จะส่งผลกับประชาชน ครัวเรือน ไปจนถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผู้ใช้รถส่วนตัว รถบรรทุกสินค้า เครื่องจักรโรงงานต่าง ๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนการขนส่งและเดินทางเพิ่มขึ้น สุดท้ายคือ ผลลัพธ์ที่เป็นค่าครองชีพของคนไทยที่จะสูงขึ้นไปด้วย

อ้างอิง :

[1] https://www.longtunman.com/37082 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า