Articlesอะไรคือปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจระดับโลก

อะไรคือปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจระดับโลก

การวางแผนยุทธศาสตร์ ถูกหยิบยกขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1960 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบ และความสำคัญของมันในการบริหารองค์กร ในฐานะเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กร และเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารองค์กร เกี่ยวกับแนวทางในการทำงานของทุกหน่วยงานในองค์กร

รัฐบาล ในฐานะฝ่ายบริหารของรัฐ เองก็เช่นกัน ที่นำเอาแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์เข้ามาใช้งาน โดยพ.ศ. 2523 รัฐบาลโรนัล เรแกน ยอมรับแผนยุทธศาสตร์ “โซเครติสโปรเจค” ของสำนักข่าวกรองกลาโหม (Defense Intelligence Agency: DIA) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอเมริกา [2]

พ.ศ. 2545 เพื่อตอบสนองต่อแนวคิดในการทำสงครามแบบ “ชิงลงมือก่อน” ของรัฐบาลจอร์จ บุช จึงมีการเขียนและเผยแพร่ “แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ 2002” ขึ้นเป็นครั้งแรก [3] และในสมัยที่ 2 ของเขา มีการปรับแผนและประกาศแผนใหม่ในปี 2549 [4]

หลังจากนั้น แม้จะเปลี่ยนประธานาธิบดีอเมริกา แต่การปรับปรุงและประกาศแผนยุทธศาสตร์นี้ยังมีมาตลอดจวบจนล่าสุดคือ ปี 2021 โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน นั่นเอง โดยสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์นี้นั้น เน้นย้ำถึงการเติบโตของคู่แข่งอย่างจีนและรัสเซีย และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากภาวะโลกรวน และการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 [8]

สำหรับจีน ในฐานะอีกชาติมหาอำนาจนั้น มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติมาตลอดด้วยเช่นกัน โดยจีนนั้น เคยใช้ประกาศแผนมหายุทธศาสตร์ (Grand Strategy) มาแล้ว 4 ครั้งคือ แผนที่ 1 ปฎิวัติ (พ.ศ. 2492 – 2520), แผนที่ 2 ฟื้นฟู (2521 – 32), แผนที่ 3 สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (2533 – 2546) และแผนที่ 4 ชุบตัว (2547 – ปัจจุบัน) [9]

ออสเตรเลีย เป็นอีกชาติที่เจริญแล้วใกล้ประเทศไทย และออสเตรเลียจะมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติในทุก ๆ 10 ปี โดยฉบับล่าสุด พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ออสเตรเลียตั้งเป้าจะพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ภายใต้ชื่อ “ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิตอล 2030” [10]

สำหรับประเทศไทยนั้น มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแผ่งชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 [11] และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา มีการออกพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ขึ้นเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวไม่น้อยกว่า 20 ปี ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน และมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา ตามการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลที่มักจะอายุน้อย และไม่ต่อเนื่องนั่นเอง

การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ มีความมุ่งหมายที่จะสื่อสารถึงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหาร กำหนดกรอบ และทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ทุกส่วนราชการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ในทิศทางเดียวกัน

การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้ทิศทางการพัฒนาประเทศนั้น เป็นไปในทิศทางที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และมั่นคง ซึ่งได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลแล้ว จากชาติมหาอำนาจ และชาติเจริญแล้วทั้งปวง

ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า