Articlesประวัติศาสตร์บอกเล่า อ่านวิกฤตยูเครนผ่านวิกฤตคิวบา ความขัดแย้งที่เข้าใกล้มหาสงคราม “นิวเคลียร์” โลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์บอกเล่า อ่านวิกฤตยูเครนผ่านวิกฤตคิวบา ความขัดแย้งที่เข้าใกล้มหาสงคราม “นิวเคลียร์” โลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์

จากบทความ What Cuban missile crisis teaches us about Ukraine โดย ศาสตราจารย์ ลอวเรนซ์ วิทท์เนอร์ (Lawrence Wittner)

ผู้เขียนบทความ เป็นนักวิชาการและอาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก วิทยาเขตอัลบานี (State University of New York, Albany)

ต้นฉบับเผยแพร่วันที่ 28 ก.พ. 2565

บางครั้งนักวิเคราะห์กรณีวิกฤตยูเครนหลายคนได้มีการเปรียบเทียบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับวิกฤตขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missile Crisis) ซึ่งนั่นก็เป็นการเปรียบเทียบที่ดี – ไม่เฉพาะการที่สถานการณ์ทั้งสองนั้นเกี่ยวข้องกับการเผชิญหน้ากันอย่างน่าอันตรายระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์

สถานการณ์ในช่วงวิกฤตคิวบาในปี 1962 นั้นมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ปัจจุบันในยุโรปตะวันออกเป็นอย่างมาก แต่บทบาทของมหาอำนาจทั้งสองนั้นกลับกัน

ในปี 1962 สหภาพโซเวียตได้เข้ามาล่วงล้ำเขตอิทธิพลที่สหรัฐนิยามให้กับตัวเอง [1] ด้วยการเข้าติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ระยะกลาง ณ ประเทศคิวบา เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันการบุกรุกของสหรัฐ – ซึ่งเป็นการบุกรุกที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากสหรัฐมีประวัติอย่างยาวนานในการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศคิวบา รวมทั้งเหตุการณ์การบุกรุกหาดหมู (Bay of Pigs Invasion) ที่สหรัฐสนับสนุนในปี 1961

ซึ่งรัฐบาลโซเวียตนั้นเห็นด้วยกับการร้องขอ [จากคิวบา] เพราะพวกเขาต้องการจะยืนยันในการปกป้องคิวบาซึ่งเป็นพันธมิตรใหม่ และพวกเขายังมองว่าการติดตั้งขีปนาวุธนี้จะเป็นการสร้างสมดุลทางนิวเคลียร์ จากการที่รัฐบาลสหรัฐนั้นได้มีการติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ในประเทศตุรกี ซึ่งอยู่ติดชายแดนรัสเซีย

ในมุมมองของรัฐบาลสหรัฐ การที่รัฐบาลคิวบามีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นทางความมั่นคงด้วยตนเองได้ และการที่รัฐบาลโซเวียตนั้นลอกนโยบายของสหรัฐในตุรกี (คือตั้งฐานขีปนาวุธ) นั้นไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญเทียบเท่ากับการที่สหรัฐมีความตั้งใจที่จะไม่ให้มีความสั่นคลอดใด ๆ ในเขตอิทธิพลเดิมของสหรัฐในแถบแคริเบียนและละตินอเมริกา

เช่นนั้นเอง ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ก็ได้บัญชาการให้มีการปิดล้อมทางทะเล (naval blockade) – ซึ่งเขาใช้คำว่า “การกักประเทศ” (quarantine) – ล้อมประเทศคิวบา [2] และกล่าวว่าเขาจะไม่ยอมให้มีขีปนาวุธใด ๆ ตั้งอยู่ในเกาะนั้น และในนำขีปนาวุธออกไป เขาก็ประกาศว่า เขาจะไม่ “หดตัว” จาก “สงครามนิวเคลียร์ทั่วโลก”

ท้ายที่สุด วิกฤตการณ์ครั้งนี้ก็จบลง เคนเนดีและนายรัฐมนตรีโซเวียต นีกีตา ครุชชอฟ (Nikita Khrushchev) ตกลงว่าสหภาพโซเวียตจะถอนขีปนาวุธออกจาคิวบา ขณะที่เคนเนดีให้การยืนยันว่าจะไม่บุกรุกคิวบา และจะถอนขีปนาวุธออกจากตุรกี

กระนั้นก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่สาธารณะชนทั่วโลกกลับมีความเข้าใจหลังจากนั้นอย่างผิด ๆ ว่าการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐและโซเวียตนั้นจบลงด้วยดีได้อย่างไร นั่นเพราะการถอดขีปนาวุธของสหรัฐออกจากตุรกีนั้นถูกเก็บไปเป็นความลับ ดังนั้น ภาพจึงปรากฏออกมาว่าเคนเนดี – ซึ่งเป็นผู้แสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อสาธารณะ – เป็นผู้ทำให้เกิดชัยชนะในสงครามเย็นต่อครุชชอฟ

ความเข้าใจผิดนี้นั้นปรากฏชัดเจนในความเห็นของรัฐมนตรีต่างประเทศ ดีน รัสก์ (Dean Rusk) ที่กล่าวว่าเขาทั้งสองยืนอยู่ “ตาต่อตา” และครุชชอฟนั้น “กะพริบตา”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจริง – ที่เราทราบกันในปัจจุบัน จากการเปิดเผยภายหลังของรัสก์และรัฐมนตรีกลาโหม โรเบิร์ต แมคนามารา – ว่าเคนเนดีและครุชชอฟนั้นทราบดี – แม้ว่าทั้งสองจะไม่ชอบใจก็ตาม – ว่าประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของพวกเขาทั้งสองนั้น ได้มาถึงทางตันอันน่าอันตรายที่สุด และพวกเขากำลังไหลเข้าไปสู่สงครามนิวเคลียร์ ผลลัพธ์ก็คือ พวกเขาได้ต่อรองกันในระดับลับสุดยอด เพื่อลดความตึงเครียด (de-escalate) สถานการณ์

แทนที่จะติดตั้งขีปนาวุธ ณ ชายแดนของประเทศของพวกเขาทั้งคู่ พวกเขากลับกำจัดมันไปซะ แทนที่จะต่อสู้กับสถานะของคิวบา รัฐบาลสหรัฐก็ยอมแพ้ต่อความคิดที่จะบุกรุก

ในปีต่อมา ซึ่งเป็นการสานต่ออย่างเหมาะสมที่สุด เคนเนดีและครุชชอฟก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์บางส่วน (Partial Test Ban Treaty) ซึ่งถือเป็นข้อตกลงด้านการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ฉบับแรกของโลก

แน่นอนว่าการลดความตึงเครียด (de-escalation) นั้นสามารถที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ความขัดแย้งปัจจุบันในยูเครนและยุโรปตะวันออก ตัวอย่างเช่น การที่หลายประเทศในภูมิภาคนั้นได้เข้าร่วมกับนาโต (NATO) – หรือกำลังยื่นหนังสือเข้าร่วม จากความกลัวว่ารัสเซียจะกลับมาแผ่อิทธิพลเหนือประเทศของพวกเขา – รัฐบาลรัสเซียก็อาจเสนอการการันตีทางความมั่นคงที่เหมาะสมให้กับประเทศเหล่านั้น เช่น การกลับเข้าร่วมสนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรป (Conventional Armed Forces in Europe Treaty) ซึ่งรัสเซียได้ถอดตัวออกไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว

หรือประเทศที่ขัดแย้งกันเหล่านั้น ก็อาจกลับมาพิจารณาข้อเสนอ ความมั่นคงร่วมยุโรป (European Common Security) ซึ่งถูกยกขึ้นมาในช่วงปี 1980s โดยมีฮาอิล กอร์บาชอฟ(Mikhail Gorbachev)

อย่างน้อยที่สุด รัสเซียควรที่จะถอดกำลังขนาดใหญ่ของพวกเขา – ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดความหวาดกลัวหรือเพื่อการบุกรุก – ออกไปจากชายแดนยูเครน

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐก็ควรจะปรับใช้มาตรการลดความตึงเครียดจากฝ่ายตนเองด้วย พวกเขาอาจจะสนับสนุนให้รัฐบาลยูเครนยอมรับแบบแผนการปกครองท้องถิ่นเดียวกับฝั่งตะวันออกของ[ประเทศเบลารุส]

พวกเขาควรจะริเริ่มให้มีการประชุมระยะยาวทางความมั่นคงระหว่างตะวันออก-ตะวันตก ที่มีเป้าหมายคือการบรรลุข้อตกลงเพื่อลดความตึงเครียดทั่วไปในยุโรปตะวันออก

มาตรการต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกันนี้มีอยู่จำนวนมาก เช่น การแทนที่ยุทโธปกรณ์เชิงรุกในประเทศพันธมิตรนาโตในยุโรปตะวันออกด้วยยุทโธปกรณ์เชิงป้องกัน หรือไม่เช่นนั้น มันก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ในการเผยจุดยืนอย่างแรงกล้าในการเปิดรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต เพราะมันก็ไม่มีแผนการใด ๆ ในการพิจารณาสมาชิกภาพของประเทศนั้นในอนาคต

การยืนมือเข้าช่วยจากภายนอก – โดยเฉพาะจากสหประชาชาติ – นั้นก็อาจจะมีประโยชน์มาก เพราะท้ายสุด มันอาจจะมีความประหม่าจากรัฐบาลสหรัฐในการยอมรับข้อตกลงของรัฐบาลรัสเซียหรือกลับกัน มากกว่าการที่ทั้งคู่จะยอมรับข้อเสนอจากภายนอก – และทางที่ดีคือฝ่ายที่เป็นกลาง

มากไปกว่านั้น การแทนที่กองกำลังสหรัฐและนาโต ด้วยกองกำลังของยูเอ็น ในประเทศยุโรปตะวันตกนั้น ก็อาจจะเป็นไปได้สูงที่จะไม่ทำให้เกิดความหวาดระแวงและความต้องการในการเข้าแทรกแซงของรัสเซีย

จากการที่วิกฤตขีปนาวุธคิวบานั้นทำให้เคนเนดีและครุชชอฟเห็นในที่สุด ว่าในยุคนิวเคลียร์ มันไม่มีประโยชน์ใด ๆ ที่จะได้ – และกลับมีแต่สิ่งที่จะเสียอย่างมหาศาล – เมื่อมหาอำนาจยังคงต้องการที่จะทำตามแบบแผนเดิมเมื่อร้อย ๆ ปีที่ผ่านมา ด้วยการขีดเส้นสร้างเขตอิทธิพลของตัวเองขึ้นมา และแข่งขันกันเผชิญหน้าทางการทหารอย่างมีเดิมพันสูง

แน่นอนว่าเรานั้นสามารถที่จะเรียนรู้จากวิกฤตคิวบา – และจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากมัน หากเรายังคงอยากที่จะอยู่รอดกันต่อไป

อรรถาธิบาย :

[1] สหรัฐถือว่าซีกโลกตะวันตก (Western Hemisphere) คือทวีปอเมริกาเหนือและใต้ เป็นเขตอิทธิพลของสหรัฐที่จะไม่ยอมให้ใครเข้ามาบุกรุกและแผ่อิทธิพลทับ ตามหลักการมอนโรว์ (Monroe Doctrine)

[2] ในทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น “การปิดล้อมทางทะเล” คือปฏิบัติการในขณะที่มีสงคราม รัฐบาลสหรัฐจึงเลี่ยงไม่ใช่คำ ๆ นี้ เพราะไม่ต้องการแสดงออกว่าตนเองกำลังเข้าสู่สภาวะสงครามกับประเทศคิวบา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า