Articlesวิกฤติผักผลไม้ปนเปื้อนสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง

วิกฤติผักผลไม้ปนเปื้อนสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง

ด้วยเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางและพัฒนาการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งการเกษตรก็เป็นหนึ่งในนั้น

 

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการเกษตรที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย นั่นคือการใช้สารเคมี ทั้งในรูปของปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้น แม้จะช่วยเร่งผลผลิตทางเกษตรให้มากขึ้นได้ และเป็นผลดีต่อผู้ผลิต แต่สำหรับผู้บริโภคนั้นกลับมีผลเสียจากการปนเปื้อนสารเคมีในสินค้าเกษตรต่าง ๆ

 

จากรายงานของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ (Thai-PAN) เมื่อปี 2563 ที่มีการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เกษตรในท้องตลาดมาวิเคราะห์ตรวจสอบสารปนเปื้อน มีผลลัพธ์ว่า 

 

“มะเขือเทศผลเล็ก พริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า พบตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมดทุกตัวอย่าง (100%) จากที่เก็บมาชนิดละ 16 ตัวอย่าง ผักผลไม้ที่พบการตกค้างรองลงมาได้แก่ กะเพรา (81%) มะระ (62%) ผักบุ้ง (62%) หัวไชเท้า (56%) บร็อกโคลี (50%) ถั่วฝักยาว (44%) แครอท (19%) กระเจี๊ยบเขียว (6%) และหน่อไม้ฝรั่ง (6%) ส่วนมันฝรั่งพบการตกค้างในระดับไม่เกินมาตรฐาน และข้าวโพดหวานไม่พบการตกค้างเลย”

 

ในขณะที่ผลไม้นั้น “พบสารพิษตกค้างมากที่สุดตามลำดับได้แก่ องุ่นแดงนอก (100%) พุทราจีน (100%)  ส้มสายน้ำผึ้ง (81%) ฝรั่ง (60%) แก้วมังกร (56%) น้อยหน่า (43%) ที่พบการตกค้างน้อยได้แก่ ลองกอง (14%) ส้มแมนดารินนำเข้า (13%) และส้มโอไม่พบการตกค้างเกินมาตรฐาน” 

 

อีกทั้งในรายงานยังระบุว่าแม้ผู้บริโภคจะซื้อพืชผักผลไม้จากห้างสรรพสินค้าหรือตลาดสดทั่วไป ก็กล่าวได้ว่ามีความเสี่ยงในการพบผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนเท่ากันทั้งสิ้น

 

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรที่ปลอดสารนั้นจึงมีความสำคัญ ในฐานะผู้บริโภค เราจึงควรหาผู้ประกอบการที่นำเสนอพืชผักผลไม้ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลาย แต่อาจจะมีความยากลำบากในการค้นหา

 

แต่ในช่วงให้หลังมานี้ก็มีโครงการจากความร่วมมือกันของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั่นคือ “โครงการวังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน” ร่วมกับชุมชนตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 

 

ซึ่งนอกจากจะขายผลิตภัณฑ์เกษตรที่ปลอดภัยได้รับรองมาตรฐาน มีการตรวจสอบเฝ้าระวังยาฆ่าแมลงตกค้างในสินค้าโดยตัวผู้ขายเอง ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจในการเลือกหาพืชผักผลไม้ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยในยุคที่ผลิตภัณฑ์เกษตรเต็มไปด้วยสารปนเปื้อนที่เรามองไม่เห็น อีกทั้งยังคงเป็นการสนับสนุนการเลี้ยงชีพของเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า