สะพานไครเมียระเบิด ผู้นำไครเมียระบุเป็นฝีมือพวกยูเครน ด้านยูเครนบอก “นี่เป็นเรื่องสมควรแล้ว”
Breaking News: วันที่ 8 ตุลาคม 2565 เกิดเหตุระเบิดบนสะพานเคิร์ค (Kerch) ซึ่งเชื่อมระหว่างแผ่นดินรัสเซียกับเกาะไครเมีย โดยจากภาพข่าวปรากฎการระเบิดบนสะพาน ซึ่งทำให้ชิ้นส่วนของสะพานบางช่วงหล่นลงไปบนผิวน้ำ
ทั้งนี้สะพานแห่งนี้ซึ่งความยาว 17 กม.ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 2014 หลังไครเมียทำประชามติแยกตัวไปรวมกับรัสเซีย ก่อนที่จะเสร็จในปี 2019 และปัจจุบันเป็นเส้นทางหลักในการติดต่อระหว่างรัสเซียและไครเมีย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางในการส่งกองอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียให้กับไครเมีย
ด้าน วลาดิเมียร์ คอนแสตนตินอฟ ประธานสภาสูงสุดแห่งสาธารณรัฐปกไครเมียได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า “พวกยูเครนที่แสนป่าเถื่อนได้แสดงให้เห็นพฤติกรรมกระหายเลือดให้เห็นบนสะพานไครเมียแล้ว และตอนนี้พวกเขาก็ภาคภูมิใจกับสิ่งที่ทำลงไปมาก ทั้งที่ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา พวกเขาไม่เคยสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ให้กับชาวไครเมียเลย แต่ตอนนี้พวกเขาได้บรรลุเป้าหมายในการทำลายสะพานรัสเซียแห่งนี้”
“เรื่องทั้งหมดเป็นผลงานของพวกยูเครน และแน่นอนเหตุการณ์ครั้งนี้จะต้องถูกสอบสวนต่อไป และความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการฟื้นฟูในเร็ววัน”
ขณะที่มิไคโร โปโดยัค ที่ปรึกษาของประธานาธิบดี เซเลนสกี้ แห่งยูเครนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ทันทีว่าการระเบิดสะพานนั้นเป็นเรื่องที่สมควรเกิดขึ้น และมันเป็นเพียง “จุดเริ่มต้นเท่านั้น”
“ทุกสิ่งที่ผิดกฎหมายจะต้องถูกทำลายทิ้ง และทุกสิ่งที่ถูกขโมยไปจากยูเครนจะต้องกลับคืนสู่ยูเครน และทุกพื้นที่ซึ่งถูกรัสเซียครอบคอรงจะต้องได้รับการปลดปล่อย” โปโดยัคกล่าว
จัดระเบียบพวกคุกคามทางเพศ เกาหลีเสนอร่างกฎหมาย ‘จำกัดที่อยู่อาศัย’ ของผู้กระทำผิดทางเพศที่มีความเสี่ยงสูง
“แต่เมื่อมันเป็นกฎ แล้วเราไปทำ มันคือการฝึกตัวเอง ให้สามารถทำในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ และความสามารถในการทำสิ่งที่ไม่อยากทำได้ จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพราะทุกความสำเร็จเกิดจากความอุตสาหะ ไม่มีความสำเร็จใด เกิดด้วยการทำตามใจตัวเองทั้งวัน” – ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ นักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวทางการเมือง รายการ Ringside การเมือง, 16 มิ.ย. 66
ถั่วลิสง สวก.1 โฆษกรัฐบาลเผย ก.เกษตร ร่วม ม.เกษตร พัฒนาพันธุ์ หวังช่วยลดการนำเข้าเกือบ 9 หมื่นตันต่อปี
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม