Articlesหลีกเลี่ยงการถูกชี้นำทางความคิด เลิกเปรียบเทียบคน เลิกเปรียบเทียบ ‘ประเทศ’

หลีกเลี่ยงการถูกชี้นำทางความคิด เลิกเปรียบเทียบคน เลิกเปรียบเทียบ ‘ประเทศ’

ปัจจุบันเราอาจจะเห็นโพสต์ในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านตากันตาเป็นครั้งคราว ที่มีการเปรียบเทียบประเด็นต่าง ๆ ทางสังคมการเมืองของประเทศไทยเรากับประเทศอื่น ๆ ทั้งที่เป็นโพสต์ส่วนตัวของผู้ใช้สื่ออนไลน์หรือผู้นำทางความคิด (ที่เรียกว่า อินฟลูเอนเซอร์) ต่าง ๆ หรือกระทั้งในสำนักข่าวต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มักจะทำเป็นตารางหรือลิสต์เปรียบเทียบแบบ infographic ที่ทำให้อ่านง่ายเข้าใจง่าย มีข้อมูลไม่กี่บรรทัด ซึ่งบางครั้งก็มีการอ้างอิงข้อมูลให้ได้สามารถไปตามอ่านอ้างอิงเหล่านั้นได้ แต่หลายครั้งก็มีที่เป็นข้อความที่ยกขึ้นมาเฉย ๆ ไม่มีการอ้างอิงใด ๆ ราวกับว่าผู้เขียนโพสต์เหล่านั้นเป็นผู้ไปเก็บข้อมูลเก็บสถิติมาสรุปเองโดยตรง แม้ว่ามันจะเป็นประเด็นเรื่องที่ใหญ่ ๆ อย่างเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน ค่าครองชีพ เป็นต้น

เรื่องเหล่านี้นั้นมีความจำเป็นเป็นอย่างมากในการที่จะต้องมีข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน ไม่เพียงเท่านั้น การเปรียบเทียบก็มีความจำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบอย่างเห็นภาพรวม ไม่ใช่การเปรียบเทียบอย่างโดดเดี่ยวจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น หากเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อยู่แล้ว และมีการเติบทางเศรษฐกิจที่น้อย เทียบกับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กมาก และเพิ่งจะเริ่มขยายตัว เมื่อเอาข้อมูลการเติบโตมาเทียบกันโดยไม่เห็นภาพรวม เราก็อาจจะสรุปว่าประเทศหลังนั้นมีเศรษฐกิจดีกว่าประเทศก่อนหน้า ทั้งที่มันก็อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงเสียทีเดียว เพราะเมื่อเทียบกันแล้ว เศรษฐกิจที่ใหญ่แต่โตน้อย ก็ยังคงใหญ่กว่าเศรษฐกิจที่เล็กแต่เพิ่งจะเริ่มโตอย่างรวดเร็วอยู่ดี

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะลงไปกล่าวถึงว่าการเปรียบเทียบประเทศต่าง ๆ นั้น มีความจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นหรือปัจจัยเรื่องไหนบ้าง ก่อนอื่นอาจจะต้องเริ่มตั้งคำถามก่อนเลยว่า ทำไมเราถึงมีความคิดที่จะเปรียบเทียบประเทศกันตั้งแต่แรก?

โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีกระแสความพยายามสนับสนุนให้เคารพต่ออัตลักษณ์ส่วนตัวของบุคคล การคำนึงถึงเสรีภาพและเคารพในการเลือกตัดสินใจของคนทุกคน การยอมรับถึงความแตกต่างที่มีหลากหลาย และการไม่ตัดสินและเปรียบเทียบคน เหมือนเช่นที่มีตัวละคร “ป้าข้างบ้าน” หรือ “ลุง ป้า น้า อา ในวันรวมญาติ” ที่ถูกนำมาใช้ในละครหรือสื่อบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่พฤติกรรมชอบเปรียบเทียบอย่างไม่มีเหตุผลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกันในสังคม ไม่ว่าจะในครอบครัวหรือสถานที่และสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม

ทำไมในขณะที่การเปรียบเทียบตัวบุคคลนั้นกลายมาเป็นมารยาททางสังคมที่รณรงค์กันว่าไม่สมควรทำ แต่เรากลับเห็นพฤติกรรมนี้กับการเปรียบเทียบประเทศต่าง ๆ ซึ่งหลายครั้งก็ไม่มีการอ้างอิงที่ชัดเจน ไม่มีการอธิบายให้เห็นภาพรวมอย่างกว้าง ๆ และโดยเฉพา หลายครั้งก็เห็นได้ชัดว่ามีความพยายามที่จะใช้การเปรียบเทียบเป็นเครื่องมือหรือวาทะกรรมในการชี้นำสังคมไปในทางการเมือง ทั้งที่ประเด็นทางสังคมการเมืองที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีความจำเป็นมากที่จะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน และมีการวิเคราะห์ที่รอบคอบ ก่อนที่จะสรุปออกมาให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่สุด

ไม่เพียงเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีการพยายามวิเคราะห์อย่างรอบคอบเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สมบูรณ์แล้ว ความเอนเอียงอื่น ๆ ของผู้วิจัยนั้นก็สามารถมีผลกระทบทำให้ไม่เห็นภาพที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงได้อีกด้วย

อย่างในบทความวิชาการชิ้นหนึ่งที่วิจัยเกี่ยวกับการจัดอันดับในรายงานขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Report) ซึ่งจัดทำโดยฟอรัมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหากำไรอิสระ (independent non-profit organization) ระดับโลกที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่ง แต่ในงานวิจัยนั้นก็ชี้ให้เห็นว่าบทสรุปจากข้อมูลที่ฟอรัมเศรษฐกิจโลกได้รายงานออกมานั้น มักจะเอนเอียงไปสนับสนุนกลุ่มประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ (Anglo countries) ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะที่คล้ายกัน นั่นคือระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ (neoliberal economy) ว่ามีอันดับในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการแข่งขันทางธุรกิจที่อยู่ในระดับต้น ๆ ดังนั้นข้อสรุปที่ได้จากรายงานของฟอรัมเศรษฐกิจโลกนั้นก็เอนเอียงไปสนับสนุนและให้ความชอบธรรมการนโยบายทางเศรษฐกิจในลักษณะเสรีนิยมใหม่

แต่ข้อมูลที่บทความวิจัยนี้ชี้ให้เห้นก็คือ เมื่อพิจารณานาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ถูกมองข้ามไป “ด้วยการเพิ่มตัวชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้น ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศพูดอังกฤษนั้นก็จะตกลงมาอย่างมาก (substantially) โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร…เราพบว่าผู้เป็นผู้ชนะในขีดความสามารถในการแข่งขันนั้นส่วนมากจะเป็นประเทศยุโรปเหนือ ซึ่งประเทศเหล่านี้นั้นมีระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด-สังคมนิยม ซึ่งไม่รับจุดยืนทางการตลาดและแรงงานแบบเสรีนิยมใหม่…นี้เป็นการขัดต่อรายงานต่าง ๆ ของ WEF (World Economic Forum) เช่น GCR (รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก) ว่านโยบายแบบเสรีนิยมใหม่นั้นจำเป็นต่อการปูทางไปสู่ความสุขสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม” [1]

เราจะเห็นได้ชัดว่า แม้รายงานของ WEF (ซึ่งไม่ใช่องค์กรระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ) นั้นจะมีข้อมูลที่มีที่มาที่ไปและน่าเชื่อถือ แต่เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็ยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการโน้มน้าวให้ข้อมูลในรายงานนี้ถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนจุดยืนทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้คือ สนับสนุนในประเทศต่าง ๆ ในโลกปรับใช้นโยบายและระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่

ในอีกงานวิจัยหนึ่งยังได้ข้อสรุปเพิ่มเติมไปอีกว่า การจัดอันดับประเทศต่าง ๆ ผ่านการเก็บข้อมูลและการวิจัยนั้น อาจจะเป็นการสร้างเครือข่ายองค์กรและผู้เล่นต่าง ๆ (เป็นสิ่งที่เรียกว่า Indicator Industrial Complex หรือ “โครงข่ายอุตสาหกรรมการชี้วัด”) ที่ไม่ได้มีเป้าหมายในการได้ข้อสรุปที่ตรงตามความเป็นจริง โดยเฉพาะที่จัดทำขึ้นจากสถาบันที่เกี่ยวข้องกับรัฐ แต่กลับเป็นการพยายามในการ “สร้างแบรนด์ให้ประเทศ” (nation branding) โดยกล่าวว่า

“การวิเคราะห์ของเรายังคงเผยให้เห็นถึงบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ให้ประเทศ ที่ผ่านเข้าออกระหว่างประตูของวงการวิชาการและวงการที่ปรึกษาแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือจากวงการก่อนหน้า และสร้างรายได้จากวงการหลัง ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้ความชอบธรรมกับการสร้างแบรนด์ให้ประเทศอีกด้วย” [2]

ดังนั้นแล้ว นอกจากการเปรียบเทียบประเทศที่แตกต่างกันโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียดและภาพเชิงกว้างนั้นจะไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเทียบบุคคลคนหนึ่งกับอีกคนแล้ว แม้กระทั้งการเปรียบเทียบจัดอันดับที่ดูเหมือนจะมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะจัดทำขึ้นโดยองค์กรที่น่าเชื่อถือระดับโลกหรือองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐต่าง ๆ นั้น ทั้งหมดนั้นก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเอนเอียงในการสนับสนุนจุดยืนหนึ่ง ๆ ใด ๆ ของผู้จัดทำได้อย่างเห็นได้ชัด เช่นนี้ การเปรียบเทียบประเทศแบบไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีการอ้างอิงข้อมูลใด ๆ ที่เราอาจเห็น ๆ กันอยู่ในสังคมสื่อออนไลน์นั้น จะสามารถเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด หากเราไม่คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอันซับซ้อนต่าง ๆ ที่อาจมีอยู่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า