Articlesวิกฤตด้านพลังงานในยุโรปผลกระทบที่ประชาชนต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้

วิกฤตด้านพลังงานในยุโรปผลกระทบที่ประชาชนต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้

ช่วงเดือนนี้เป็นต้นไป เราคงเห็นภาพชาวยุโรปเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะช่วงปลายปีนั้นเป็นฤดูหนาว ชาวยุโรปจึงมักหนีหนาวมาเที่ยวเมืองร้อนเป็นปกติ แต่สถานการณ์ปัจจุบันทำให้อดคิดไม่ได้ว่าพวกเขาอาจจะหนีมากกว่าเพียงความหนาวเย็น

นั่นเพราะหลังความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปก็ได้เข้าไปพัวพัน จนเกิดวิกฤตหลากหลายด้านซึ่งส่งกระทบไปทั่วโลก ตั้งแต่ด้านการเมืองระหว่างประเทศ การทหาร เศรษฐกิจ ไปจนถึงด้านพลังงาน และนำไปสู่วิกฤตค่าครองชีพด้วย

 

แต่ละประเทศอาจจะเผชิญปัญหาที่แตกต่างกันไป ในส่วนของยุโรปนั้นถือว่ามีปัญหาค่าครองชีพด้านพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นมาก การย้ายมาพักอาศัยในต่างประเทศจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่มีความสามารถ โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่มีความจำเป็นที่แต่ละบ้านจะต้องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูง

 

ด้วยเพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปที่สามารถผลิตน้ำมันและก๊าซได้ และแม้ผลิตได้ ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ (เช่นเดียวกับประเทศไทย) และเพราะน้ำมันและก๊าซยังถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับการผลิตไฟฟ้า สาเหตุนี้เองที่หลายประเทศในยุโรปนั้นหันไปพัฒนาและพึ่งพาพลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า เช่น พลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็อาจจะยังไม่เพียงพอ

 

และด้วยความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่จบสิ้น ก็ทำให้ค่าครองชีพของชาวยุโรปจึงยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง

 

โดยข้อมูลล่าสุด จากหน่วยงานรัฐและเอกชนของออสเตรีย, ฮังการี, และฟินแลนด์ ระบุว่าค่าพลังงานของชาวยุโรปนั้นพุ่งสูงขึ้นถึงสองเท่า [1] และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ความต้องการในการใช้พลังงานต่าง ๆ ยิ่งมีมากขึ้น ยิ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤตครั้งนี้นั้นมีความหนักหน่วงต่อประชาชนทั่วไปอย่างมาก

 

ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไป เราจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่นำไปสู่สถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในความควบคุมของชาวยุโรปเลย โดยอย่างแรก ยุโรปนั้นตั้งอยู่บนพื้นทวีปที่มีแหล่งพลังงานน้อย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะเดียวกัน สงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพวกเขาด้วย ทั้งที่ชาวยุโรปไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงเลย

 

ดังนั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า หลายครั้งปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานนั้นไม่ได้อยู่ในการควบคุมของประเทศและรัฐบาล สิ่งที่เราทำได้ จึงเป็นการคิดนโยบายเพื่อป้องกันความเปลี่ยนแปลงภายนอกที่จะเข้ามากระทบความมั่นคงของชาติในด้านต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีนโยบายลักษณะนี้เกิดขึ้นในไทยมาโดยตลอด เพื่อปกป้องประชาชนจากวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด



———————

 

 

 

#TheStructureArticle

#วิกฤตพลังงาน #วิกฤตค่าครองชีพ #ยุโรป #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า