Articlesความล้มเหลวของการปลูกสร้างจิตสำนึกแบบ “อำนาจนิยม” และแนวทางสมัยใหม่ที่เน้นการ “สร้างแรงจูงใจ”

ความล้มเหลวของการปลูกสร้างจิตสำนึกแบบ “อำนาจนิยม” และแนวทางสมัยใหม่ที่เน้นการ “สร้างแรงจูงใจ”

การสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจในการดำรงอยู่ในสังคมภาพใหญ่ในตัวเด็กที่จะขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการสร้างคนออกสู่สังคม ในการทำให้เด็กมีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องราวของชีวิตและสังคมเพื่อเป็นรากฐานของใช้ชีวิตในสังคมข้างหน้า

 

แต่การจะสร้างจิตสำนึกเหล่านี้ ไม่สามารถทำให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวได้ เพราะเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นการสร้างคน ๆ หนึ่ง ก็ย่อมต้องใช้เวลาและความเข้าใจต่อตัวเด็กเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เวลาหลายปีในการสร้างคนออกสู่สังคม และการจะเร่งรัดอะไรก็ตามโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างจิตสำนึกให้เด็กคือ จุดเริ่มต้นของการสร้างรากฐานทางความคิดที่เปราะบางและพร้อมที่จะพังทลายลงมาในชั่วพริบตา

 

อะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น เหตุคือ การสร้างจิตสำนึกแบบยัดเยียดให้เด็กเป็นการสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เด็กต่อต้านคุณค่าทางความคิดดังกล่าวแม้ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม เพราะไม่ให้ให้เวลาเด็กเรียนรู้คุณค่าความคิดนั้น ๆ เลย ยิ่งผู้ดูแลเด็กไม่ให้เหตุผลในตัวจิตสำนึกยัดเยียดก็ยิ่งหนักไปอีก เพราะเด็กก็คือเด็ก และการจะให้เข้าใจเองในช่วงวัยดังกล่าวโดยไม่มีใครช่วยแนะนำเป็นอะไรที่ยากสาหัสสำหรับพวกเขา

 

ยิ่งเลวร้ายกว่า คือ การบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวในพื้นที่หนึ่ง ๆ ซึ่งก็จะต่างกันแล้วแต่ที่กันไป ซึ่งการบังคับใช้ดังกล่าวหากบังคับใช้เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษอย่างรุนแรงแทนที่จะเป็นการใช้เครื่องมือดังกล่าวในการนำเสนอเหตุผลที่ต้องมีการบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งเกิดจากคุณค่าความคิดที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ในการเอาไปใช้ในอนาคต ทั้งหมดนี้เมื่อเกิดขึ้นจึงกลายเป็นหายนะที่กลายเป็นเทปม้วนเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

จุดแรกที่ส่งผลกระทบ คือ ภาวะเด็กใจแตก ที่เกิดจากการขาดเหตุผลในการประกอบการตัดสินใจของตนซึ่งเมื่อโตขึ้นไปและเจอสิ่งเร้าอะไรต่าง ๆ เข้ามาในชีวิต ก็จะทำให้การเรียนรู้จิตสำนึกอะไรทั้งหมดก่อนหน้า หายไปหมดเลย เพราะเด็กมักมองว่าสิ่งเร้าเหล่านั้นเป็นความอิสระที่พวกเขาต้องการและไม่ได้มองเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีคุณค่าทางความคิดหรือวินัยอะไรใด ๆ ในหัวสมอง เพราะไม่เข้าใจเหตุผลที่ต้องมี

 

และจะประกอบกับจุดต่อไปที่เกิดขึ้น คือ ภาวะหน้าไหว้หลังหลอก ที่เกิดจากการบังคับใช้ระเบียบอย่างรุนแรงในพื้นที่หนึ่ง ๆ และแน่นอนว่าการบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวไม่สามารถบังคับได้ในบริเวณที่ระเบียบไม่ได้มีอำนาจบังคับใช้ ซึ่งจะแตกต่างจากข้อกฎหมายทั่วไปที่มีอำนาจบังคับใช้ทั่วประเทศ

 

จึงมักเกิดปรากฏการณ์ที่เมื่ออยู่ในพื้นที่บังคับใช้ก็จะทำตัวเรียบร้อยตามระเบียบ แต่เมื่ออยู่นอกพื้นที่การบังคับใช้ระเบียบ กลับมีพฤติกรรมตรงกันข้ามและทำให้การปลูกฝังอะไรทั้งหมดไร้ความหมาย เพราะมีเหตุผลอิสระอะไรที่ต้องปฏิบัติตามกรอบระเบียบที่ตนไม่เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำ ทั้งหมดนี้จึงทำให้เมื่อโตขึ้นมาอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ จึงมักพบเหตุการณ์เด็กใจแตกหรือแม้แต่การละเมิดบรรทัดฐานทางสังคมกันอยู่บ่อย ๆ

 

อ่าน ๆ กันแล้ว อาจมีคำถามในหัวว่า “จะมีทางแก้ปัญหาเหล่านี้หรือไม่” คำตอบคือ “มี” ในการทำให้จิตสำนึกส่วนรวมเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้มั่นคง ซึ่งวิธีการแรกที่สำคัญคือ การสร้างและอธิบายเหตุผลของการมีจิตสำนึกดังกล่าวให้เด็กเพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริงและสามารถที่จะเติบโตได้ด้วยตนเอง

 

วิธีการต่อไปคือ ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบังคับใช้ให้ออกไปทางกำกับดูแลแทนที่จะเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เพื่อให้ไม่เป็นการสร้างสถานการณ์ของการกดดันให้ต้องปฏิบัติตามมากเกินไปซึ่งจะพัฒนาเป็นการต่อต้านตามประสาของวัยเด็ก และวิธีสุดท้าย คือ การทำให้จิตสำนึกหรือวินัยที่จะไปสอนเด็กเป็นอะไรที่ใช้งานได้จริง มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในสังคม และเป็นคุณค่าร่วมกันของสังคมที่จะรักษาไว้ในอนาคต

 

ซึ่งการสร้างจิตสำนึกที่ดีและมั่นคง อาจดูต้องใช้ความพยายามและเวลาที่มาก แต่สุดท้ายแล้วการลงมือในการสร้างคนที่มีจิตสำนึกและมีความสามารถสู่สังคมออกไปจะส่งผลดีที่คุ้มค่าที่สุด ไม่สูญเปล่าแน่นอน

 

เพราะการลงทุนกับคนย่อมเป็นการลงทุนอันยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

 

โดย ชย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า