News‘รถไฟความเร็วสูงไทย’ งบลงทุน 2 ล้านล้านบาท มีแค่ 1 เส้นทาง ที่เริ่มตอกเข็มจริงจัง อีก 7 เส้นทางที่เหลือ ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

‘รถไฟความเร็วสูงไทย’ งบลงทุน 2 ล้านล้านบาท มีแค่ 1 เส้นทาง ที่เริ่มตอกเข็มจริงจัง อีก 7 เส้นทางที่เหลือ ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

เส้นทาง “รถไฟความเร็วสูง” ของประเทศไทย ประกอบด้วยระยะทาง 2,507 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนกว่า 2.06 ล้านล้านบาท แบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยอัปเดตสถานะ ‘รถไฟความเร็วสูงไทย’ รัฐทุ่ม 2 ล้านล้านลงทุน พบมีเพียงแค่ 1 เส้นทาง จากทั้งหมด 8 เส้นทาง ที่เริ่มตอกเข็มอย่างจริงจัง ส่วนที่เหลือยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควระเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว เริ่มเดินหน้าเมื่อปี 2560 ความคืบหน้าล่าสุด จากทั้งหมด 8 เส้นทาง มีเพียงแค่ 1 เส้นทาง ที่เริ่มตอกเข็มอย่างจริงจัง ส่วนที่เหลือยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

โดยเมื่อมีการตรวจสอบสถานะของแต่ละเส้นทาง เริ่มจากในแผนระยะเร่งด่วน (2560-2564) จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทาง 1,249 กิโลเมตร เงินลงทุน 1.293 ล้านล้านบาท พบว่า

สาย “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 179,413 ล้านบาท หลังเริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2560 คืบหน้าแล้วกว่า 16% คาดเปิดบริการได้ในปี 2570 โดยขยับจากเดิมตั้งเป้าจะเปิดในปี 2569

สาย”กรุงเทพฯ-ระยอง” ระยะทาง 260 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 260,083 ล้านบาท แบ่งการพัฒนา 2 เฟส โดยเฟสแรก เป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อจากดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมจะเริ่มก่อสร้าง ตามแผนจะเปิดบริการในปี 2570 ส่วนเฟสที่2 ช่วงอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 40 กิโลเมตร เงินลงทุน 35,539 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างทำผลการศึกษาและออกแบบรายละเอียด

สาย “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก” ระยะทาง 380 กิโลเมตร เงินลงทุน 276,226 ล้านบาท รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอได้รับการอนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างหารือรูปแบบการลงทุน

สาย “นครราชสีมา-หนองคาย” ระยะทาง 356 กิโลเมตร เงินลงทุน 318,137 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณารายงานอีไอเอ ตามแผนจะเปิดบริการในปี 2571

ส่วนแผนระยะกลาง (2565-2569) มี 2 เส้นทาง ระยะทาง 499 กิโลเมตร เงินลงทุน 334,291 ล้านบาท มีสาย “กรุงเทพฯ-หัวหิน” ระยะทาง 211 กิโลเมตร เงินลงทุน 101,880 ล้านบาท กำลังจะของบประมาณปี 2567 ทบทวนผลการศึกษาเดิม

สาย “พิษณุโลก-เชียงใหม่” ระยะทาง 288 กิโลเมตร เงินลงทุน 232,411 ล้านบาท รายงานอีไอเอได้รับอนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด

ส่วนแผนระยะยาว (2570-2579) ระยะทาง 759 กิโลเมตร เงินลงทุน 432,329 ล้านบาท มีสาย “หัวหิน-สุราษฎร์ธานี” ระยะทาง 424 กิโลเมตร เงินลงทุน 235,162 ล้านบาท ของบประมาณปี 2567 ทบทวนผลการศึกษาเดิม และสาย “สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์” ระยะทาง 335 กิโลเมตร เงินลงทุน 197,167 ล้านบาท ของบประมาณปี 2568 จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมของโครงการ

#TheStructureNews

#รถไฟความเร็วสูง #ไทย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า