Uncategorizedซาอุ-ไทย จับมือหนุนภาคเอกชนไทย ส่งออกสินค้าการเกษตรไปซาอุมากขึ้น ผ่านนโยบาย Saudi Vision 2030 และโมเดล BCG

ซาอุ-ไทย จับมือหนุนภาคเอกชนไทย ส่งออกสินค้าการเกษตรไปซาอุมากขึ้น ผ่านนโยบาย Saudi Vision 2030 และโมเดล BCG

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับ นายอับดุลเราะห์มาน บิน อับดุลมุห์สิน อัลฟัฎลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และการเกษตร แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า

 

ภายหลังการปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันให้กลับเป็นปกติโดยสมบูรณ์ เมื่อเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมา โดยนโยบาย Saudi Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย และโมเดล BCG ของไทยมีความสอดคล้องกัน

 

โดยเน้นการเสริมสร้างเศรษฐกิจที่มีความสมดุล รักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเน้นการบูรณาการทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 5 อย่าง ได้แก่ ระบบนิเวศ ดิน ป่าไม้ ที่ดิน และน้ำ ยึดหลักเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และวนเกษตร

 

“ด้านการค้าสินค้าเกษตร ฝ่ายไทยได้ผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารปรุงสุกที่มีคุณภาพไปยังซาอุฯ ส่วนฝ่ายซาอุฯ ได้กล่าวถึงตลาดซาอุฯ ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและความปลอดภัย มีกำลังซื้อสูง และซาอุฯ ยังสามารถเป็นประตูไปสู่ประเทศแถบตะวันออกกลาง”

 

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องให้มีการขยายความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในลักษณะ Business to Business (B2B) และการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเพิ่มโอกาสการค้าและการลงทุนด้านเกษตรและอาหาร

โดยการหารือในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีกลไกความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยฝ่ายซาอุฯ เสนอให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) และมอบหมายให้สำนักการเกษตรต่างประเทศเป็นผู้ประสานงานหลักของไทย

 

ส่วนความร่วมมือด้านการประมงนั้น ซาอุฯ มีความยินดีที่จะร่วมมือกับไทย ทั้งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และกฎระเบียบการลงทุนด้านกิจการประมงในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งภาคเอกชนของไทยได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

 

รัฐมนตรีเกษตรฯ ซาอุฯ ได้เชิญรัฐมนตรีเกษตรฯ ของไทยเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือและขยายความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน พร้อมทั้งเชิญชวนภาครัฐและภาคเอกชนของไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านการเกษตร ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ที่ซาอุฯ ซึ่งช่วงท้ายของการหารือ โดยได้ขอบคุณที่ซาอุดีอาระเบียที่ได้สนับสนุนให้มีการส่งออกปุ๋ยมายังไทยเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อแก้ไขการขาดแคลนปุ๋ย

 

รวมทั้ง เห็นพ้องกันว่าการหารือในครั้งนี้เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงเกษตรฯ ของทั้งสองประเทศ และจะส่งผลถึงการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนด้านการเกษตรและอาหารระหว่างกัน ที่มีส่วนในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอันดับที่ 29 ของไทย

 

โดยระหว่างปี 2562-2564 มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรเฉลี่ย 6,836 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 6,791 ล้านบาท ไทยนำเข้า 46 ล้านบาท ซึ่งสินค้าเกษตรส่งออกของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ค และปลาโบนิโต 2) ข้าว 3) สับปะรด 4) ข้าวโพดหวาน 5) อาหารสุนัขหรือแมว ส่วนสินค้าเกษตรนำเข้าจากซาอุฯ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อาหารปรุงแต่ง เช่น เต้าหู้ เครื่องดื่มสำเร็จรูป 2) อาหารสัตว์ 3) ลูกนัทหรือผลไม้แห้ง 4) ปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยแช่แข็ง และ 5) ไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้กอ ที่ให้ผลไม้หรือลูกนัท

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า