Newsตู้รถไฟ “ไทยเฟิร์ส”คนไทยพัฒนา ให้คนไทยได้ใช้ก่อนลดการนำเข้าชิ้นส่วนต่างประเทศ คาดเปิดให้บริการปลายปี 66 นี้

ตู้รถไฟ “ไทยเฟิร์ส”คนไทยพัฒนา ให้คนไทยได้ใช้ก่อนลดการนำเข้าชิ้นส่วนต่างประเทศ คาดเปิดให้บริการปลายปี 66 นี้

ถึงแม้ว่าประเทศไทยของเราจะเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมของอาเซียนที่มีความโดดเด่นมาอย่างช้านาน แต่ทั้งหมดเป็นการผลิตสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีของต่างชาติ โดยไม่มีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง จึงเกิดการผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในประเทศไทย

 

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 66 รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต และคณะจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการวิจัยและพัฒนารถไฟโดยสารต้นแบบ (รถไฟไทยทำ) 

 

ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของ นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัดและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพข. เพื่อพัฒนาตู้รถไฟโดยสารต้นแบบที่เน้นการวิจัยและพัฒนา และรวบรวมเทคโนโลยีในประเทศเข้ามาประยุกต์ใช้

 

โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ไทยเฟิร์ส” ของรัฐบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตในประเทศโดยเฉพาะกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม โดยในส่วนของระบบรางนั้น มีเป้าหมายให้ตัวรถไฟในอนาคตมีการใช้ส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศมากกว่า 40%  ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการตู้รถไฟโดยสารไม่น้อยกว่า 2,425 ตู้

 

จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมา คิดมูลค่ารถไฟเฉลี่ยตู้ละ 50 ล้านบาท รวมมูลค่าตลาดการผลิตรถไฟไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งการวิจัยพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมรถไฟของประเทศ เพื่อป้อนตลาดในประเทศไทยของเราเองนั้น จะช่วยยกระดับและขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการขนส่งทางรางของไทยได้

 

สำหรับตู้รถไฟขบวนนี้นั้น รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. หัวหน้าโครงการวิจัยเปิดเผยว่า หากคิดเฉพาะตู้รถโดยสารพร้อมอุปกรณ์ประกอบไม่รวมแคร่รถไฟจะมีชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศมากถึง 70% อีกทั้งการออกแบบก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากที่นั่งชั้นธุรกิจบนเครื่องบิน และชั้นเฟิร์สคลาสในรถไฟความเร็วสูง

 

ตู้รถต้นแบบมี 25 ที่นั่ง เป็นชั้น Super Luxury 8 ที่นั่ง และชั้น Luxury 17 ที่นั่ง ทุกที่นั่งมีจอภาพส่วนตัวสำหรับให้บริการด้านความบันเทิงและสั่งอาหาร ซึ่งจะมีพนักงานเสิร์ฟหุ่นยนต์นำอาหารมาส่งถึงที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีระบบห้องน้ำสุญญากาศและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งทางขึ้นรถไฟ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานของผู้พิการโดยราคาค่าโดยสารนั้นคาดว่าจะใกล้เคียงกับตั๋วแบบนอนของ รฟท.

 

ตัวรถมีน้ำหนักเบาด้วยการออกแบบระบบ Space Frame Modular Concept และแคร่รถไฟที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้มีการจดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากโครงการแล้วจำนวนกว่า 7 ผลงาน และโครงการของเรายังมีผู้ประกอบการที่สามารถผลิตและประกอบชิ้นส่วนในประเทศมากกว่า 10 บริษัทเข้าร่วมโครงการ จึงเป็นการช่วยสร้างระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมการผลิตรถขนส่งทางรางและสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมระบบรางตลอดห่วงโซ่การผลิต

 

ด้านนายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า โครงการนี้คาดว่าจะส่งมอบตัวรถไฟให้ รฟท. นำไปให้บริการประชาชนได้ภายในปลายปี 66

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า