
คืนชีพสัตว์สูญพันธุ์ นักวิทย์ฯ เตรียมคืนชีพ ‘เสือแทสเมเนีย’ ที่สูญพันธุ์แล้วเกือบ 90 ปี ด้วยวิศวกรรม DNA
นักวิทย์ฯ ผุดโครงการ เตรียมคืนชีพ เสือแทสเมเนีย ซึ่งสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 1936 เพื่อคืนสู่สู่ธรรมชาติ
แอนดรูว์ ปาส์ก ศ.แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น, หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย Thylacine Integrated Genetic Restoration Research Lab และผู้นำโครงการ กล่าวว่า
โครงการนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ที่รวมเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น การตัดต่อยีนและการสร้างมดลูกเทียมมาใช้
โดยในขั้นแรก ทีมนักวิจัยจะถอดรหัสจีโนมของเสือแทสเมเนีย และนำไปเปรียบเทียบกับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องกินเนื้ออีกชนิดหนึ่งขนาดเท่าหนูที่เรียกว่า ดันนาร์ทหางอ้วน (fat-tailed dunnart) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับเสือแทสเมเนียมากที่สุด เพื่อเทียบความแตกต่างทางพันธุกรรม
จากนั้นจะนำเซลล์ที่มีชีวิตจากดันนาร์ท มาทำการดัดแปลง DNA ในส่วนที่แตกต่างจากเสือแทสเมเนียเพื่อสร้างเซลล์เสือแทสเมเนียนขึ้น” จากนั้นจะฉีดเซลล์ต้นแบบเข้าไปในไข่ดันนาร์ทเพื่อสร้างเสือแทนเมเนียตัวเป็นๆ ต่อไป
ปาส์ก อธิบายเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนเสือแทสเมเนียซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์สู่ธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังสามารถนำเทคนิคพันธุวิศวกรรมนี้ มาใช้เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องอื่นๆ ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เช่น แทสเมเนียนเดวิล
ด้าน ทอม กิลเบิร์ต ศ.แห่งมหาวิทยาลัยในโคเปนเฮเกน และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิวัฒนาการโฮโลจีโนมแห่งชาติเดนมาร์ก กล่าวว่า การสร้างจีโนมของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากดีเอ็นเอในโครงกระดูกไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่โครงการดังกล่าวจะได้เสือแทสเมเนียลูกผสมที่ไม่สมบูรณ์ทางพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาสุขภาพและไม่สามารถอยู่รอดได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากมนุษย์
#TheStructureNews
#TasmanianTiger #Extinction
อ้างอิง :
[1] https://edition.cnn.com/2022/08/16/world/tasmanian-tiger-thylacine-deextinction-scn/index.html
ซุปเปอร์ยอร์ชใหญ่สุดเอเชีย กลุ่มภูเก็ตดันโครงการ ‘พอร์ต มัจฉานุ’ 1,900 ไร่ มุ่งสู่การเป็นมารีน่าฮับเอเชีย
‘ปัจจุบันมีกว่า 150 เพศ’ BBC จัดอบรมพนักงานองค์กร พร้อมสรรพนามใหม่ xe, xem, xyrs
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม