Newsเสี่ยงเกิดวิกฤตเหมือนต้มยำกุ้ง ‘ศุภวุฒิ’ ชี้ แจกเงิน 10,000 บาท กระตุกผิดจุด การแจกเงิน เสี่ยงเงินไหลออกนอกประเทศ

เสี่ยงเกิดวิกฤตเหมือนต้มยำกุ้ง ‘ศุภวุฒิ’ ชี้ แจกเงิน 10,000 บาท กระตุกผิดจุด การแจกเงิน เสี่ยงเงินไหลออกนอกประเทศ

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อเตือนรัฐบาลนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผิดจุด ประเทศกำลังขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ควรกระตุกด้านซัพพลาย ไม่ใช่ด้านดีมาน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะขาดทุนแฝดเหมือนในยุควิกฤตต้มยำกุ้ง

 

13 ก.ย. 66 ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร วิจารณ์นโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต ของรัฐบาลว่า ต้องพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ในระดับมหภาคว่าเอื้ออำนวยหรือไม่ เพราะถ้าหากไม่เอื้ออำนวย นอกจากจะไม่ทำให้เศรษฐกิจโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาตามมาถายหลัง

 

ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ทั้งนักลงทุนและผู้บริโภคจะขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจระยะสั้น จนไม่บริโภคและไม่ลงทุน จนทำให้เกิดการว่างงานเยอะจากการไม่กล้าลงทุน รัฐบาลมีหน้าที่ยอมขาดทุนงบประมาณและเอาเงินในอนาคตมาใช้กระตุ้น สร้างความมั่นใจให้เกิดการลงทุน เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ ช่วยให้เกิดการบริโภค สร้างวัฎจักรในเชิงบวก เกิดตัวทวีคูณ

 

ดร.ศุภวุฒิ ตั้งคำถามว่าเวลานี้ประเทศไทยเหมาะสมกับการทำเช่นนี้หรือไม่ ซึ่งต้องไปดูการไปดูดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการนำเข้าและส่งออกสินค้าและบริการ ถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แปลว่ามีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า ประเทศมีกำลังการผลิตล้นเหลือ ใช้กระตุ้นกำลังซื้อได้ เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้เกิดการผลิตในประเทศ หรือเกิดนำเข้าสินค้าทุนเพื่อให้ฟื้นการลงทุนในประเทศ

 

การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด มันสะท้อนว่าเศรษฐกิจเรามีรายได้เหลือ แต่ถ้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แปลว่าใช้จ่ายเกินตัว การกระตุ้นจะยิ่งทำให้ขาดดุล

 

ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า พ.ศ. 2564 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด กว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ พ.ศ. 2565 ก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 14,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ครึ่งปีแรกของปีนี้ ก็เกินดุลนิดเดียว คือ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ แล้วเดือน ก.ค.ล่าสุดก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

การไปกระตุกเศรษฐกิจมาก ๆ มีความเสี่ยง เพราะการบริโภคของคนไทยจะมีการนำเข้ามากถึง 50% ของ GDP ถ้าใส่เงินเข้าไป เป็นไปได้มากว่าเงินจะไหลออกนอกประเทศครึ่งหนึ่ง แม้ปุ๋ยเกษตร ก็นำเข้ามากกว่า 90% การกระตุ้นแบบนี้จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับนโยบายการลดภาษี ลดราคาน้ำมันดีเซล ก็จะทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น

 

ดังนั้น จึงควรกระตุ้นด้านอุปทาน (Supply) ไม่ใช่ด้านอุปสงค์ (Demand) เพราะการกระตุ้นอุปสงค์จะทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น อีกทั้งยังจะเป็นการ “ขาดดุลแฝด” คือขาดดุลงบประมาณ และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพร้อมกัน เหมือนในยุควิกฤตต้มยำกุ้ง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า