ArticlesSoft Power ด้านมนุษยธรรม Soft Power แบบไทย ๆ ที่ทั่วโลกชื่นชม

Soft Power ด้านมนุษยธรรม Soft Power แบบไทย ๆ ที่ทั่วโลกชื่นชม

การท่องเที่ยวของประเทศไทย ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เพียงช่วงเดือนมกราถึงกันยายนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 5.8 ล้านคน มีการใช้จ่ายเฉลี่ยถึง 55,000 บาท ต่อคน อัตราเข้าพักโรงแรมต่างๆ เริ่มฟื้นตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงการขยายสิทธิเราเที่ยวด้วยกันของนักท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลถึงสัดส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 75%

จริงอยู่ว่าส่วนหนึ่งมาจากมาตรการหลาย ๆ อย่างของรัฐบาลที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ที่ทำให้นักท่องเที่ยวไว้วางใจ ประกอบกับความรุ่มรวยด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวของประเทศ ไม่ว่าจะทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อน สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์เฉพาะ

แต่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ที่สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกนั้นไม่ใช่อื่นไกลเลย แต่เป็นพวกเราคนไทยนั่นเอง

รอยยิ้มที่น่าดึงดูดใจของคนไทย ส่วนลึกแล้วมาจากลักษณะนิสัยที่โอบอ้อมอารีของคนไทย ช่วยเหลือผู้คนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ซึ่งเป็นผลมาจากคำสอนในพุทธศาสนาเรื่อง “พรหมวิหารธรรม” และ “การให้ทาน” คนไทยชอบทำบุญทำทาน



ในช่วงวิกฤติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 19 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลายคนติดค้างในประเทศไทย เนื่องจากประเทศแม่ของพวกเขา “ปิดประเทศ” ไม่ยอมรับพวกเขากลับบ้านเป็นเดือน ๆ

สำหรับคนที่มีเงิน ยังไม่เป็นไร สามารถเช่าโรงแรม ซื้อหาอาหารทานได้ แต่สำหรับคนที่ไม่มี เงินหมด สิ่งที่ทำให้พวกเขาเหล่านี้อยู่รอดมาได้จนวันที่ประเทศแม่ของพวกเขายอมรับกลับบ้าน คือวัด และพวกเราคนไทยทุกคน

วัด ให้ที่อยู่อาศัยแก่พวกเขา และพระสงฆ์แบ่งปันอาหารที่ได้รับจากการบิณฑบาตให้พวกเขามีกิน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา คนไทยหลายคน แบ่งปันน้ำอาหารให้โดยไม่รังเกียจเดียดฉันท์ ดูแลพวกเขาในยามเจ็บป่วย ทั้ง ๆ ที่สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง

คนไทย นิสัยโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือคน แม้จะเป็นต่างชาติต่างภาษา แม้จะพูดจากันไม่รู้เรื่องเลยนี่แหละ คือซอฟท์เพาเวอร์ ด้านมนุษยธรรม เป็นสิ่งที่ชาติอื่นหาได้ยาก



การให้ความช่วยเหลือ 13 หมู่ป่า “ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง” ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม พ.ศ.2561 เองก็เป็นกิจกรรมด้านมนุษยธรรมของคนไทยที่ทั่วโลกต่างให้ความชื่นชม

ถึงแม้ว่าในช่วงแรกจะเกิดคำถามว่าทำไมจึงต้องทุ่มเททรัพยากรของประเทศไปมากมายขนาดนั้น เพียงเพื่อช่วยเหลือเด็ก 12 คน และครู 1 คนที่ไม่มีชื่อเสียงเรียงนาม ดูจะไม่มีความสำคัญใด ๆ

แต่ด้วยความเพียรพยายามของคนไทยทั้งชาติที่ระดมสรรพกำลังเข้าช่วยเหลือ โดยไม่สนใจความลำบากยากเข็ญ และความเป็นไปได้ที่ริบหรี่ แทบจะเป็นศูนย์ จนนานาชาติต่างตอบรับ ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ จนกลายเป็นภารกิจกู้ภัยด้วยมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก

ผลตอบรับในครั้งนี้ที่คนไทยทั้งประเทศได้รับ ไม่เพียงเสียงชื่นชมยินดีเท่านั้น แต่จากการทำข่าวประชาสัมพันธ์รายละเอียดเล็กน้อย ไม่ว่าจะอาหารไทย หรือกระทั่งสัปปะรสไทยที่ขึ้นอยู่ข้างทาง ยังกลายเป็นข่าวที่คนทั้งโลกสนใจและชื่นชม

นอกจากนี้ มีการทำภาพยนตร์เผยแพร่รายละเอียดกิจกรรมด้านมนุษยธรรมในครั้งนี้หลายเรื่อง ส่งผลให้ วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน และจังหวัดเชียงราย มีชื่อเสียงระดับโลก ในทันที



กิจกรรม “One Man & The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” ของคุณโตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ซอฟท์เพาเวอร์ด้านมนุษยธรรมของคนไทยเราเช่นกัน

จุดเริ่มต้นมาจากคุณหมอท่านหนึ่งในโรงพยาบาลนครพนมบอกกับคุณโตโน่ว่า โรงพยาบาลมีอุปกรณ์การแพทย์ไม่เพียงพอ คุณโตโน่จึงรับปากว่าจะช่วยเหลือ แต่แทนที่จะช่วยเหลือด้วยการให้เงินบริจาคเปล่า ๆ คุณโตโน่ใช้ปัญญาพิจารณา ติดต่อหาสปอนเซอร์ จัดทำเป็นกิจกรรมใหญ่ โดยใช้เงินทุนที่ได้จากสปอนเซอร์ในการจัดงานทั้งหมด

สำหรับภาครัฐ และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพียงช่วยเหลืออำนวยความสะดวก ซึ่งหลายรายการนั้น เป็นความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องชาวนครพนม ที่ออกมาช่วยกันจัดงานโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน

สำหรับการควักจ่ายเงินโดยภาครัฐนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะติดขัดที่ระเบียบการภาครัฐ ที่จะต้องตั้งงบประมาณไว้ล่วงหน้า และไม่อยู่ในขอบข่ายกรณีฉุกเฉินที่จะใช้งบประมาณเป็นพิเศษได้

ผลลัพธ์ของกิจกรรมในครั้งนี้ ไม่เพียงจะมียอดเงินบริจาคทะลุ 64 ล้าน และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเกินจากเป้าหมายที่วางไว้แต่แรกไปไกลมาก ซึ่งนี่หมายความว่าทั้งโรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน สปป.ลาว จะได้เครื่องมือแพทย์เพิ่มมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการรักษาช่วยชีวิตคนมากขึ้น หลักประกันด้านสาธารณสุขในนครพนม และแขวงคำม่วนจะสูงขึ้นแล้ว

กิจกรรมในครั้งนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดทั้งสองเป็นอย่างมาก

สิ่งสำคัญที่สุดของกิจกรรมส่งเสริม ซอฟท์เพาเวอร์ด้านมนุษยธรรมของคุณโตโน่ ทีมงาน และพี่น้องชาวนครพนมในครั้งนี้ จะเป็นตัวเชื่อมกระชับความสัมพันธ์อันดี ให้แก่พี่น้องชาวไทยและชาวลาว สร้างความประทับใจให้แก่ชาวต่างชาติให้เกิดความนิยมยินดีในความมีมนุษยธรรมของคนไทย และอยากมาเที่ยวประเทศไทยไปอีกนาน

โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร


อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า