Newsกังวลเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ‘SME D Bank’ เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นไตรมาส 3 SME เกือบ 77% กังวลเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องการทักษะขายออนไลน์เพิ่ม 59%

กังวลเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ‘SME D Bank’ เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นไตรมาส 3 SME เกือบ 77% กังวลเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องการทักษะขายออนไลน์เพิ่ม 59%

 27 ก.ย. 66 นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เผยว่า “ศูนย์วิจัยและข้อมูล ธพว.” ร่วมกับ “ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา” สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

จัดทำ “ผลสำรวจความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ ไตรมาส 3/2566 และคาดการณ์อนาคต” จากการสำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนกว่า 500 ตัวอย่างทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกประเภทอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจของเอสเอ็มอีในไตรมาส 3/2566 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (2/2566) จาก 65.90 มาอยู่ที่ 66.40 

 

เนื่องจากผู้ประกอบการ มีการปรับตัวด้านแผนการตลาดต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึง มีความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง

 

ส่วนแนวโน้มความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน จาก 65.61 มาอยู่ที่ระดับ 66.79 เพราะได้รับอานิสงส์เข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวสิ้นปี หรือไฮซีซั่น ร้านค้า ภาคเอกชนต่างๆ มักจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และคาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามามากขึ้น

 

เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ แยกตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาคบริการโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากได้ทำสัญญาโครงการก่อสร้างใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นสูงรองลงมา เนื่องจากมีการเดินทางและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้ระดับความเชื่อมั่นในภาพรวมยังคงสูง

 

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยฯ ได้สำรวจปัญหาด้านแรงงานในผู้ประกอบการเอสเอ็มอี พบว่า 76.94% มีความกังวลด้านภาระต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ รองลงมา 23.73% ขาดแคลนแรงงานทักษะหลากหลายที่สามารถหมุนเวียนงานได้ ขณะที่ 21.29% ขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล และ 17.96% ต้องลดจำนวนแรงงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ

 

ส่วนทักษะที่ต้องการเสริมให้แรงงานได้เรียนรู้เพิ่มเติม มากที่สุดถึง 59.42% คือ การตลาดและขายผ่านช่องทางออนไลน์ ตามด้วย 54.77% ทักษะเฉพาะทางตามสาขาอาชีพ 35.48% การตลาดและขายหน้าร้าน และ 29.71% ทักษะภาษาต่างประเทศ

 

นางสาวนารถนารี กล่าวเสริมว่า จากผลสำรวจดังกล่าว ดัชนีเชื่อมั่นที่ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน และอนาคต โดยเฉพาะปัญหาต้นทุนธุรกิจ และทักษะแรงงาน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนอยู่ในระดับต่ำ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า