Newsพยายามให้เต็มที่ก่อน ‘สกลธี’ ค้านการโอนคืนรถไฟฟ้า 3 สายของกรุงเทพมหานคร เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องทุนและความซ้ำซ้อน

พยายามให้เต็มที่ก่อน ‘สกลธี’ ค้านการโอนคืนรถไฟฟ้า 3 สายของกรุงเทพมหานคร เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องทุนและความซ้ำซ้อน

 

สืบเนื่องจากกรณีที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เสนอให้มีการโอนคืนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าที่มีการลงทุนใหม่ 3 เส้นทางคืน ซึ่งประกอบด้วยสายสีเทา ระยะที่ 1 (วัชรพล – ทองหล่อ) สายสีเงิน (บางนา – สุวรรณภูมิ) และสายสีฟ้า (ดินแดง – สาทร) คืนกลับให้กระทรวงคมนาคม

 

เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แสดงความไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่าทั้ง 3 เส้นทางเป็นโครงการที่อยู่ในภารกิจของ กทม. และได้ทำการศึกษามานานแต่ยังไม่ได้ลงมือทำเพราะใช้งบประมาณเยอะพอสมควร 

 

ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทางผู้บริหาร กทม. ได้ให้ข่าวกับทางสื่อสารมวลชน ประกอบกับให้เหตุผลว่าการโอนภารกิจกลับคืนกระทรวงคมนาคมจะได้ประสานคิดค่าตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีอื่นภายใต้กระทรวงคมนาคมง่ายกว่าไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ประโยชน์จะได้เกิดกับประชาชนสูงสุด

 

นายสกลธีระบุว่าแนวทางของ กทม. มีทั้งส่วนถูกและไม่ถูก ใน 3 ข้อดังต่อไปนี้ 

 

  1. เรื่องการลงทุนมีส่วนถูกคือถ้าให้ กทม. ลงทุนเพียงฝ่ายเดียวก็คงเกิดยากและกระทบกับงบประมาณในส่วนอื่นที่ต้องดูแลพี่น้องชาวกรุงเทพฯ แต่โครงการใหญ่แบบนี้โดยเฉพาะทั้ง 3 เส้นทางที่มีผู้อยู่อาศัยและศักยภาพในการใช้บริการจำนวนมากย่อมดึงดูดเอกชนให้มาร่วมทุนได้อย่างแน่นอน

    รวมถึงยังสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์โดนรอบสถานีในรูปของการเช่า การโฆษณาหรือการเชื่อมต่อสถานีกับอาคารต่างๆ กลับคืนมาได้ไม่มากก็น้อย 

 

  1. หรือถ้าหาเอกชนร่วมทุนไม่ได้จริงๆ ซึ่งนายสกลธีกล่าวว่ามีโอกาสแต่ยากมากเพราะทั้ง 3 เส้นทางมีศักยภาพในการดึงดูดเอกชนมาลงทุน และด้วยสายสัมพันธ์ของท่านผู้ว่าฯ กับรัฐบาลน่าจะแบ่งงบประมาณ มาลงทุนในโครงการเหล่านี้ได้ไม่มากก็น้อย

 

  1. เรื่องค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน นายสกลธีกล่าวว่าควรเป็นเช่นนั้น แต่การโอนทั้ง 3 เส้นทางไปให้กระทรวงคมนาคมนั้น หากว่าก่อสร้างเสร็จทั้ง 3 เส้นทาง ส่วนใหญ่ก็ต้องมาเชื่อมกับสายสีเขียว ของ กทม. ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของกรุงเทพฯ อยู่ดี

    และความซ้ำซ้อนก็ยังคงมีอยู่ ทางที่ถูกควรจะนั่งเจรจากันระหว่าง กทม. กับรัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนและใช้ตั๋วร่วมใบเดียวให้เกิดให้ได้ซักที เหมือน Octapus card ของฮ่องกง ที่ใช้ได้เกือบทุกการคมนาคมขนส่งและร้านสะดวกซื้อ

 

  1. ถึงที่สุดถ้าเลือกโอนไปให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงคมนาคมรับขึ้นมาก็ใช่ว่าโครงการจะเกิดได้เร็ว เนื่องจากในส่วนของทางกระทรวงคมนาคมก็มีโครงการอีกมากมายของตัวเองที่ต้องผลักดันทั่วประเทศ รวมถึงรถไฟรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ อีกหลายเส้นทางที่อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมก็ยังไม่เกิด

    ยิ่งโครงการเรือธงของกระทรวงอยากจะทำเรื่อง land bridge ซึ่งใช้งบประมาณเป็นล้านๆ บาท ความเร่งด่วนของรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายในกรุงเทพฯ น่าจะไม่อยู่ในสายตาของทางกระทรวงแน่นอนครับ

 

นายสกลธีกล่าวว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดก็อยากจะหวังเห็นทีมผู้บริหาร  กทม. ชุดนี้ใช้ความพยายามสูงสุดทุกทางในการที่จะให้โครงการเกิดเสียก่อน ถ้าเดินแล้วมันไม่ได้หรือติดจริงๆ จะยกโอนให้กระทรวงคมนาคม ส่วนตัวคิดว่าคนกรุงเทพฯ ก็คงไม่ติดใจ


นอกจากนี้นายสกลธียังสนับสนุนให้มีการขนส่งสาธารณะสายรองหรือ feeder ที่จะพาคนเข้าขนส่งขนาดใหญ่ให้มากขึ้น ให้คนกรุงเทพเดินทางได้สะดวกขึ้นเพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีบ้านหรือคอนโดอยู่ในระยะเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า