Newsบารอนเจคอบ รอธไชลด์ มหาเศรษฐีผู้ใจบุญต่อชาวยิว อิสราเอล กับจุดเริ่มต้นของ โศกนาฏกรรมการความขัดแย้งในปาเลสไตน์

บารอนเจคอบ รอธไชลด์ มหาเศรษฐีผู้ใจบุญต่อชาวยิว อิสราเอล กับจุดเริ่มต้นของ โศกนาฏกรรมการความขัดแย้งในปาเลสไตน์

เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา บารอนเจคอบ รอธไชลด์ บารอนรอดชายด์คนที่ 4 ได้เสียชีวิตที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สิริรวมอายุได้ 87 ปี เป็นขุนนางแห่งสหราชอาณาจักร, นายธนาคารเพื่อการลงทุน, นักธุรกิจ และสมาชิกตระกูลนายธนาคารรอดชายด์

 

นอกจากนี้ เขายังถือได้ว่าเป็นผู้มีคุณูปการต่ออิสราเอลอย่างมาก ผ่านงานของมูลนิธิยัด ฮานาดิฟ (มูลนิธิ รอดชายด์) มูลนิธิที่อุทิศเพื่อพัฒนาอิสราเอลให้เป็นสังคมที่มีสุขภาพดี มีชีวิตชีวา และเป็นประชาธิปไตย มุ่งมั่นต่อค่านิยมของชาวยิว (ไซออนนิส – Zionism) 

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 (ตามเวลาท้องถิ่น) นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้โพสต์ทวิตเตอร์เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่บารอนรอธไชลด์ว่า

 

“ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวรอธไชลด์ ต่อการจากไปของ ลอร์ดเจคอบ รอธไชลด์ ผู้ใจบุญที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นผู้สนับสนุนที่ยิ่งใหญ่ของรัฐอิสราเอล

 

ในศตวรรษที่ 19 บารอน(วอลเทอร์) รอธไชลด์ได้มีส่วนสนับสนุนที่ขาดไม่ได้ในการวางรากฐานของรัฐยิวในอนาคต ในศตวรรษที่ 20 และ 21 ลอร์ดเจคอบ รอธไชลด์ ยังคงสานต่อประเพณีที่น่าภาคภูมิใจนี้ ชาวอิสราเอลจะระลึกถึงพระองค์ด้วยความกตัญญูและความซาบซึ้งชั่วนิรันดร์” [1]

 

และสื่ออิสราเอลต่างพากันลงบทความเพื่อสดุดีในตัวเขา [2][3][4] ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณูปการที่เขามีต่อประเทศอิสราเอล ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาของชาวยิวในอิสราเอล ในขณะที่สื่อโลกอาหรับกลับกล่าวว่า บารอนเจอคบ รอธไชลด์ปิดปากเงียบมาตลอด เมื่อเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเข้ายึดครองและล่าอาณานิคมในปาเลสไตน์ [5]

 



ตระกูลรอธไชลด์ เป็นตระกูลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกการเงิน ซึ่งในเว็บไซต์ของบริษัท รอธไชลด์ แอนด์ โค เองยังระบุว่าตนเองเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมีสาขามากกว่า 40 แห่งทั่วโลก [6] 

 

ประวัติศาสตร์ของตระกูลรอธไชลด์ย้อนไปได้ไกลถึง ค.ศ. 1577 ในแฟรงค์เฟิร์ต, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์(ปัจจุบันคือเยอรมนี) ประกอบธุรกิจค้าขาย และมีสายสัมพันธ์อันดีกับขุนนางศักดินา ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจธนาคารในเวลาต่อมา และแผ่ขยายอิทธิพลสู่ออสเตรีย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และเนเปิลส์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี) ก่อนที่จะแผ่นขยายอิทธิพลไปทั่วโลกในปัจจุบัน

 

ตระกูลรอธไชลด์มีบทบาทด้านการเงินในความขัดแย้งทางการเมืองระดับภูมิรัฐศาสตร์หลายครั้งไม่ว่าจะในสงครามนโปเลียนระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศส กับชาติพันธมิตรยุโรป (ค.ศ. 1803 – 1815)[7] และการประกาศอิสรภาพของบราซิล [8] และรวมไปถึงการให้เงินกู้ยืมแก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เพื่อการทำสงครามในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อีกด้วย [9] 

 

สำหรับการก่อตั้งประเทศอิสราเอล ตระกูลรอธไชลด์ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ต้น โดยบารอนวอลเทอร์ รอธไชลด์ บารอนแห่งรอธไลด์คนที่ 2 (ลุงของบารอนเจคอบ รอธไชลด์) เป็นผู้นำในขบวนการไซออนิสต์ (Zionism) และเป็นผู้ผลักดัน “คำประกาศบัลโฟร์ (Balfour Declaration)” ใน ค.ศ. 1917 เพื่อผลักดันให้อังกฤษสนับสนุนการก่อตั้งรัฐยิวในปาเลสไตน์ [10]

 

อีกทั้งตระกูลรอธไชลด์ ยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดตั้งประเทศอิสราเอลมาตั้งแต่ต้น ด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการเดินทางและตั้งรกรากของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนั่นเป็นผลให้ชื่อของสถานที่ต่าง ๆ ในอิสราเอล ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกในตระกูลรอธไชลด์หลายแห่ง

 

ช่วงทศวรรษ 1880 ตระกูลรอธไชลด์ก่อตั้งมูลนิธิยัด ฮานาดิฟ เพื่อให้การสนับสนุนรัฐอิสราเอล ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการปูรากฐานความแข็งแกร่งด้านทรัพยากรมนุษย์ให้แก่รัฐอิสราเอลมาโดยตลอด และบารอนเจคอบ รอธไชลด์เป็นประธานคนล่าสุดก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงไปเมื่อไม่นานนี้

 

และถึงแม้ว่ามูลนิธิยัด ฮานาดิฟของตระกูลรอธไชลด์ จะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับด้านการทหาร และการใช้กำลังในการเข้ารุกราน แย่งชิงดินแดนจากชาวปาเลสไตน์ แต่สิ่งที่ตระกูลรอธไชลด์ไม่อาจปฏิเสธได้คือ พวกเขามีส่วนในการเริ่มต้น และเป็นผู้ให้การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรจำนวนมากแก่รัฐอิสราเอล

 

ทำให้อิสราเอลมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากเพียงพอ ที่จะหล่อเลี้ยงกองทัพให้มีความแข็งแกร่งมากเพียงพอที่จะยืนท่ามกลางวงล้อมของชาติมุสลิม และทำการโจมตีชาวปาเลสไตน์อย่างอุกอาจ สวนกระแสความต้องการสันติภาพของนานาชาติ 

 

ถึงแม้ว่ามือของตระกูลรอธไชลด์จะมิได้เปื้อนเลือด แต่พวกเขาก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาเองก็มีส่วนในการสร้างโศกนาฏกรรมครั้งนี้เช่นกัน

อ้างอิง

[1] Benjamin Netanyahu, 27 Feb 2024, https://twitter.com/netanyahu/status/1762570533441331560 

[2] The Jerusalem Post, “Jewish, British banker Jacob Rothschild dies aged 87”, https://www.jpost.com/diaspora/article-788949

[3] The Jerusalem Post, “Lord Jacob Rothschild, upheld family’s legacy to benefit UK, Israel, Jews worldwide”, https://www.timesofisrael.com/lord-jacob-rothschild-upheld-familys-legacy-to-benefit-uk-israel-jews-worldwide/ 

[4] The Times of Israel, “Lord Jacob Rothschild, banking dynasty scion, backer of Jewish causes, dies at 87”, https://www.timesofisrael.com/lord-jacob-rothschild-banking-dynasty-scion-backer-of-jewish-causes-dies-at-87/ 

[5] The New Arab, “Who was Lord Jacob Rothschild? What was his connection to Israel and Zionism?”, https://www.newarab.com/news/who-was-jacob-rothschild-what-his-connection-israel 

[6] Rothschild and Co, https://www.rothschildandco.com/en/ 

[7] Niall Ferguson (2008), “The Ascent of Money: A Financial History of the World”, The Penguin Press HC, ISBN 978-1-59420-192-9

[8] Caroline Shaw (2003), “ROTHSCHILDS AND BRAZIL:An Introduction to Sources in The Rothschild Archive”, https://web.archive.org/web/20130921054512/http://lasa-2.univ.pitt.edu/LARR/prot/fulltext/vol40no1/Shaw.pdf 

[9] Takahashi Korekiyo, “the Rothschilds and the Russo-Japanese War, 1904–1907”, https://web.archive.org/web/20070216130517/http://www.rothschildarchive.org/ib/articles/AR2006Japan.pdf 

[10] Britannica, “Balfour Declaration United Kingdom [1917]”, https://www.britannica.com/event/Balfour-Declaration 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า