Newsกระแสพลังงานทดแทน และความจำเป็นที่ทำให้สหภาพยุโรป มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง สูงมากกว่า 100% โดยศิราวุธ ภุมมะกสิกร

กระแสพลังงานทดแทน และความจำเป็นที่ทำให้สหภาพยุโรป มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง สูงมากกว่า 100% โดยศิราวุธ ภุมมะกสิกร

“กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin)” เป็นประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึง เมื่อมีการพูดถึงการสร้างโรงงานไฟฟ้าเพิ่ม ซึ่งล่าสุด เมื่อมีการประกาศการเซ็นสัญญาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ปากแบ่ง ใน ประเทศลาว ก็มีกระแสคัดค้านโดยยกเรื่องกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่มากเกินไปขึ้นมากล่าวอ้างเช่นกัน

 

ซึ่งจากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่สูงกว่าระดับความต้องการจริงถึง 39% [1] ในขณะที่ข้อมูลของฝ่ายคัดค้าน มักจะระบุว่ามีเพียง 15 – 20 % ก็เพียงพอแล้ว [2]

 

เมื่อหันไปมองสหรัฐอเมริกา จะเห็นว่าหน่วยงาน NERC (North American Electric Reliability Corporation) ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมอง (Think Tank) ของสหรัฐอเมริกา เคยแนะนำเป้าหมายพลังงานสำรองในทวีปอเมริกาเหนือสำหรับปี พ.ศ. 2567 ว่าในแต่ละพื้นที่ควรมีพลังงานสำรองสูงสุด (Peak Anticipated Reserve Margin) อยู่ที่ระดับ 7 – 37% [3]

 

ในขณะที่หลายประเทศในสหภาพยุโรป  กลับมีตัวเลขพลังงานสำรองในระดับที่สูงกว่า 90 % [1] โดยเฉพาะสเปน ที่มีสูงลิ่วถึง 180% [1] (อิตาลี 136, โปรตุเกส 130% เดนมาร์ก 130% เยอรมนี 111% และเนเธอแลนด์ 93%) [1]

 

ซึ่งมีสาเหตุมาจาก นโยบายด้านพลังงานของสหภาพยุโรป ที่ต้องการลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิว (Fossil Fuel) หันมาใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy) แทน โดยกำหนดเป้าหมายว่าในปี 2030 (พ.ศ. 2573) สหภาพยุโรปจะใช้พลังงานทดแทนในอัตราส่วน 55% ของพลังงานทั้งหมด [4]

อะโกรา เอนเนอกี้เวนเดอร์ (ภาษาเยอรมัน: Agora Energiewende) สถาบันคลังสมองด้านพลังงานในยุโรป จัดทำรายงานเรื่อง “ระบบพลังงานในยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือใน ค.ศ. 2030 (The Southeast European power system in 2030)” ระบุว่า เพื่อการนี้ในบางช่วงเวลาอาจจะมีค่ากำลังไฟฟ้าสำรองสูงเกิน 100% [4] เนื่องจากความไร้เสถียรภาพของแหล่งพลังงานสำรอง 

 

จุดแข็งของรูปแบบพลังงานแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นพลังงานฟอสซิลที่มาจากการเผาไหม้ และพลังงานนิวเคลียร์คือ ความมีเสถียรภาพ และสามารถจะผลิตเมื่อไรก็ได้ โดยไม่เกี่ยงเวลา และสภาพดินฟ้าอากาศ ในขณะที่พลังงานทดแทน สามารถผลิตได้ตามช่วงโอกาส

 

ตัวอย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถผลิตได้เฉพาะในช่วงเวลากลางวันที่ไม่มีฝนตก หรือเมฆหนาทึบ หรือพลังงานลมที่ผลิตได้ในช่วงเวลาที่มีลมแรง หรือพลังงานน้ำที่มีข้อจำกัดในฤดูแล้งที่มีน้ำน้อย หรือฤดูน้ำหลากที่อาจสร้างปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ใต้เขื่อน

 

การมีแหล่งพลังงานพร้อมใช้ อาทิเช่นพลังงานถ่านหิน หรือน้ำมัน จึงยังคงมีความจำเป็นในระบบการผลิตไฟฟ้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบพลังงาน ยิ่งมีความต้องการพลังงานทดแทนมาก ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องมีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่สูงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

เมื่อไรก็ตามที่ประเทศมีความสามารถในการป้อนไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไม่มากเพียงพอกับความต้องการไฟฟ้าในเวลานั้น ผลที่ตามมาคือการเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง (Black Out) ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน แต่ยังทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้

 

มีตัวอย่างตัวเลขความเสียหายจากการเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างในรัฐเซาท์ ออสเตรเลีย (South Australia) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 59 ซึ่งเกิดไฟดับเป็นวงกว้างกินเวลา 12 ชั่วโมง และสร้างมูลค่าความเสียหายมากถึง 367 ล้านออสเตรเลียนดอลลาร์ (ประมาณ 11,010 ล้านบาท) [5] เลยทีเดียว

 

สำหรับข้อกังวลใจเรื่องการมีพลังงานสำรองที่มาก จะทำให้ค่าไฟสูงมากขึ้นตามด้วยนั้น ก็ไม่ถือว่าจริงเลยเสียทีเดียว เนื่องจากความผันผวนของค่าไฟฟ้านั้นมาจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก มักจะผันผวนตามราคาน้ำมัน ซึ่งมีความผันผวนสูง ในขณะที่ต้นทุนอื่น ๆ เป็นค่าใช้จ่ายคงที่

 

ดังนั้นยิ่งประเทศมีสัดส่วนของพลังงานทดแทนที่สูง (ซึ่งทำให้สัดส่วนของกำลังผลิตสำรองสูงตามไปด้วย) ก็จะยิ่งทำให้ค่าต้นทุนพลังงานมีความเสถียรสูงขึ้นตามไปด้วยซ้ำไป

 

นอกจากนี้ ในอนาคต กระแสโลกกำลังมุ่งไปสู่สังคมพลังงานสีเขียว ที่มีการใช้พลังงานทดแทนในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผิดกับในอดีตที่เน้นการใช้พลังงานฟอสซิล ที่ก่อให้เกิดมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม แต่มีเสถียรภาพที่สูง


มีความเป็นไปได้ที่ในอนาคต แนวคิดว่าประเทศควรจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่ระดับ 15 – 30% อาจจะกลายเป็นอดีตที่ล้าสมัย ตัวเลขการสำรองไฟในอนาคต มีแนวโน้มที่จะใกล้เคียง หรือมากกว่า 100% ในอนาคตด้วยซ้ำไป


ข้อเท็จจริงท้ายบทความ


ในปี พ.ศ. 2559
– สเปน มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 180%
– อิตาลี มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 136%
– โปรตุเกส มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 130%
– เดนมาร์ก มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 130%
– เยอรมนี มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 111%
– เนเธอแลนด์ มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 93%
– จีน มีระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง 91%

ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

อ้างอิง

 

[1] Thairath Money (พ.ศ. 2566), “ก.พลังงานโต้สำรองไฟฟ้า 60%”, https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2663986
[2] Nation (พ.ศ. 2566), “ชวนทำความเข้าใจ ปริมาณไฟฟ้าสำรองของไทย ไม่ได้ทำให้ค่าไฟแพงอย่างที่คิด”, https://www.nationtv.tv/economy-business/378913578
[3] Energy KnowedgeBase, “Reserve Margin”, https://energyknowledgebase.com/topics/reserve-margin.asp 

[4] Agora Energiewende (2019), “The Southeast European power system in 2030”, https://static.agora-energiewende.de/fileadmin/Projekte/2019/Southeast_European_power_system_in_2030/154_SoutheastEuropPowerSys_WEB.pdf
[5] ดร.ภิญโญ มีชำนะ (2021), “บทเรียนการเกิด Blackout ที่รัฐเท็กซัส และรัฐออสเตรเลียใต้ (ตอนที่ 1)”, https://thaipublica.org/2021/02/pinyo-meechumna10/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า