Newsค้านเอาผิดประชามติเอกราชประชาชาติและก้าวไกลประสานเสียงค้าน ชี้เป็น ‘เสรีภาพทางวิชาการ’ ที่กระทำได้

ค้านเอาผิดประชามติเอกราชประชาชาติและก้าวไกลประสานเสียงค้าน ชี้เป็น ‘เสรีภาพทางวิชาการ’ ที่กระทำได้

26 มิ.ย. 66 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวถึงกรณี กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะมีการแจ้งความดำเนินคดีล็อตที่ 2 กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทำแบบสอบถามประชามติเอกราชปาตานีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ว่า “ไม่น่าเป็นห่วง”

 

พ.ต.อ. ทวีกล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นระบบกล่าวหา อะไรที่เป็นอาญาแผ่นดินก็สามารถไปกล่าวโทษได้ แต่กระบวนการยุติธรรมจะพิจารณาข้อเท็จจริง จึงไม่น่าเป็นห่วง

 

อีกทั้งในปี 62 กอ.รมน. เคยกล่าวหาการปราศรัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 1 เปลี่ยนสถานะรัฐเดี่ยวของไทย

 

“แต่เรายังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งเป็นสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะมีทนายหรือไปแก้ต่างได้ แต่ผมเป็นห่วงว่าการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง ซึ่งการไปขจัดตรงนี้จะต้องมีกฎหมายเฉพาะห้ามไว้ จึงเชื่อว่าตำรวจจะต้องดูข้อเท็จจริงในส่วนนี้ 

 

ขณะเดียวกันหากเป็นการกล่าวหาเกินจริง ผู้ถูกกล่าวหาก็มีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีกลับได้ เหมือนปี 2562 ที่ผู้ถูกกล่าวหาไปแจ้งความไว้ที่กองปราบปราม หลังจากนั้นมีการส่งเรื่องต่อไปที่ ป.ป.ช. ซึ่งเรื่องก็ยังคาอยู่”

 

นอกจากนี้ พ.ต.อ. ทวียังกล่าวว่า เชื่อว่าคนของพรรคที่ไปเข้าร่วมในเวทีเสวนา วันที่ 7 มิ.ย. นั้น เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ

 

ด้าน นายรอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ประเด็นนี้มีการถกกันในคณะทำงานสันติภาพชายแดนใต้ด้วย

 

“เราประเมินสถานการณ์กันอยู่เรื่อยๆ ภายใต้การนำของรัฐบาลพลเรือน ซึ่งเป็นความยากลำบากที่เรากำลังเจอ เป็นความกังขาที่ทุกคนกำลังเจอกับการจัดงานของนักศึกษา เรากำลังคิดถึงภาวะผู้นำของรัฐบาลพลเรือนที่เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย เคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เคารพต่อหลักการบูรณภาพแห่งดินแดนในการกำหนดใจตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ”

 

การฟ้องร้องในลักษณะนี้ต้องถูกทบทวนอย่างหนัก การทำกิจกรรมอย่างนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว มีกิจกรรมที่มีการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ บนพื้นฐานที่ว่าการเมืองที่แตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ ในฐานะที่เราเป็นรัฐบาล และหน่วยงานความมั่นคงจำเป็นต้องรับฟัง ทำความเข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสันติ

 

“อย่าลืมว่าเยาวชนกลุ่มที่ทำกิจกรรมนี้ หากนับดูอายุคงไม่เกิน 20 ปี หรือ 20-21 ปี หมายความว่าเขาเติบโตมาท่ามกลางความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรงจากทุกฝ่าย ปัญหาคือถ้าไม่สามารถยอมรับโอบอุ้มเขา แม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่ต่างกันขนาดไหน สังคมไทยไม่มีพื้นที่ให้กับคนมีความเห็นต่าง อนาคตของประเทศนี้จะอยู่อย่างไร”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า