Newsสมรสเท่าเทียมผ่านสภา เตรียมเป็นประเทศที่ 35 ของโลกที่ประกาศใช้ กฎหมายสมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียมผ่านสภา เตรียมเป็นประเทศที่ 35 ของโลกที่ประกาศใช้ กฎหมายสมรสเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 66 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยินดีที่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) (ฉบับที่ …) พ.ศ… หรือ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านวาระแรกจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

โดยนายกฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ (X) ว่า “ผมขอแสดงความยินดีกับพี่น้อง LGBTQIA+ ทุกท่านที่ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ได้ผ่านการโหวตวาระที่หนึ่งด้วยคะแนนท่วมท้น วันนี้ ก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นแล้วครับ“ ซึ่งการรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ในครั้งนี้ ที่ประชุมสภาฯ ลงคะแนนเห็นด้วยถึง 369 เสียง โดยมีหลักการสำคัญคือ การรับรองการสมรสสำหรับบุคคลสองคนที่จะครอบคลุมบุคคลทุกเพศ จากเดิมที่อนุญาตให้แต่เฉพาะชาย – หญิง จดทะเบียนสมรสได้เท่านั้น 

 

โดยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายรับรองเพศสภาพ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ Bangkok World Pride และส่งเสริมงาน Pride Parade รวมทั้งการขยายสิทธิบัตรทองเพื่อคนข้ามเพศ

อีกทั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังได้หารือและพบปะกับบุคคลสำคัญด้าน LGBTQIA+ และสมาชิกประธานผู้บริหารของ InterPride ซึ่งพร้อมเสนอให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพการจัดงาน World Pride Event ในปี 2028 อีกด้วย

 

“รัฐบาลคำนึงถึงการสร้างความเท่าเทียมในสังคมเป็นหลักสำคัญ โดยเชื่อมั่นว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับอย่างเสมอภาค ทุกเพศสภาพ เพศวิถี มีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน การลงมติผ่านร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวแรกครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ และสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และภาคประชาชน ให้เป็นกฎหมายเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง LoveWins” นายชัย กล่าว

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว ใน 34 ประเทศและดินแดนทั่วโลก ซึ่งเมื่อ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมของไทยมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นลำดับที่ 35 ของโลก และเป็นแห่งที่ 3 ในเอเชีย ต่อจาก ไต้หวันและเนปาล ที่อนุญาตให้ใช้กฎหมายดังกล่าวได้





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า