NewsNet Zero กับ Carbon Footprint สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องตระหนัก ก่อนสินค้าไทยจะถูกกีดกันในปี 2023

Net Zero กับ Carbon Footprint สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องตระหนัก ก่อนสินค้าไทยจะถูกกีดกันในปี 2023

เมื่อเราพูดถึงเรื่องโลกร้อน หรือ “NetZero” หรือ “การลดคาร์บอนให้เป็นศูนย์” ที่องค์กรยักษ์ใหญ่หลายแห่งต่าง ออกมาขยับขับเคลื่อนในเรื่องนี้อย่างเข้มข้น หนึ่งองค์กรที่เห็นนั้นคือ GC ที่ออกมาขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เพื่อต้องการสร้างการรับรู้ และชวนให้ทุกคนมาร่วมไม้ร่วมมือ

สอดคล้องกับทที่เราอยากบอกคุณว่า “ถ้าคุณไม่เริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ในอนาคตธุรกิจคุณอาจอยู่ยาก” หรือ “ในปีหน้า (2023) สินค้าของคุณอาจแข่งขันไม่ได้อีกต่อไปในตลาดใหญ่อย่างยุโรป”


———-
สหภาพยุโรปกับ CBAM ที่จะกระทบไทยในปีหน้า
———-
เมื่อเดือนธันวาคมปี 2019 ทางสหภาพยุโรป หรือ EU ได้ออกแผน ‘การปฏิรูปสีเขียว’ (European Green Deal) โดย EU ตั้งเป้าว่าประเทศในกลุ่มสมาชิกจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 60% ภายในปี 2030 และทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Climate Neutral) ภายในปี 2050

จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว ทำให้ EU กลายเป็นทวีปที่เอาจริงกับเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน ทั้งในภาคอุตสาหกรรม สินค้า และบริการ

โดยในปี 2021 รัฐสภายุโรปได้ผ่านมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน โดยวางแผนการบังคับใช้ในปี 2023 หรือในปีหน้าที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนนี้

ซึ่งหมายความว่าในปีหน้า หากสินค้าไทยตัวไหน ไม่ผ่านมาตรฐานการลดการปล่อยคาร์บอนที่ EU กำหนดไว้ ก็จะโดนมาตราภาษีที่สูงมาก จนกระทบต่อต้นทุนการแข่งขันในตลาดยุโรป และทำให้ผู้นำเข้า หันไปหาผู้ปะรกอบการที่ทำได้ตามมาตรฐานแทน ซึ่งเท่ากับเป็นการกีดกันทางการค้าโดยอ้อมนั่นเอง

———-
ฉลากคาร์บอน (Carbon Label) มาตรฐานใหม่ที่จะมาคู่กับ ISO
———-

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็น ‘ฉลากคาร์บอน’ (Carbon Label) ที่ติดอยู่บนสินค้าต่างๆ ในร้านค้า เพื่อบอก Carbon Footprint หรือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ว่าในแต่ละขั้นตอนการผลิต มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเท่าใด

ซึ่งในอนาคตหากผู้ผลิตสินค้ารายใด ไม่สามารถทำ Carbon Footprint ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ประเทศต้นทางรับได้ สินค้าเหล่านั้นก็จะถูกปฏิเสธในการนำเข้า และผู้นำเข้าก็จะหันไปหาผู้ส่งออกรายใหม่ที่สามารถตอบโจทย์การลดคาร์บอนที่ทางการกำหนดไว้ได้แทน

และกระบวนการผลิตที่ว่านั้น ครอบคลุมในหลายมิติทั้งการผลิตตัวสินค้า หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ไปจนถึงขั้นตอนการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต หรือการขนส่ง

———-
Net Zero อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด
———-
หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้มาจนถึงตรงนี้ ทุกท่านคงได้ทราบแล้วว่าตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป หากเราไม่ใส่ใจกับเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน โอกาสที่สินค้าไทยจะโดนกำแพงภาษีและการกีดกันทางการค้า จากประเด็น Carbon Footprint นั้น ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก

ดังนั้นเรื่อง Net Zero จึงไม่ใช่แค่ “แคมเปญรักษ์โลก” ที่เป็น CSR ของบริษัทใหญ่แบบที่เราเคยเข้าใจกันอีกต่อไป แต่มันคือจุดเริ่มต้นของมาตรฐานการค้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

การกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมุ่งเป้าสู่ Net Zero ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จึงถือเป็นการประกาศว่า บริษัทที่ใหญ่และมีมูลค่ามากที่สุดของประเทศไทย กำลังทำตัวเป็นเรือธงที่จะพาประเทศปรับตัวและมุ่งไปสู่ศึกครั้งใหม่ที่คนไทยต้องรับมือในอนาคต

ซึ่งในงาน GC Symposium 2022 ที่ผ่านมา GC ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าประเด็น Net Zero อยู่ใกล้ตัวในทุกมิติชีวิตของเราทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

ดังนั้นวันนี้ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องเริ่มเข้าใจว่า “Net Zero” คือเกมใหม่ของโลกใบนี้ ที่กำลังจะมาถึงตัวเราในไม่ช้า และหากเราไม่เริ่มต้นที่จะปรับตัวตั้งแต่วันนี้ เราอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลังโดยไม่รู้ตัวในอีกไม่ช้า
บทความโดย กิตติธัช ชัยประสิทธิ์

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า