Articles[Net Zero คืออะไร]

[Net Zero คืออะไร]

คงกล่าวได้ว่าวิกฤตการณ์เปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ หรือ climate change เป็นสิ่งที่มนุษยชาติในปัจจุบันมีความรับรู้และเข้าใจ (awareness) มากขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้น องค์กรทุกระดับในสังคมตั้งแต่รัฐ เอกชน ไปจนถึงปัจเจกบุคคลนั้นก็เห็นถึงความสำคัญในการร่วมกันหาทางออกและแก้ไขปัญหานี้ 

 

การร่วมกันคิดค้นวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหา climate change นั้นนำไปสู่แนวคิดและข้อแนะนำที่หลากหลาย สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับไปปรับใช้ ตั้งแต่แนวคิดการรีไซเคิล (recycling) หรือการออกกฎหมายจากภาครัฐเพื่อควบคุมภาคอุตสาหกรรมไม่ให้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงนโยบายระดับชาติอื่น ๆ

 

ในมุมของนโยบายระดับชาติ ที่เกี่ยวข้องกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นั่นก็คือการสร้างกรอบความคิดและแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาเพื่อพุ่งเป้าไปสู่การแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน

 

โดยหนึ่งในกรอบความคิดและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในปัจจุบัน ที่เริ่มมีการผลักดันให้ปรับใช้ในหลายประเทศทั่วโลกนั่นก็คือ แนวคิดที่เรียกว่า Net Zero Emission และ Carbon Neutral การทำความเข้าใจทั้งสองแนวคิดนี้ อาจจะทำให้เราเห็นภาพการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน ที่จะนำไปสู่การตรวจสอบและเรียกร้องความรับผิดชอบ รวมถึงนำไปสู่การตัดสินใจสนับสนุนนโยบายหรือการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรเหล่านี้ ว่าอยู่ในกรอบแนวคิดดังกล่าวหรือไม่

 

โดยแนวคิด Net Zero Emission ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์” นั่น ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภทต่าง ๆ ให้เป็นศูนย์เท่านั้น แต่รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกให้ออกจากสภาพอากาศ เช่น การปลูกป่า หรือสร้างพื้นที่สีเขียว เป็นต้น

 

ในขณะที่ Carbon Neutral หรือ “ความเป็นกลาง/เป็นศูนย์ทางคาร์บอน” นั้นเกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจกชนิดเดียวนั่นคือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO) เพราะคาร์บอนไดออกไซด์คือตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศตัวหลัก และเป็นก๊าซที่สังคมปัจจุบันปล่อยออกมาสู่อากาศเยอะที่สุด

 

ปัจจุบันในฝั่งของภาครัฐ ก็ได้มีการดำเนินการในการวางกรอบและแนวทางปฏิบัติที่จะปรับใช้กับทุกภาคส่วนในสังคม ตัวอย่างเช่น การจัดทำแผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 (ค.ศ. 2021-2030) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดทำแผนพลังงานชาติ ของกระทรวงพลังงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้ตามกรอบ Carbon Neutral ในปีพ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และ Net Zero ในปีพ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) 

 

อย่างบริษัทในประเทศไทยที่ตอบสนองนโยบาย Net Zero มีมากมาย ตัวอย่างเช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีการประกาศปรับวิสัยทัศน์ใหม่เป็น “Powering life with Future energy and Beyond” หรือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังงานแห่งอนาคตและเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน” เพื่อให้สอดรับเทรนด์พลังงานโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ “Go Green” และ “Go Electric” มากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ PTT Group Clean and Green Strategy ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดําเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ลงร้อยละ 15 จากปริมาณการปล่อยคาร์บอนปี ค.ศ. 2020 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทบทวนเป้าหมายสำหรับการมุ่งสู่ Net Zero ของกลุ่ม ปตท.

 

และในส่วนของภาคเอกชนอื่นๆ นั้น ปัจจุบันเราก็เห็นแนวคิดและการดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เห็นชัดที่สุดนั่นก็คือ การก่อตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network) ที่นำโดยแบรนด์ชั้นนำใหญ่ ๆ ของเมืองไทยทั้งหลาย ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอีกหลายความริเริ่มของภาคเอกชนในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา climate change 

 

จะเห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก็ได้เริ่มดำเนินการในกรอบของ Carbon Neutral และ Net Zero แล้ว ในส่วนของประชาชน ก็ต้องเริ่มมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาวิกฤต climate change กันต่อไป

 

———————

 

 

#TheStructureArticle

#NetZero #CarbonNeutral #PTT

อ้างอิง 

[1] https://www.pier.or.th/blog/2022/0301/ 

[2] https://blog.pttexpresso.com/net-zero/ 

[3] https://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2019/07/NDC-Roadmap-for-Printing.pdf 

[4] http://www.eppo.go.th/epposite/index.php/th/petroleum/oil/link-doeb/item/17093-nep

.

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า