News“การเขียนโครงการเหมารวมในรูปแบบเดียวกันทุกกลุ่มเขต การตั้งราคาเครื่องปรับอากาศที่สูงเกินบริบทของห้องเรียน การกำหนดงบประมาณจากเบื้องบนเพื่อให้เบื้องล่างนำไปปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน จึงเหมือนการตีเช็คเปล่าที่ไม่ได้เจาะจงการใช้เงินให้เห็นชัดเจน” – นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภา กทม. และ สก. จากพรรคเพื่อไทย ,7 ก.ย. 66

“การเขียนโครงการเหมารวมในรูปแบบเดียวกันทุกกลุ่มเขต การตั้งราคาเครื่องปรับอากาศที่สูงเกินบริบทของห้องเรียน การกำหนดงบประมาณจากเบื้องบนเพื่อให้เบื้องล่างนำไปปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน จึงเหมือนการตีเช็คเปล่าที่ไม่ได้เจาะจงการใช้เงินให้เห็นชัดเจน” – นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภา กทม. และ สก. จากพรรคเพื่อไทย ,7 ก.ย. 66

เนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 66 สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบตัดงบประมาณโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่น จากข้อบัญญัติงบประมาณกรุงเทพมหานคร ปี 2567 ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า ฯ กทม . กล่าวชี้แจงในสภาว่านโยบายดังกล่าวคือการจัดพื้นที่ปลอดฝุ่นให้กับกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเด็กอายุ 1-6 ขวบ ก็เป็นกลุ่มเปราะบาง เพราะเป็นช่วงชีวิตที่มีการพัฒนาการของสมองรวดเร็วที่สุด มากที่สุด เป็นจุดสำคัญที่จะสร้างทรัพยากรให้มีคุณค่าในอนาคต

 

ด้าน น.ส. นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ สก. เขตคลองสามวา จากพรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกสภา กทม. เปิดเผยว่าคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ กทม.ปี67 เห็นด้วยกับโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล 6 กลุ่มเขต รวม 429 โรงเรียน 1,743 ห้อง รวมงบประมาณ 219,339,000 บาท ของสำนักการศึกษา แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ ประกอบกับโครงการโรงเรียนสู้ฝุ่นเดิม นำร่อง 32 แห่ง ที่กทม.ดำเนินการอยู่ไม่มีการขยายผลต่อยอดแต่อย่างใด

 

สำหรับเหตุผลหลักที่กรรมการวิสามัญได้อภิปรายในที่ประชุมสภา กทม. มีดังนี้

1 เอกสารโครงการของทุกกลุ่มเขตที่หน่วยงานนำมาแสดงมีรายละเอียดเหมือนกันหมด คือ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด  30,000 BTU จำนวน 2 เครื่อง ในขณะที่สภาพห้องเรียนทุกแห่งมีขนาดที่แตกต่างกัน บางห้องเรียนมีขนาดเล็กเกินไป ในขณะที่บางเขตมีจำนวนห้องเรียนอนุบาลไม่มาก และได้จัดให้เด็กอนุบาลได้เรียนรวมกัน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง และไม่จำเป็นต้องติดทุกห้อง ซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณเกินความจำเป็น

 

2 ไม่มีการระบุถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมา เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าไฟ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไม่มีการวางแผน เพียงแต่ต้องการใช้งบประมาณเท่านั้น

3 การติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพิ่มอาจไม่สอดคล้องกับนโยบายลดภาวะโลกร้อนของผู้บริหาร และเป็นการแก้ไขปัญหา PM2.5 ที่ไม่ถูกจุด

“การเขียนโครงการเหมารวมในรูปแบบเดียวกันทุกกลุ่มเขต การตั้งราคาเครื่องปรับอากาศที่สูงเกินบริบทของห้องเรียน การกำหนดงบประมาณจากเบื้องบนเพื่อให้เบื้องล่างนำไปปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน จึงเหมือนการตีเช็คเปล่าที่ไม่ได้เจาะจงการใช้เงินให้เห็นชัดเจน 

 

นอกจากนี้ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยไม่ได้จัดหาเครื่องฟอกอากาศเพิ่มอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันฝุ่นซึ่งมีจำนวนสูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ และเรื่องความปลอดภัยของเด็กไม่ได้มีแค่เรื่องฝุ่น แต่เรื่องของกล้องวงจรปิด ห้องน้ำที่เพียงพอและถูกสุขลักษณะ การปลูกต้นไม้ฟอกอากาศในโรงเรียน เป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน” โฆษกสภา กทม. กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า