
ประเทศไทยดีขึ้นยังไง เมื่อ ปตท. แปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจ
ในช่วงเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง ประเทศไทยต้องมีการขอกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำและยากลำบาก หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจจำนวนหนึ่งต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการบริหารองค์กรให้มีลักษณะเป็นเอกชน สร้างความมั่นคงและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ท่าอากาศยานไทย, ไปรษณีย์ไทย, อสมท., หรือ ปตท. ที่ต้องผ่านกระบวนการ Privatization ในการแปรรูปและเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
Privatization คือการเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้หน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจกลายเป็นองค์กรเอกชน แต่จะเป็นองค์กรเอกชนที่ภาครัฐ ผ่านกระทรวงการคลัง ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ คือมากกว่า 51% อย่างในกรณีของ ปตท. เมื่อปี 2536 ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย กระบวนการแปรรูปได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในปี 2543 และสิ้นสุดลงในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรในปี 2544
ผลจากการแปรรูปบริษัทครั้งนี้ทำให้ ปตท. เพิ่มการระดมทุนเพื่อขยายกิจการและพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันเท่านั้น และยังส่งผลสามารถปรับโครงสร้างหนี้และลดปัญหาสภาพคล่องได้ ทำให้ ปตท. สามารถแบกรับภาระแทนผู้บริโภคในด้านพลังงานได้ เช่น การปรับราคาน้ำมันในอัตราที่ต่ำกว่าตลาดโลกในปี 2548 ที่ ปตท.ต้องรับภาระเองกว่า 15,000 ล้านบาท และการให้ความร่วมมือกับภาครัฐผ่านมาตรการการอุดหนุนช่วยเหลือประชาชนและสังคมตลอดมา
หลังการแปรรูป ปตท. จึงเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถส่งรายได้เข้ารัฐมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการปันผลและภาษี อย่างไตรมาสแรกของปี 2566 ปตท. ก็เป็นบริษัทที่มีรายได้ส่งเข้ารัฐมากที่สุด ที่ประมาณ 18,979 ล้านบาท ถือเป็นความสำเร็จจากการแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจ
โดยการแปรรูปเช่นนี้นั้นยังส่งผลให้ ปตท. รวมถึงองค์กรที่สำคัญต่าง ๆ เหล่านี้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถขยายและพัฒนาศักยภาพของกิจการของตนเอง อีกทั้งยังนำกำไรไปลงทุนในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ และต่อประเทศ โดยเฉพาะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตลาดแรงงานของไทยอีกด้วย การเติบโตของรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูปในลักษณะนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการเติบโตควบคู่กับประเทศไปพร้อม ๆ กัน