Newsโกงแล้วแบ่งไม่เป็นไร? เปิดเหตุผลที่ประชาชนยอมรับการทุจริตทางการเมือง หากตนเองได้รับผลประโยชน์เฉพาะหน้า สะท้อนตรรกะวิบัติทางจริยธรรม

โกงแล้วแบ่งไม่เป็นไร? เปิดเหตุผลที่ประชาชนยอมรับการทุจริตทางการเมือง หากตนเองได้รับผลประโยชน์เฉพาะหน้า สะท้อนตรรกะวิบัติทางจริยธรรม

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567  ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 โพสต์เฟสบุ๊กเผยแพร่บทความทางวิชาการของตนเอง เรื่อง “โกงได้ไม่เป็นไรหากแบ่งหรือให้ประโยชน์ กับ ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลของจอน เอลสเตอร์



ซึ่งลงในวารสารของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมีข้อความประกอบว่า “นักการเมืองโกงแล้วแบ่ง ไม่เป็นไร ? เป็นสิครับ เขาโกงประชาชนทุกคน โกงไปถึงอนาคต เขาโกงประชาชนจนความร่ำรวยของเขายาวไปถึงลูกหลานเหลนโหลนของเขา”

 

สำหรับเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

 

ปัญหาการทุจริตทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการใช้นโยบายประชานิยมในลักษณะที่หวังผลเฉพาะหน้าทางการเมืองได้มาสู่การยอมรับสภาพดังกล่าวของประชาชนจำนวนมากที่มีความเห็นว่าตนสามารถยอมรับการทุจริตในทางการเมืองได้ หากจะได้รับผลประโยชน์เฉพาะหน้าจากสภาพดังกล่าว 

 

ปัญหาในลักษณะดังกล่าวนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในการเมืองไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ ด้วย ดังปรากฏในงานวิจัยของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ได้แก่

1) Luigi Manzetti and Carlole J. Wilson, (2007), “Why Do Corrupt Governments Maintain Public Support?” (เพราะเหตุใดรัฐบาลที่ทุจริตจึงรักษาการสนับสนุนจากสาธารณะไว้ได้) และ

2) Jordi Munoz, Eva Anduiza and Aina Gallego, (2012), “Why do voters forgive corrupt politicians?”(เพราะเหตุใดผู้ลงคะแนนเสียงจึงให้อภัยนักการเมืองที่ทุจริต)


จากเงื่อนไขข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่า ได้นำมาสู่สิ่งที่ในแง่หนึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหา “ตรรกะวิบัติทางจริยธรรม” ของผู้คนในสังคม ซึ่งหนึ่งในการทำความเข้าใจและหาทางออกจาก “ตรรกะวิบัติทางจริยธรรม” ผู้เขียนได้วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีแนวการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Rational Choice Theory) ของจอน เอลสเตอร์


เริ่มจากสมมติฐานที่ว่า มนุษย์ทุกคนถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจที่หวังผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และมนุษย์ทุกคนคิดอยู่ภายใต้กรอบที่ว่าจะเลือกวิธีการที่ลงทุนหรือใช้ต้นทุนน้อยที่สุดแต่ได้ประโยชน์มาที่สุด


ดังนั้น การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนจึงไม่ใช่เรื่องผิดจริยธรรมคุณธรรมแต่อย่างใดของสำนักคิดนี้ อีกทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลจะไม่สนใจที่จะวิเคราะห์อธิบายหรือหาทางออกในเชิงศีลธรรมและจริยธรรม แต่จะเน้นไปที่การใช้เหตุใช้ผลของปัจเจกบุคคลและมุ่งหวังที่จะให้การใช้เหตุใช้ผลมีความสำคัญเหนือคำอธิบายเชิงจริยธรรมศีลธรรมที่มีปัญหาในเชิงคำอธิบายที่มาและผลประโยชน์ที่จะได้รับ 

 

ดังนั้น สำหรับผู้คนในสภาวะสมัยใหม่ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลจึงเป็นแนวทางที่จะอธิบายและแก้ปัญหาการทุจริตและผลพวงอันเลวร้ายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลกว่าการอิงอยู่กับชุดศีลธรรมที่ดำรงอยู่เดิม

 

สำหรับเนื้อหาตัวเต็มนั้น สามารถอ่านได้ผ่านเว็บไซต์ของ ป.ป.ช. https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y81/ton2_1.pdf 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า