News‘พาณิชย์’ เพิ่มสินค้าเฝ้าระวัง 8 รายการ สกัดการแอบอ้างถิ่นกำเนิด ส่งออกไปสหรัฐฯ-อียู

‘พาณิชย์’ เพิ่มสินค้าเฝ้าระวัง 8 รายการ สกัดการแอบอ้างถิ่นกำเนิด ส่งออกไปสหรัฐฯ-อียู

กรมการค้าต่างประเทศ เพิ่มบัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวังอีก 8 รายการ ป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้า หลังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป เข้มงวดการตรวจสอบ 


นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เผยว่า กรมฯ ได้ปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายการสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงในการแอบอ้างถิ่นกำเนิด (สินค้าเฝ้าระวัง) เพิ่มเติมอีก 8 รายการ และถอดออก 2 รายการ ทำให้มีสินค้าเฝ้าระวังจากเดิมที่มีจำนวน 42 รายการ เพิ่มเป็นจำนวน 48 รายการ เพื่อให้สอดคล้องกับรายการสินค้าที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ได้มีการตรวจสอบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสงสัยว่าอาจมีการนำเข้าสินค้าจากจีนมาสวมถิ่นกำเนิดไทยแล้วส่งออกไปยังประเทศปลายทาง รวมทั้งปรับปรุงพิกัดศุลกากรของสินค้าเฝ้าระวังดังกล่าวให้เป็นฉบับปี 2022 (HS 2022)

 

โดยสินค้าที่เพิ่มเติม จำนวน 8 รายการ จำแนกเป็นสินค้าเฝ้าระวังในการส่งออกไปสหรัฐฯ จำนวน 6 รายการ ได้แก่ 1.พื้นไม้อัด 2.ผ้าแคนวาส 3.เหล็กลวดคาร์บอน 4.ท่อเหล็กคาร์บอน 5.ตะปูเหล็ก และ 6.ลวดเย็บกระดาษ และสินค้าเฝ้าระวังในการส่งออกไปสหภาพยุโรป จำนวน 2 รายการ ได้แก่ 1.เหล็กลวดคาร์บอน และ 2.อะลูมิเนียมเส้นหน้าตัด 

 

รายการสินค้าที่นำออกจากรายการสินค้าเฝ้าระวังในการส่งออกไปสหภาพยุโรป จำนวน 1 รายการ ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า และสินค้าที่จัดกลุ่มรวมกัน และที่ส่งออกไปสหรัฐฯ จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ฟูกที่นอน โดยบัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวังฉบับใหม่ ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2566 ที่ผ่านมา 


ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าไทย กรมฯ ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ออก Form CO ทั่วไป อีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ หอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยกรมฯ ได้จัดส่งบัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวังทั้ง 48 รายการ ให้แก่ทั้ง 2 หน่วยงานทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดในการออก Form CO ทั่วไปต่อไป

 

ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2565 กรมการค้าต่างประเทศได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องดำเนินการยื่นขอตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าจากกรมฯ สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงในการแอบอ้างถิ่นกำเนิด (สินค้าเฝ้าระวัง) ซึ่งมีจำนวน 42 รายการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการขอ Form CO ทั่วไป โดยในปีที่ผ่านมา (ส.ค.-ธ.ค.2565) กรมฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า และจัดส่งเอกสารผลการตรวจให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งสิ้น 593 ฉบับ แบ่งเป็นสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดไทย จำนวน 584 ฉบับ ได้แก่ ส่วนประกอบรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ทำด้วยไม้ จักรยาน มอเตอร์กระแสสลับอื่น ๆ และจักรยานไฟฟ้า เป็นต้น 

 

สำหรับสินค้าที่ไม่ได้ถิ่นกำเนิดไทยของผู้ประกอบการบางราย มีจำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ รถจักรยานสองล้อ จักรยานไฟฟ้า ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ล้ออัลลอย และดุมล้อ เป็นต้น เนื่องจากการผลิตไม่เป็นไปตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศปลายทาง

ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายการสินค้าเฝ้าระวังที่ต้องยื่นตรวจถิ่นกำเนิดสินค้าทั้ง 48 รายการ ได้ที่ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิด เพื่อขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือกองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 02-5474808 และ 02-5475132 หรือทาง E-mail: cost-for-co@dft.go.th รวมทั้งสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook : กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด

 

#TheStructureNews

#ถิ่นกำเนิดสินค้า #สินค้าเฝ้าระวัง

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า