Newsวางไทยเป็นฮับอาเซียน Daikin วางไทยเป็นฐานผลิตหลักในภูมิภาค พร้อมจ้างงานคนไทยเพิ่มอีก 1 หมื่นราย

วางไทยเป็นฮับอาเซียน Daikin วางไทยเป็นฐานผลิตหลักในภูมิภาค พร้อมจ้างงานคนไทยเพิ่มอีก 1 หมื่นราย

“สุริยะ” เผย “ไดกิ้น” พร้อมใช้ไทยเป็น “ฮับ” ในอาเซียน โชว์ศักยภาพ “สมาร์ทปาร์ค-ท่าเรือฯ มาบตาพุด” พร้อมรับทุกการลงทุน

 

“สุริยะ” แย้มข่าวดี “ไดกิ้น” ยืนยันใช้ไทยเป็น “ฮับ” ในอาเซียน โชว์ความพร้อมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รองรับนักลงทุนญี่ปุ่นทุกรูปแบบ ล็อคเป้า “นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) – ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2)”

 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2566 มีโอกาสได้พบกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Daikin Co.,Ltd. ที่นครโอซาก้า เพื่อหารือถึงการพัฒนาบริษัท Daikin ในประเทศไทย ซึ่งบริษัท Daikin ระบุว่า มีแผนที่จะพัฒนาบริษัท Daikin ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นฮับของอาเซียน ที่คาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานแรงงานไทยได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน 

 

โดยบริษัท Daikin ปีนี้ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น รองจากบริษัทโซนี่อีกด้วย “นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทาง บริษัท Daikin เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฮับของอาเซียน โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.ซึ่งปัจจุบัน บริษัท Daikin ประเทศไทย มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) 4 โรงงาน และที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) อีก 1 โรงงานอีกด้วย” นายสุริยะ กล่าว 

 

นอกจากนี้ ได้หารือกับนายมัตสึโอะ ทาเคฮิโกะ (Mr. Matsuo Takehiko) อธิบดีกรมนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Director General, Trade Policy Bureau Ministry of Economy, Trade and Industry : METI ) ถึงประเด็นการสนับสนุนโครงการไฮโดรเจนในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park 

 

โดย กนอ.ได้ย้ำถึงการเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมพลังงานสะอาด และแผนการนำพลังงานไฮโดรเจนเข้ามาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถรับส่งแรงงาน/พนักงานภายในนิคมอุตสาหกรรม การใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนด้านพลังงาน การสร้างสังคมปราศจากคาร์บอนโดยการประยุกต์ใช้พลังงานไฮโดรเจนขยายผลเทคโนโลยีรถยนต์พลังงาน รวมถึงการตั้งโรงงานเพื่อผลิตไฮโดรเจน 

 

ทั้งนี้ กนอ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOC) การศึกษาเพื่อพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Industrial Estate) ในพื้นที่มาบตาพุด” ร่วมกับหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ 7 ราย เพื่อสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน และการกักเก็บพลังงานหมุนเวียน เพื่อพยายามลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล 

 

ขณะเดียวกัน องค์การส่งเสริมการต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาไฮโดรเจน โดยมีเป้าหมายในการขอทุนจากองค์กรพัฒนาพลังงานและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใหม่ (New Energy and Industrial Technology Development Organization : NEDO) ในการพัฒนาและลงทุนไฮโดรเจนในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ด้วย 

 

โอกาสนี้ ได้ขอให้ภาครัฐของญี่ปุ่นช่วยประกาศเชิญชวนให้นักลงทุนมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park) ที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จรวมถึงเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 บนพื้นที่ประมาณ 1,383.76 ไร่ รองรับอุตสาหกรรม New S-Curve ในพื้นที่ EEC ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล กลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ เป็นต้น 

 

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ได้กล่าวเชิญชวนให้มาลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2) ซึ่งเป็นการลงทุนบนพื้นที่ถมทะเลเพื่อใช้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าเหลว รวมทั้งคลังสินค้าหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนในการพัฒนาโครงการท่าเทียบเรือสินค้าเหลว (แปลง A) และคลังสินค้าหรือธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (แปลง C) 

 

ขณะเดียวกันได้แจ้งกับนายมัตสึโอะ ทาเคฮิโกะ (Mr. Matsuo Takehiko) ด้วยว่า กนอ.มีแนวทางพัฒนานิคมอุตสาหกรรมตามความต้องการของนักลงทุน (Tailor made) ทั้งการร่วมพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภค (Facilities) กับ กนอ. ในรูปแบบอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ด้วยนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน หรือการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักแนวคิดนิคมอุตสาหกรรมบีซีจี (BCG) ที่จะดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม 

 

#TheStructureNews

#กนอ #Daikin

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า